รัฐบาลญี่ปุ่น มีแนวคิดในการเสริมสร้างความร่วมมือในการเพิ่มการส่งมอบโดรนให้แต่ละประเทศในเอเชีย


ประเทศ  ญี่ปุ่น
ข่าวประจำวันที่  ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
หมวด  การเมือง  (ความมั่นคง)


                  รัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวทางขยายขอบเขตการส่งมอบโดรนให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย ผ่านความช่วยเหลือด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ (政府安全保障能力強化支援) หรือ OSA ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินการส่งมอบอุปกรณ์สิ่งของในการป้องกันประเทศให้มิตรประเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นต้องการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มการส่งมอบโดรนให้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก สินค้าญี่ปุ่นได้รับความไว้วางใจและมีความต้องการสูง
 
                  สำหรับความช่วยเหลือด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการ เป็นกรอบการดำเนินการเกี่ยวกับการส่งมอบอุปกรณ์สิ่งของในการป้องกันประเทศให้แก่มิตรประเทศของญี่ปุ่นซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สองปีที่ผ่านมา โดยมีการบรรจุกรอบงบประมาณในร่างงบประมาณฉบับใหม่จำนวน ๘ พันล้านเยน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา ๓ พันล้านเยน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นสำหรับการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
 
                  ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น มีแนวทางที่จะใช้กรอบการดำเนินการนี้เพื่อส่งมอบโดรนให้กับประเทศต่าง ๆ ในเอเชียให้มากขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณหน้าเป็นต้นไป
 
                  เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวข้างต้น ผู้เกี่ยวข้องของทางรัฐบาล ได้กล่าวว่า ประเทศต่าง ๆ ต้องการให้มีจำนวนโดรนอย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ แต่มีความกังวลว่า โดรนที่ผลิตจากจีนจะทำให้ข้อมูลลับสำคัญเกิดการรั่วไหล จึงทำให้ประเทศต่าง ๆ มีท่าทีที่จะหลีกเลี่ยงการใช้โดรนของจีน ในขณะที่ โดรนที่ผลิตในญี่ปุ่นได้รับความไว้วางใจสูง ในเรื่องคุณภาพ จึงทำให้มีความต้องการสูงขึ้น รัฐบาลจึงเริ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้ผลิตประมาณ ๘๐ บริษัท
 
                  ในฐานะของรัฐบาล ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ภายในประเทศ พร้อมกับส่งเสริมความร่วมมือกับมิตรประเทศด้วยการขยายขอบเขตการส่งมอบโดรน ภายใต้ความช่วยเหลือด้านความมั่นคงอย่างเป็นทางการให้มากขึ้น



ที่มาของข่าว : https://www3.nhk.or.jp/news/html/20250209/k10014717321000.html



 
ผู้แปล : นายตรรกวิทย์  มิ่งขวัญ  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี
ผู้ทาน : นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์  นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิริพร กรอบทอง  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาญี่ปุ่นและเกาหลี
ผู้ตรวจ : นางบุณฑริกา ชุณหะนันทน์   ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ

สำนักภาษาต่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย