อัลแบร์โต โอตาโรลา: นายกฯ เปรูลาออกหลังบันทึกเสียงผู้หญิงรั่วไหล



สาธารณรัฐเปรู
หมวดการเมือง
ข่าวประจำวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗


 

อัลแบร์โต โอตาโรลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียงหนึ่งปีกว่า

 
          อัลแบร์โต โอตาโรลา (Alberto Otárola) นายกรัฐมนตรีเปรู ลาออกแล้ว เนื่องจากข้อกล่าวหาที่ว่าเขาพยายามใช้อิทธิพลของตนเพื่อช่วยให้ผู้หญิงคนหนึ่งได้รับสัญญาจากรัฐบาลซึ่งมีผลกำไรที่งดงาม
          เรื่องอื้อฉาวนี้รุนแรงขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งในเปรูออกอากาศคลิปเสียงที่ระบุว่าเป็นการสนทนาระหว่างทั้งสอง
          นายโอตาโรลา วัย ๕๗ ปี ปฏิเสธการกระทำผิดโดยสิ้นเชิง
          มีการสอบสวนข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการแล้ว
          จากรายงานในรายการพาโนรามา (Panorama) ซึ่งออกอากาศคลิปเสียงดังกล่าวเป็นครั้งแรกช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์  ผู้หญิงที่นายโอตาโรลาพูดคุยด้วย คือยาซีเร ปิเนโด (Yaziré Pinedo) วัย ๒๕ ปี
           นอกจากนี้ มีรายงานอีกว่า นางปิเนโดได้รับสัญญาจ้างงานจำนวน ๒ สัญญากับกระทรวงกลาโหมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ซึ่งทำให้เธอได้รับเงินจำนวนทั้งสิ้น ๕๓,๐๐๐ โซล (๑๔,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ๑๑,๐๐๐ ปอนด์)
         นายโอตาโรลา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมของเปรูจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ.๒๕๖๕ เมื่อประธานาธิบดีดีนา โบลัวร์เต (Dina Boluarte) เข้ารับตำแหน่งและเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
         ในคลิปเสียง ได้ยินเสียงของโอตาโรลาบอกรักผู้หญิงคนดังกล่าว และขอให้เธอส่งประวัติโดยย่อของเธอให้แก่เขาด้วย
         คำพูดดังกล่าวเหมือนจะขัดแย้งกับคำแถลงที่เขากล่าวไว้ก่อนการปล่อยตัว ที่ว่าเขาเคยพบกับปิเนโดเพียงครั้งเดียวในการประชุม
          เธอกล่าวกับสถานีโทรทัศน์แคนนัล เอ็น (Canal N) ของเปรูเมื่อวันอังคารว่า ก่อนหน้านี้เธอมีความสัมพันธ์ช่วงสั้น ๆ กับเขา
          ทั้งสองกล่าวว่าไฟล์บันทึกเสียงดังกล่าวมาจากการสนทนาในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ก่อนที่นายโอตาโรลาจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี
          อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีโบลูอาร์เตเรียกร้องให้เขากลับมาก่อนเวลาจากการเยือนแคนาดาอย่างเป็นทางการ และการลาออกของเขาเกิดขึ้นตามมา
          นายโอตาโรลา กล่าวในถ้อยแถลงลาออกว่า “บรรดาผู้ที่อยากให้ผมออกจากรัฐบาลมาโดยตลอด... ไม่ลังเลแม้แต่น้อยที่จะตัดต่อเสียงโดยมีจุดประสงค์ปิดบังเพื่อทำให้ภาพลักษณ์ของผมเสื่อมเสีย”
          บรรดาคนเหล่านั้นที่ถูกเขากล่าวหาว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างความอับอายให้กับเขา ได้แก่ อดีตนายกรัฐมนตรี มาร์ติน วิซการ์รา (Martín Vizcarra) ซึ่งกล่าวในโซเชียลมีเดียว่าเขา "ปฏิเสธอย่างรุนแรง" กับ "ข้อกล่าวหาที่หลงผิด"
          ตามกฎหมายของเปรู คณะรัฐมนตรีทั้ง ๑๘ คน จะต้องปฏิบัติตามนายโอตาโรลาและยื่นใบลาออก แต่ประธานาธิบดีมีทางเลือกที่จะคัดเลือกพวกเขาอีกครั้งได้หากต้องการเช่นนั้น
          รัฐบาลเปรูไม่ใช่สิ่งแปลกในการเขย่าเปลี่ยนคณะรัฐบาล นางโบลัวร์เตได้สั่งปรับคณะรัฐมนตรีหลายครั้งนับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจ ในขณะเดียวกันเธอพยายามปราบปรามการต่อต้านผู้นำของเธอ
 
………………………………………………………
 

ที่มาของข่าวhttps://www.bbc.com/news/world-latin-america-68486544 (6.3.2024)



 
ผู้แปล : นางสาวพรพิมล  หาญเศรษฐานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นายกิตติ  เสรีประยูร ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิรสา ชลายนานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ

 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย