ฮิวแมนไรท์วอทช์ เรียกร้องให้ผู้นํานานาประเทศกําหนดมาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นต่อรัฐบาลทหารเมียนมาก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน

ประเทศ สหรัฐอเมริกา
หมวด การเมือง
ข่าวประจำวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕



                   เมื่อวันอังคาร (๑ พฤศจิกายน) องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ (HRW) เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน สนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรที่เพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลทหารเมียนมา ทั้งนี้ รัฐบาลทหารเมียนมาที่เข้ายึดอํานาจ
มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔  ได้กระทำการ “ทวีการละเมิดและกระทำการอย่างเป็นระบบ” ตามรายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์
                   ในเดือนนี้ ผู้นําของประเทศต่าง ๆ จะมารวมตัวกันในการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะประชุมกันในวันที่ ๑๐ - ๑๓ พฤศจิกายน ผู้นํากลุ่ม
จี ๒๐(G20) และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) จะประชุมกันในวันที่ ๑๕-๑๖ พฤศจิกายน และวันที่ ๑๓-๑๗ พฤศจิกายน ตามลําดับ และคาดว่าผู้นําโลกอาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น จะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย       
           ก่อนการประชุมสุดยอด ฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ผู้นํารัฐบาลดําเนินการต่อต้านรัฐบาลทหารของเมียนมา โดยอาเซียนได้สั่งห้ามผู้แทนรัฐบาลทหารเข้าร่วมในการประชุมระดับสูง โดยฮิวแมนไรท์วอทช์โต้แย้งว่า การดําเนินการดังกล่าวไม่เพียงพอ นายเอเลน เพียร์สัน (Elaine Pearson) ผู้อํานวยการภูมิภาคเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า “กองทัพเมียนมากระทำการอย่างโหดร้าย ในขณะที่ประเทศในอาเซียนและประเทศอื่น ๆ ยังมีบทบาทไม่มากพอ และหวังว่ารัฐบาลเมียนมาจะเปลี่ยนแปลงท่าทีหรือเดินหน้าไป
สู่ประชาธิปไตย ซึ่งจําเป็นที่ประเทศอื่น ๆ ต้องมีท่าทีที่เข้มแข็งขึ้น”
                   เพื่อยึดมั่นในหลักการของประชาคมอาเซียนที่ “มุ่งเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ฮิวแมนไรท์วอทช์ เรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาและสนับสนุนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในการห้ามมิให้ทั่วโลกค้าอาวุธให้กับเมียนมา  ฮิวแมนไรท์วอทช์ยังได้เสนอแนะให้สหรัฐอเมริกา
                   สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรปกําหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งเป้าไปที่รัฐบาลทหารเมียนมา เนื่องจากรายได้จากต่างประเทศของเมียนมาถูกเก็บไว้ในสกุลเงินของประเทศดังกล่าว ซึ่งรายได้จากต่างประเทศนั้นมาจากธุรกิจค้าก๊าซธรรมชาติและเหมืองแร่ระหว่างเมียนมาและต่างประเทศ เช่น มาเลเซียและสิงคโปร์ รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน
                   ประชาคมระหว่างประเทศได้มีมาตรการบางอย่างต่อรัฐบาลทหารของเมียนมา ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยผู้นําแต่ละประเทศได้เห็นพ้องใน “ฉันทามติห้าข้อ” ทั้งนี้รัฐบาลทหารเมียนมาได้ปฏิเสธข้อเสนอแนะทันที ซึ่งสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรไปแล้วหลายรอบเช่นกัน  โดยฮิวแมนไรท์วอทช์กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรเหล่านั้นมุ่งเป้าไปที่รายได้ภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือจากอิทธิพลของการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ


ที่มาของข่าว : https://www.jurist.org/news/2022/11/hrw-calls-on-international-leaders-to-impose-harsher-sanctions-on-myanmar-junta-ahead-of-asia-summits/#






 
ผู้แปล : นางมัญชุสา  ตั้งเจริญ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์  นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์  ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ
สำนักภาษาต่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย