นายปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ และคณะ แถลงข่าว ผลการประชุมคณะกมธ.
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายปิยรัฐ จงเทพ โฆษกคณะ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ และคณะ แถลงข่าว ผลการประชุมคณะกมธ. ในวันนี้ (9 พ.ค. 67) จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
1 เรื่องการพิจารณาปัญหาภัยคุกคามด้านไซเบอร์ต่อหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชนกับผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเริ่มมาจากความกังวลของทุกภาคส่วนต่อมาตรการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของรัฐไทย ตามที่เคยปรากฎในภาพข่าวทั้งการแฮก (Hack และการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนไทยในเว็บไซต์ของตลาดมืด ทั้งนี้หน่วยงานได้ขี้แจงถึงสภาพข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากพ.ร.บ.การรักษาความมันคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ.2562 พร้อมทั้งข้อจำกัดด้านทรัพยากรบุคคล งบประมาณและความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ โดยจากข้อมูลเชิงสถิติพบว่าเป้าหมายหลักของกลุ่มแฮกเกร์ (Hacker) คือ หน่วยงานรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 เนื่องจากมีการป้องกันที่ต่ำกว่ามาตรฐานและสามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่าย โดยอาศัยเว็บไซต์ของราชการในการโฆษณาเว็บไซต์พนัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มีความพยายามในการระงับยับยั้งเหตุที่เกิดขึ้น โดยสามารถระบุเส้นทางการเงินและขั้นตอนการปฏิบัติการของแฮกเกอร์ได้แล้ว แต่เนื่องจากมีปัญหาด้านการประสานงานกับเอกชน ทำให้ไม่สามารถระงับได้อย่างเต็มที่
2 เรื่องการพิจารณาปัญหาแก็งคอลเซ็นเตอร์กับผลกระทบด้านความมั่นคงของประเทศกรณีการจับกุมแก็งคอลเซ็นเตอร์ชาวจีนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อคณะ กมธ. อาทิ นายจักรพงษ์ ชาวงษ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ พลตำรวจตรี วิวัฒน์ คำชำนาญ รองผู้บัญชาการ ตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(บช.สอท.) นายศรีธรรม ราชแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการแจ้งเหตุโดยประชาชนในพื้นทึ่งกลุ่มชาวจีนที่มีพฤติกรรมต้องสงสัยในพื้นที่จึงเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนำไปสู่การขยายผลเข้าจับกุม พบว่ากลุ่มชาวจีนอาศัยหมู่บ้าน โรงแรและโกดังสินค้าเป็นแหล่งปฏิบัติการหลอกลวง โดยดำเนินคดีกับชาวจีน เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินคดีในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ความผิดคดีอั้งยี่-ช่องโจร และความผิดว่าด้วยอาชญากรรมข้ามชาติ
คณะกมธ. ได้มีข้อเสนอแนะและความกังวลในเรื่องการระงับ จำกัดพฤติกรรมหลอกลวง ในลักษณะการกระทำผิดดังกล่าว โดยเฉพาะบทบาทหน้าที่ของทุกหน่วยงานในการดำเนินการป้องกันเหตุการณ์ระดับประเทศดังกล่าว หลังจากการพิจารณาทั้ง 2 เรื่องข้างต้น คณะกมธ. ได้มีมติดังต่อไปนี้
(1.) เชิญตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อเข้าร่วมทำงานกับคณะกมธ.
(2.) ศึกษาและสนับสนุนด้านการแก้ไขข้อกฎหมายอันเป็นข้อจำกัดของหน่วยงานในเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์ต่อไป
3. เรื่องการลงพื้นที่จังหวัดตากของคณะ กมธ. ในวันที่ 12-14 พ.ค.67 เป็นจังหวัดที่ติดกับเมืองเมียวดีที่เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของเมียนมา ที่มีการสู้รบภายในประเทศ