นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... รับยื่นหนังสือจาก นางสาวภวิษย์พร เอี่ยมหอม ตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความผิดทางอาญาของพ.ร.บ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 และคณะ เรื่อง ขอให้ เร่งรัดผลักดันให้การยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ที่ได้รับมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 66
วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายปรีติ เจริญศิลป์ และนายคุณากร มั่นนทีรัย โฆษกคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... รับยื่นหนังสือจาก นางสาวภวิษย์พร เอี่ยมหอม ตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากความผิดทางอาญาของพ.ร.บ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 และคณะ เรื่อง ขอให้ เร่งรัดผลักดันให้การยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ที่ได้รับมติเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 1 เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกมธ. และล่วงเลยเวลามากกว่า 80 วันแล้ว ซึ่งความล่าช้าจะสร้างผลกระทบที่มากมายให้กับกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งทางด้านสิทธิเสรีภาพ สุขภาพจิต อันเป็นผลต่อการสูญเสียอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงผู้ที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้เท่านั้น การใช้เช็คในการชำระหนี้ตามสัญญาและไม่สามารถชำระเงินได้ตามเช็คนั้นไม่ควรจะมีความผิดเป็นโทษทางอาญาเนื่องจากเป็นการผิดนัดชำระหนี้ในทางแพ่งเหมือนการไม่ชำระหนี้ตามตราสารอื่นๆ จึงขอให้เร่งผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ เพื่อประโยชน์ของผู้ได้รับผลกระทบให้กลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ในฐานะของสส.พรรคก้าวไกล ขอรับเรื่องความเดือดร้อนดังกล่าว ไปส่งมอบให้คณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไปต่อไป
นายปรีติ เจริญศิลป์ กล่าวว่า เมื่อปลายเดือน ก.พ.67 คณะ กมธ. ได้เข้าพบกับรองนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งได้หารือเรื่องดังกล่าว โดยได้มีการเสนอแนะให้หามาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เช็คสามารถเป็นตราสารที่ใช้ได้ตามระบบได้ต่อไป
ด้านนายคุณากร มั่นนทีรัย กล่าวว่า คณะกมธ. ได้พิจารณาหลายครั้งแล้วที่ กมธ.เห็นตรงกันคือเช็คมีมูลหนี้ ควรได้รับการดำเนินทางแพ่ง แต่การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว ต้องใช้ความรอบคอบเพราะ การยกเลิกพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ดังกล่าว มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนั้น คณะ กมธ. จึงใช้ความรอบคอบเพื่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด และพร้อมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว