รัฐบาลผสมของประเทศเยอรมนีล่มสลายเมื่อนายกรัฐมนตรีชอลซ์ (Scholz) ปลดหัวหน้าฝ่ายการเงินของตนออกจากตำแหน่ง


ประเทศ  เยอรมนี
ข่าวประจำวันที่  ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ 
หมวด  การเมือง


              โอลาฟ ชอลซ์ (Olaf Scholz) นายกรัฐมนตรีเยอรมนีปลดคริสเตียน ลินด์เนอร์ (Christian Lindner) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นการเปิดทางให้รัฐสภาลงมติไว้วางใจในวันที่ ๑๕ มกราคม โดยคาดว่าการลงมตินี้จะนำไปสู่การเลือกตั้งก่อนกำหนดในเดือนมีนาคมถัดไป
 
              ในการแถลงข่าวเมื่อเย็นวันพุธที่ผ่านมา (๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗) ชอลซ์กล่าวว่า ลินด์เนอร์ทำให้การทำงานในรัฐบาลผสมสามพรรคไม่สามารถเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่เขาปฏิเสธที่จะรอมชอมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาของประเทศ และวิธีอุดช่องว่างงบประมาณมูลค่าหลายพันล้านยูโร
 
              “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแสดงความไม่ประสงค์ที่จะดำเนินการตามข้อเสนอนี้ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับประเทศของเรา ผมไม่ต้องการให้ประเทศของเราต้องเผชิญกับพฤติกรรมเช่นนี้อีกต่อไป” นายชอลซ์กล่าว โดยแทบไม่ปิดบังความขุ่นเคืองของเขา
 
              การเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งสัญญาณถึงการล่มสลายของรัฐบาลผสมที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๔
 
              รัฐบาลผสมประกอบด้วยพรรคสังคมประชาธิปไตยของชอลซ์ พรรคเสรีประชาธิปไตยที่สนับสนุนธุรกิจของลินด์เนอร์ (Lindner) และพรรคกรีน โดยรัฐบาลผสมนี้เข้ามาดำรงตำแหน่งหลังจากที่นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีผู้ทรงอิทธิพลทางการเมือง ได้อำลาการเมือง
 
              อย่างไรก็ตาม รัฐบาลผสมประสบปัญหาจากข้อพิพาทภายในที่ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย และการขึ้นมาของพรรคฝ่ายขวาจัด ชื่อ พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนี (Alternative for Germany) ซึ่งปัจจุบันเป็นพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในเยอรมนี
 
              การปลดลินด์เนอร์จะนำไปสู่การลงมติไว้วางใจ ซึ่งอาจเปิดทางให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ การพลิกแพลงทางการเมืองนี้จำเป็นต้องดำเนินการ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเยอรมันไม่อนุญาตให้นายกรัฐมนตรีประกาศการเลือกตั้งก่อนกำหนดโดยตรง
 
              การปลดลินด์เนอร์เกิดขึ้น แม้มีการเรียกร้องภายในรัฐบาลผสมให้ยึดมั่นร่วมกันหลังจากผลการเลือกตั้งที่โดนัลด์ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
 
              โอมิด นูริปูร์ ประธานร่วมของพรรคกรีน กล่าวก่อนการประกาศของชอลซ์ว่า รัฐบาลผสมมีโอกาส “ที่จะส่งสัญญาณว่าเราเข้าใจแล้วว่าสถานการณ์รุนแรงเพียงใด”
 
              รวมถึงโรเบิร์ต ฮาเบ็ค หัวหน้าพรรคกรีนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ เขียนบนทวิตเตอร์ว่า “ขณะนี้เป็นเวลาที่ต้องแสดงความรับผิดชอบบางประการ” เยอรมนีต้องสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่”
 
              แต่ดูเหมือนว่าชอลซ์ต้องการกลับไปหาผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อขอฉันทานุมัติใหม่ แม้ว่าผลสำรวจจะชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลผสมของเขาไม่เป็นที่นิยมอย่างมากก็ตาม: ร้อยละ ๘๒ ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวกับสำนักสำรวจความคิดเห็นฟอร์ซ่า (Forsa) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๗๗) ว่าพวกเขามิได้คิดว่ารัฐบาลผสมชุดนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้



ที่มาของข่าว : https://www.npr.org/2024/11/06/nx-s1-5181991/germany-government-coalition-collapse



 
ผู้แปล : นางสาววัชรี  จิรธนกรณ์  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นายกิตติ  เสรีประยูร  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์  นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์  ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ

สำนักภาษาต่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย