ประเทศ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน
ข่าวประจำวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๘
หมวด การเมือง
กรุงอิสลามาบัด ปากีสถาน สำนักข่าวเอพี- เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ปากีสถานได้ออกแถลงการณ์ประณาม มาตรการคว่ำบาตรใหม่ของสหรัฐฯ ต่อโครงการขีปนาวุธของประเทศ โดยชี้ว่ามาตรการดังกล่าวเป็น “การ เลือกปฏิบัติ” ซึ่งเป็นภัยต่อสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
กระทรวงต่างประเทศปากีสถานแถลงการณ์เตือนว่า มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้“มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อ ความมั่นคงทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาคและอื่น ๆ”
นอกจากนี้ยังตั้งข้อสงสัยต่อข้อกล่าวหาของสหรัฐฯ ที่อ้างว่าหน่วยงานที่ถูกคว่ำบาตรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ แพร่กระจายอาวุธ โดยระบุว่า “การคว่ำบาตรก่อนหน้าตั้งอยู่บนข้อสงสัยโดยปราศจากหลักฐานยืนยันใด ๆ”
ปากีสถานยังกล่าวหาสหรัฐฯ ว่า“สองมาตรฐาน” โดยชี้ว่าสหรัฐฯได้ยกเว้นข้อกำหนดด้านใบอนุญาตสำหรับเทคโนโลยี ทางการทหารขั้นสูงให้กับบางประเทศ
มาตรการคว่ำบาตรครั้งนี้ทำให้ทรัพย์สินใด ๆ ของธุรกิจที่ถูกคว่ำบาตรในสหรัฐฯ ถูกอายัด และห้ามชาว อเมริกันทำธุรกิจกับบริษัทเหล่านี้
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุว่า หนึ่งในหน่วยงานที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่ National Development Complex ในกรุงอิสลามาบัด ซึ่งถูกกล่าวหาว่าจัดหาวัสดุเพื่อพัฒนาโครงการขีปนาวุธพิสัยไกลของปากีสถาน รวมถึงขีปนาวุธตระกูล SHAHEEN
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอีกสามแห่งที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่ Akhtar and Sons Private Limited, Affiliates International และ Rockside Enterprise
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แมทธิว มิลเลอร์กล่าวผ่านแพลตฟอร์ม X เมื่อวันพุธว่า สหรัฐฯ ได้ แสดง“จุดยืนที่ชัดเจนและต่อเนื่องเกี่ยวกับความกังวลในเรื่องการแพร่กระจายอาวุธ” และยืนยันว่ารัฐบาล สหรัฐฯ “จะดำเนินการความร่วมมือกับปากีสถานอย่างสร้างสรรค์ในประเด็นเหล่านี้ต่อไป”
มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวถูกคัดค้านโดยพรรคการเมืองของอดีตนายกรัฐมนตรีอิมราน ข่าน ซึ่งปัจจุบันถูก ควบคุมในเรือนจำ
ด้านซุลฟิคาร์บุคฮารีโฆษกของพรรค ออกแถลงการณ์วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน โดย ระบุว่า “เราขอคัดค้านมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่มีต่อ National Development Complex และ บริษัทเอกชนสามแห่งอย่างรุนแรง”
มาตรการคว่ำบาตรครั้งล่าสุดนี้มีขึ้นหลังจากสหรัฐฯ เคยออกมาตรการคว่ำบาตรต่อหน่วยงานต่างประเทศอื่น ๆ รวมถึงสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งของจีน โดยอ้างว่าองค์กรเหล่านั้นให้การสนับสนุน National Development Complex ในการพัฒนาและผลิตขีปนาวุธพิสัยไกล
นักวิเคราะห์กล่าวว่า โครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของปากีสถานมีเป้าหมายหลักเพื่อตอบโต้ภัยคุกคามจาก อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน
ด้านซัยยิด มูฮัมหมัด อาลีผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง กล่าวว่า “มาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้เป็นการตัดสินใจที่ มองการณ์สั้น สร้างความไม่มั่นคง และห่างไกลความเป็นจริงเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียใต้”
ปากีสถานประกาศตนเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ในปีพ.ศ. ๒๕๓๑ หลังจากทำการทดสอบนิวเคลียร์ใต้ดินเพื่อ ตอบโต้การทดสอบของอินเดีย โดยทั้งสองฝ่ายมีประวัติความขัดแย้งอย่างยาวนาน
ทั้งสองประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ได้ทำสงครามกันสามครั้ง โดยสองในสามครั้งนั้นเกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทใน แคว้นแคชเมียร์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศต่างอ้างสิทธิ์ครอบครองอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ได้รับเอกราชจาก
ที่มาของข่าว: https://edition.cnn.com/2024/12/19/asia/pakistan-denounces-us-sanctions-missile-program-intl-hnk/index.html
ผู้แปล นางสาวภูชิตา ทัศน์ศิริกุล นักศึกษาฝึกงาน
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน นางสาวศิรสา ชลายนานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
นายกิตติ เสรีประยูร ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ตรวจ นางบุณฑริกา ชุณหะนันทน์ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ
สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร