ออสเตรเลียได้รับเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พันธมิตรออคัส (AUKUS)

 
ประเทศ  สหรัฐอเมริกา
ข่าวประจำวันที่  ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
หมวด  การเมือง
 
 
             เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ เปิดเผยรายละเอียดของโรงไฟฟ้าที่จะจัดหาเรือดำน้ำจู่โจมพลังนิวเคลียร์ให้แก่ออสเตรเลีย นับเป็นก้าวสำคัญในการตอบโต้ความพยายามของจีนในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก
             ในแถลงการณ์ร่วม นายโจ ไบเดน (Joe Biden) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายแอนโทนี อัลบาเนซี (Anthony Albanese) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และ นายริชี ซูแน็ก (Rishi Sunak) นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ให้การรับรองโครงการที่เรียกว่าออคัส ซึ่งได้รับการประกาศครั้งแรกในปี ๒๕๖๔ ณ ฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในเมืองซานดิเอโก (San Diego) รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของทัพเรือภาคแปซิฟิกสหรัฐอเมริกา
             แถลงการณ์ระบุว่า ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว สหรัฐอเมริกามุ่งหวังที่จะขายเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์แบบยูเอส เวอร์จิเนีย (U.S. Virginia) จำนวน ๓ ลำ ให้แก่ออสเตรเลียในต้นคริสต์ทศวรรษ ๒๐๓๐ โดยเปิดทางให้สามารถซื้อเพิ่มได้อีก ๒ ลำ หากมีความจำเป็น
             แถลงการณ์จากผู้นำระบุว่า โครงการอันซับซ้อนนี้ จะสิ้นสุดลงด้วยการผลิตและใช้งานของเรือดำน้ำรุ่นใหม่ของอังกฤษและออสเตรเลีย ที่มีชื่อว่า เอสเอสเอ็น–ออคัส (SSN–AUKUS) ซึ่งเป็นเรือที่ “พัฒนาแบบไตรภาคี” รุ่นใหม่ที่ออกแบบโดยอังกฤษ และจะถูกสร้างในอังกฤษและออสเตรเลียด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยของสหรัฐฯ
             แถลงการณ์ของอังกฤษ ระบุว่า “เรือดำน้ำลำแรกของสหราชอาณาจักรที่สร้างขึ้นตามรูปแบบนี้จะถูกจัดส่งในปลายคริสต์ทศวรรษ ๒๐๓๐ และเรือดำน้ำออสเตรเลียลำแรกจะถูกส่งตามมาในต้นคริสต์ทศวรรษ ๒๐๔๐” และยังระบุว่า “เรือจะถูกสร้างโดยบีเออี ซิสเต็มส์ (BAE Systems) และ โรลส์–รอยซ์ (Rolls–Royce)”
             เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ความตกลงดังกล่าวกำหนดให้เรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษจอดประจำการในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (Western Australia) เพื่อช่วยฝึกลูกเรือออสเตรเลียและสนับสนุนการป้องปราม ในแถลงการณ์ร่วม ระบุว่า สหรัฐอเมริกาและอังกฤษจะเริ่มต้นหมุนเวียนกำลังพลเหล่านี้อย่างเร็วที่สุดในปี ๒๕๗๐ และเจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกากล่าวว่า จะมีการเพิ่มเรือดำน้ำสหรัฐอเมริกาอีกสี่ลำ และอังกฤษหนึ่งลำ ในระยะเวลาสองถึงสามปี
             เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ได้ดำเนินการโครงการนี้ในระยะแรกกับรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) แล้ว โดยในปัจจุบันนี้ เรือดำน้ำขีปนาวุธแบบจู่โจมที่ขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ ได้เดินทางมาถึงเมืองเพิร์ท (Perth) ออสเตรเลีย แล้ว

การแบ่งปันเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์
             ออคัสจะส่งผลให้สหรัฐอเมริกาแบ่งปันเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการแบ่งปันกับอังกฤษ ในคริสต์ทศวรรษ ๑๙๕๐
             จีนออกมาประณามว่า ออคัสคือการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์โดยผิดกฎหมาย ผ่านการจัดตั้งความเป็นหุ้นส่วน ออสเตรเลียยังสร้างความผิดหวังให้แก่ฝรั่งเศสโดยการยกเลิกข้อตกลงที่จะซื้อเรือดำน้ำรุ่นปกติของฝรั่งเศสอย่างกะทันหัน
             ในข้อสรุปกลุ่มย่อยของผู้สื่อข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (๑๐ มีนาคม ๒๕๖๖) ซัลลิแวน เพิกเฉยต่อข้อกังวลของจีนและชี้ให้เห็นถึงการเสริมสร้างกองทัพของจีน โดยรวมถึงเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์
เขากล่าวว่า “พวกเราสื่อสารกับเขาเกี่ยวกับออคัสและแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจตนาจากพวกเขา”
             คำถามใหญ่ยังคงเกี่ยวกับโครงการ ไม่ใช่เพียงเรื่องการควบคุมการแบ่งปันเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับโครงการอย่างครอบคลุมและเคร่งครัด แต่เกี่ยวกับระยะเวลาในการส่งเรือดำน้ำ และแม้แต่ภัยคุกคามที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนด้วย
             จากผลสะท้อนของขีดความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐอเมริกา เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐอเมริกากล่าวแก่รอยเตอร์ส (Reuters) ว่า มีแนวโน้มสูงที่เรือดำน้ำแบบเวอร์จิเนียซึ่งเป็นเรือที่อยู่ระหว่างการใช้งานของสหรัฐอเมริกาจะถูกขายให้แก่ออสเตรเลีย โดยการดำเนินการนี้จะต้องผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรส
             เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ออสเตรเลียตกลงที่จะสมทบกองทุนเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการผลิตและการบำรุงรักษาเรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
             เขากล่าวว่า สหรัฐอเมริกากำลังเฝ้าสังเกตการลงทุน “หลายพันล้าน” ในฐานอุตสาหกรรมเรือดำน้ำ โดยเป็นจำนวนเงินที่ดำเนินการแล้วสำหรับปี ๒๕๖๖ ถึง ๒๕๗๒ มากกว่า ๔๖,๐๐๐ ล้านดอลลาร์ และเงินช่วยเหลือจากออสเตรเลียมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ของเงินช่วยเหลือทั้งหมด
             เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหรัฐอเมริกาคนหนึ่ง กล่าวว่า ออคัสได้สะท้อนภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก ไม่ใช่เพียงจากจีนต่อเขตปกครองตนเองไต้หวันและในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้ แต่ยังรวมถึงจากรัสเซียที่ดำเนินความร่วมมือกับจีน ตลอดจนเกาหลีเหนือ

งานใหม่
             อัลบาเนซีกล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (๑๑ มีนาคม ๒๕๖๖) ว่า รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย จะเป็นผู้รับผลประโยชน์มหาศาลจากออคัส เขากล่าวว่า “เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับงาน โดยรวมถึงงานในอุตสาหกรรมการผลิต”
             อังกฤษที่ออกจากสหภาพยุโรปเมื่อปี ๒๕๖๓ กล่าวว่า ออคัสจะช่วยสนับสนุนอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจที่ตกต่ำของตน
             ซูแน็ก กล่าวว่า ออคัส “กำลังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเราและผลประโยชน์ด้านความปลอดภัย เทคโนโลยีใหม่ และเศรษฐกิจในประเทศ”
             นายริชาร์ด มาลส์ (Richard Marles) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เรือดำน้ำจะรับประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรอินเดีย
             เขากล่าวว่า “เป็นการยากที่จะอวดอ้างถึงขั้นตอนที่พวกเราพร้อมดำเนินการในฐานะเป็นประเทศหนึ่ง”
             นักวิเคราะห์การเมือง กล่าวว่า กำลังที่เพิ่มขึ้นของจีนและการรุกรานของจีนเพื่อรวมชาติกับไต้หวันโดยใช้กำลังหากมีความจำเป็น ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนขั้นตอนที่สองของออคัสที่เกี่ยวข้องกับอาวุธไฮเปอร์โซนิกและอาวุธอื่นที่สามารถยิงได้รวดเร็วมากขึ้น
             เจ้าหน้าที่สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ประกาศที่ออกเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) จะไม่ครอบคลุมขั้นตอนที่สองนี้
             เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการบริหารงานของรัฐ กล่าวว่า “พวกเราต้องการเก็บสิ่งนั้นไว้เพื่ออนาคต”
             เจ้าหน้าที่ของอังกฤษและออสเตรเลีย กล่าวว่า ยังคงจำเป็นต้องมีการปฏิบัติงานในเดือนนี้เพื่อกำจัดอุปสรรคของระบบราชการต่อการแบ่งปันเทคโนโลยี

แคนาดาถอนตัว
             ผู้เชี่ยวชาญกำลังเตือนว่า การถอนตัวของแคนาดาจากออคัส ซึ่งเกี่ยวข้องกับพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดสามประเทศของแคนาดา คือ การบ่งบอกถึงปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเกี่ยวกับมุมมองที่แคนาดาได้รับจากมิตรประเทศ
             รัฐบาลของทรูโดปฏิเสธที่จะกล่าวว่าแคนาดาได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมออคัสหรือไม่ และแคนาดายังลดทอนความสำคัญของออคัส แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์ทางการทหารและการต่างประเทศ
             พอล มิตเชลล์ (Paul Mitchell) ศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยแห่งกองกำลังแคนาดา เชื่อว่า การถอนตัวของแคนาดาสะท้อนถึงความรับรู้ของพันธมิตรที่ใกล้ชิดของแคนาดา ซึ่งยังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจุดประสงค์ของแคนาดาในภูมิภาคอินโด–แปซิฟิก
             เดวิด เพอร์รี่ (David Perry) นักวิเคราะห์ด้านการป้องกันประเทศแห่งสถาบันกิจการต่างประเทศแคนาดา กล่าวว่า ความระอาต่อการปฏิเสธของแคนาดาในการดำเนินการป้องกันประเทศและด้านความมั่นคงอย่างจริงจังของมิตรประเทศของแคนาดากำลังเพิ่มขึ้น

 
 
 
ที่มาของข่าว : https://globalnews.ca/news/9547384/aukus–pact–submarines–australia–us–uk/
 

 
ผู้แปล : นางสาววัชรี  จิรธนกรณ์  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์  นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์  ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ
 
สำนักภาษาต่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร




 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย