"กฎหมายครอบครัวของสเปน"

 
ประเทศ  สเปน
ข่าวประจำวันที่  ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖
หมวด  สังคม (กฎหมาย)
 
 
       คณะรัฐมนตรีสเปนผ่านร่างกฎหมายครอบครัวที่ให้ความสำคัญต่อความหลากหลายของครอบครัวในประเทศสเปน และได้แก้ไขอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการดูแลซึ่งแต่ละครอบครัวต้องเผชิญในแต่ละวัน
       ร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบวาระแรกของรัฐสภาเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ มีความสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศเรื่องการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในครอบครัวและชีวิตการทำงานของบิดามารดาและผู้ดูแลที่ประเทศสเปนได้ให้สัตยาบันไว้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับความตกลงของพรรคร่วมรัฐบาลด้วยเช่นกัน
       เนื้อหาของกฎหมายครอบครัวได้ให้การรองรับรูปแบบของครอบครัวสเปนที่แตกต่างกันไป โดยให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกรูปแบบ นั่นคือ รับรองสิทธิของครอบครัวชาว LGBTI ครอบครัวที่มีคนพิการ ครอบครัวขยาย ครอบครัวบุญธรรม ครอบครัวผสมหรือครอบครัวอุปถัมภ์ อีกทั้ง ยังกำหนดให้คู่สมรสตามกฎหมายและคู่ชีวิตมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยคู่ชีวิตสามารถลางานได้ ๑๕ วันเท่ากับคู่สมรส
       นอกจากนี้ สิทธิในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นใหม่ได้เน้นไปที่การดูแลครอบครัวและระยะเวลารวมถึงการช่วยเหลือครอบครัว ดังนี้
  • ข้อแรก คือ กฎหมายอนุญาตให้ลางานเพื่อดูแลครอบครัวได้ ๕ วันต่อปีในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยร้ายแรง การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการผ่าตัดโดยไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล แต่จำเป็น ต้องพักรักษาตัวโดยมีคนในครอบครัวหรือญาติสนิทหรือคู่รักที่อยู่ร่วมกัน ถือเป็นเรื่องใหม่ในกฎหมายฉบับนี้
  • ข้อที่สอง คือ กฎหมายอนุญาตให้ลางานเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ถึง ๘ สัปดาห์ ซึ่งจะขอลางานต่อเนื่องหรือเป็นระยะ ลางานแบบเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ ๘ ปี
  • ข้อที่สาม คือ กฎหมายอนุญาตให้ “ลางานด้วยเหตุสุดวิสัย” คิดเป็นจำนวนชั่วโมงและสามารถลางานได้นานถึง ๔ วันต่อปี อนุญาตให้บิดาและมารดาสามารถลางานหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุไม่คาดคิดเกิดขึ้นในครอบครัว
       กฎหมายฉบับนี้ยังให้ความช่วยเหลือเรื่องการเลี้ยงดูเด็กในเชิงโครงสร้าง โดยให้เงินช่วยเหลือบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรจำนวน ๑๐๐ ยูโรต่อเดือน จนกว่าเด็กจะอายุครบ ๓ ปี อีกทั้งมารดาที่รับเงินสงเคราะห์ผู้ตกงาน และมารดาที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์ดังกล่าวแต่ลาเลี้ยงดูบุตร ๓๐ วัน จะได้รับเงินเลี้ยงดูบุตรในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ในขณะเดียวกัน กฎหมายยังรับรองสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรชั่วคราว เป็นอิสระและอย่างมีคุณภาพและไม่เฉพาะแต่เพียงวัยเด็กตอนต้นเท่านั้น
       การรับรองกฎหมายครอบครัวฉบับใหม่ยังส่งผลให้หลายครอบครัวได้รับการคุ้มครองทางสังคมภายใต้ชื่อ “ครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลครอบครัวอย่างสูง” ซึ่งต้องเป็น “ครอบครัวขนาดใหญ่” นอกเหนือไปจากครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มีลูกสองคน ครอบครัวที่มีลูกสองคนที่มีบุพการีหรือผู้สืบสันดานคนใดคนหนึ่งพิการ ครอบครัวที่มีลูกสองคนที่ผู้นำครอบครัวตกเป็นเหยื่อความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศหรือครอบครัวที่คู่สมรสที่เป็นผู้นำครอบครัวที่ได้รับสิทธิในการดูแลบุตรแต่ไม่มีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงดู และครอบครัวที่มีลูกสองคนที่บิดาหรือมารดากำลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลาหนึ่งปีหรืออยู่ในระหว่างจำคุก
          ในทางตรงกันข้าม กฎหมายครอบครัวยังพิจารณาให้ครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลือในการดูแลครอบครัวอย่างสูงเป็นประเภทพิเศษ (ครอบครัวที่จนกระทั่งบัดนี้ได้รับการพิจารณาในหลายด้านว่าเป็นประเภทธรรมดา) เช่น ครอบครัวที่มีลูกสี่คนแทนที่จะเป็นห้าคนจนถึงปัจจุบัน ครอบครัวที่มีลูกสามคนจากการเกิดหลายครั้งแทนที่จะเป็นสี่คนในปัจจุบัน และครอบครัวที่มีลูกสามคนและมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ (มีรายได้ถึงเพียงร้อยละ ๑๕๐ ของ IPREM) (หมายเหตุผู้แปล - IPREM หรือ Indicador Público de Renta de Efectos Múltiples คือ ดัชนีสาธารณะบ่งชี้ผลกระทบต่อรายได้ เป็นดัชนีสำหรับจัดสรรเงินอุดหนุนหรือความช่วยเหลือให้แก่ผู้ตกงาน วัดจากรายได้ของประชาชนแทนเกณฑ์การวัดจากรายได้ขั้นต่ำ) 
 

 
ที่มาของข่าว : https://www.lamoncloa.gob.es/consejodeministros/referencias/Paginas/2023/20230328.aspx


 
 
ผู้แปล : นางสาวปฐมพร  รักษ์พลเมือง  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ
กลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมันและอาหรับ
ผู้ทาน : นางสาวจิรกาญจน์ สงวนพวก  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาสเปน เยอรมันและอาหรับ
           นางสาวศิรสา  ชลายนานนท์  นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
           กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี  มาศรีจันทร์  ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ
 
สำนักภาษาต่างประเทศ  สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร





 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย