ประธานคณะกมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และคณะ แถลงข่าว ผลการประชุม คณะกมธ.ประจำวันที่ 4 ก.ค. 67
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ประธานคณะกมธ. ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ และคณะ แถลงข่าวผลการประชุมคณะกมธ. ประจำวันที่ 4 ก.ค. 67 การพิจารณาศึกษาประโยชน์และผลกระทบด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ซาติ ด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย กรณีที่ไทยเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และการไม่ลงนามในแถลงการณ์ร่วม หลังการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน ณ สมาพันธรัฐสวิส โดยเชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวซ้องมาให้ข้อมูลต่อคณะกมธ.ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรี มอบหมายเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
2. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (พลตำรวจเอก รอย อิงคไพโรจน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ)
3. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ (นายไพศกล หรูพาณิชย์กิจ รองปลัดกระทรวงต่างประเทศ)
4. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)
คณะกมธ.เล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจในกรณีที่ไทยเข้าร่วมกลุ่ม BRICS และการไม่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน ณ สมาพันธ์รัฐสวิส เนื่องจากเป็นพฤติการที่อาจส่งผลต่อความมั่นคงแห่งรัฐและภาพลักษณ์ของไทยต่อเวทีโลกได้ด้านสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีความเห็นว่าการเข้าร่วม BRICS ต้องพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมากและมอง ว่าไทยสามารถเข้าร่วมในฐานะของประเทศผู้สังเกตการณ์ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมในฐานะประเทศสมาชิกทันที อีกทั้งไทยสามารถได้รับประโยชน์ผ่านความร่วมมือด้านความมั่นคงของกลุ่มดังกล่าวได้ ในเรื่องการไม่ลงนามรับรองการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครนนั้น สภาความมั่นคงแห่งชาติประเมินว่าแม้ไทยจะรักษาความสัมพันธ์กับรัสเซียไว้ได้ แต่ก็สูญเสียโอกาสที่จะแสดงบทบาทของไทยในเวทีโลก อีกทั้งยังกังวลว่าจะทำให้ไทยเผชิญแรงกดดันจากนานาประเทศมากยิ่งขึ้น ด้านกระทรวงการต่างประเทศมองว่าการเข้าร่วมกลุ่ม BRICS นั้นไม่ส่งผลกระทบมากต่อการเป็นสมาชิกกลุ่ม OECD แม้จะไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนอย่างมาตรการทางการค้าหรือมาตรการภาษี แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีข้อจำกัดที่ชัดเจน จึงไม่มีผลเสียที่จะเข้าร่วม BRICS ระหว่างกระบวนการสมัครเข้าร่วม OECD ของไทย ในเรื่องการไม่ลงนามรับรองการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน รัฐบาลไทยมองว่าเป็นรายงานการประชุมที่เกิดจากคู่ขัดแย้งฝ่ายเดียวอีกทั้งมีนัยยะทางการเมืองสูง จึงขอใช้เวลารวบรวมความเห็นและตัดสินใจอีกครั้ง ทั้งนี้กระพรวงการต่างประเทศยืนยันว่าสามารถรับรองภายหลังได้ ส่วนกระทรวงพาณิชย์มองว่าการเข้าร่วม BRICS จะเกี่ยวกับที่เจรจาทางการค้ากับกลุ่มสมาชิกประเทศที่ขาดคุลการค้ามากกว่า 47,000 ล้านเหรียญสหรัฐก็ตาม และกระทรวงพาณิชย์ไม่ลงนามในแถลงการณ์ร่วมหลังการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน หลังจากการพิจารณาเรื่องดังกล่าว คณะกมธ. ได้มีมติและข้อคิดเห็น ดังนี้
1.คณะกมธ. ตั้งข้อลังเกตว่าการเข้าร่วมกลุ่ม BRICS อันเป็นกลุ่มพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่มีพยายามคานอำนาจกับกลุ่มอำนาจของชาติตะวันตกนั้น จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของไทยต่อเวทีโลกตะวันตก รวมถึงอาจจะเกิดความล่าช้าในการเข้าร่วม OECD ซึ่งไทยจะเสียผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจมากกว่าส่วนที่จะได้รับจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS
2. คณะกมธ. แสดงความกังวลลต่อจุดยืนของรัฐบาลไทยต่อกรณีความขัดแย้งยูเครน - รัสเชีย เนื่องจากความล่าช้าในการลงนามรับรองการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้เลือกข้างรัสเซียไปแล้ว ทั้งนี้คณะกรรมาธิการยังคงมองว่าไม่มีผลเสียอะไรมากหากลงนามรับรองเนื่องจากการรุกรานของรัสเชียเป็นเรื่องที่มีความผิดขัดเจน
3. คณะกมธ. มีมติจะจัดทำหนังสือแสดงความเห็นถึงกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นการลงนามหรือไม่ลงนามในการรับรองการประชุมสุดยอดสันติภาพยูเครน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศอย่างมาก
ทั้งนี้ คณะ กมธ. จะมีการศึกษาดูงานในพื้นที่ภาคตะวันออก ในประเด็นความมั่นคง สารเมี และ ความสัมพันธ์ชายแดนไทย ระหว่างวันที่17-19ส.ค. 67
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า คณะ กมธ.จะประชุมในวันพุธและพฤหัสบดี เกี่ยวกับ การที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ สหประชาชาติ มีรายงานว่าธนาคาร ใหญ่ 5 แห่งของไทยได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายอาวุธในเมียนมา โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อ หาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป