เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ นายอารีฟ อัลวี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ปฏิเสธที่จะลงนามในร่างกฎหมายสองฉบับที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการดำเนินคดีกับประชาชนในข้อหากระทำการต่อต้านรัฐและกองทัพแห่งชาติอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่กระทรวงกฎหมายกล่าวว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านรัฐสภาปากีสถานทั้งสองสภาแล้ว แต่นายอัลวีซึ่งเป็นสมาชิกของพรรค
เทห์รีก-อี-อินซาฟ (Tehreek-e-Insaf) หรือพรรค PTI ของอดีตนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน คัดค้านรัฐบาลผสมที่พิจารณาเห็นชอบให้กับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ
นายอัลวีกล่าวบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเอ็กซ์ หรือที่รู้จักก่อนหน้าว่าทวิตเตอร์ว่า "ให้พระเจ้าเป็น
สักขีพยาน ผมไม่ได้ลงนามในร่างแก้ไขกฎหมายความลับราชการปากีสถาน ฉบับปี ค.ศ. ๒๐๒๓ และร่างแก้ไขกฎหมายกองทัพปากีสถาน ฉบับปี ค.ศ. ๒๐๒๓ เนื่องจากผมไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเหล่านี้"
เขากล่าวว่า ได้ให้เจ้าหน้าที่ของเขาส่งคืนร่างกฎหมายที่ไม่ได้ลงนามต่อสภานิติบัญญัติภายในเวลาที่กำหนดเพื่อไม่ให้ร่างมีผลบังคับใช้
"อย่างไรก็ตามวันนี้ผมพบแล้วว่า เจ้าหน้าที่ของผมเองทำลายเจตนาและคำสั่งของผม"
กระทรวงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมกล่าวว่าการตัดสินใจของประธานาธิบดีถือเป็น
"ความกังวลอย่างยิ่ง"
"ประธานาธิบดีมีสองทางเลือก โดยให้การเห็นชอบหรือส่งเรื่องไปยังรัฐสภาปากีสถานด้วย
การตั้งข้อสังเกตเป็นการเฉพาะ" รัฐมนตรีกล่าวในแถลงการณ์ พร้อมเสริมว่าประธานาธิบดีไม่ได้ปฏิบัติตามทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง" การกระทำดังกล่าวขัดต่อลายลักษณ์อักษรและจิตวิญญาณแห่งรัฐธรรมนูญของปากีสถาน"
ตามรัฐธรรมนูญของปากีสถาน หากประธานาธิบดีไม่ลงนามในร่างกฎหมายหรือส่งคืนพร้อมกับ
การตั้งข้อสังเกตหรือข้อคัดค้านภายใน ๑๐ วันหลังจากผ่านทั้งสองสภาแล้ว ร่างฯ ดังกล่าวจะบังคับใช้เป็นกฎหมาย
นายอะห์หมัด อิหร่าน รักษาการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายกล่าวในการแถลงข่าวว่า "เนื่องจากประธานาธิบดีไม่ได้ลงนามและส่งคืนร่างกฎหมายภายใน ๑๐ วัน ดังนั้นร่างฯ ดังกล่าวจะบังคับใช้เป็นกฎหมาย"
นายมุร์ตาฎอ ซูลังญี รักษาการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศ กล่าวว่า ความคิดเห็นของ
นายอัลวีในบัญชีโซเชียลมีเดียส่วนตัวของเขาไม่มีผลต่อการพิจารณา เพราะเขาไม่ได้ส่งคำคัดค้านใด ๆ เกี่ยวกับ
ร่างกฎหมายกลับไปยังสภาฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
นายซูลังญี ยังกล่าวว่า "เป็นเพียงความพยายามที่จะสร้างความสับสน ที่ไม่มีผลทางกฎหมาย
แต่อย่างใด"
เกี่ยวกับเรา
● วีดีทัศน์แนะนำ 3 สำนักฯ
○ สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศนานาสาระด้านต่างประเทศ
● รัฐสภาไทยกับองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ
● ข่าวต่างประเทศ
● การจัดการความรู้ (KM)
● บทความและงานแปล
● คําศัพท์รัฐสภา
● คู่มือการดำเนินงานของ 3 สำนัก
● จดหมายข่าว GOPAC
เจ้าภาพการประชุม
● สมัชชารัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 40
● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9
○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30
○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30
● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย
○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน● การประชุม AIPA Caucus ครั้งที่ 13
ฐานข้อมูลการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ
● การติดตามผลการดำเนินงานตามข้อมติ
○ ข้อมติด้านการเมือง● ข้อมติการประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ
● SDGs
○ ข้อมูลทั่วไป● ข้อบังคับหน่วยประจำชาติไทย
กลุ่มมิตรภาพ
● ใบสมัครสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
● แบบฟอร์มการเปลี่ยนแปลง/แก้ไขสมาชิกภาพของสมาชิกกลุ่มมิตรภาพฯ
● แบบฟอร์มขอลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพ
● คู่มือกลุ่มมิตรภาพ
● แผ่นพับกลุ่มมิตรภาพ
● ข้อมูลกลุ่มมิตรภาพ
● แบบฟอร์มต่างๆ
● รายชื่อประธาน/คณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพ
● ข่าวและกิจกรรมของกลุ่มมิตรภาพ
● อื่นๆ
ความสัมพันธ์รัฐสภาระดับทวิภาคี
● การเยี่ยมคารวะของบุคคลสำคัญชาวต่างชาติ
● รายงานการเดินทางเยือนต่างประเทศ
○ ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร● รายงานการรับเยือนบุคคลสำคัญชาวต่างชาติ