ประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
หมวดสังคม
ข่าวประจำวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗
ทั่วเยอรมนี เนื่องจากพนักงานขับรถไฟนัดหยุดงานเป็นเวลาสามวันเริ่มตั้งแต่วันพุธ (วันที่ ๑๐
ผู้โดยสารยืนรอรถไฟอยู่บนชานชาลาในระบบขนส่ง BVG ของเบอร์ลินที่สถานีอเล็กซานเดอร์พลาทซ์ ระหว่างที่สหภาพพนักงานขับรถไฟเยอรมนีนัดหยุดงานเพื่อเรียกร้องขึ้นค่าจ้างและลดชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ให้น้อยลง ในกรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์/นายฟาบริซิโอ เบนช์
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ สำนักข่าวรอยเตอร์ เมืองโคโลญ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รายงานว่าประชาชนนับแสนต้องเผชิญกับปัญหาเที่ยวเดินรถไฟถูกยกเลิก มกราคม ๒๕๖๗) นับเป็นการเพิ่มความวุ่นวายสำหรับการเดินทางในเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีการประท้วงของกลุ่มเกษตรกรซึ่งได้ปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงและทำให้การจราจรติดขัด
สหภาพพนักงานขับรถไฟเยอรมนี (Gewerkschaft Deutscher Lokomotivfuhrer:
GDL) ออกมาเรียกร้องให้พนักงานขับรถไฟหยุดงานตั้งแต่วันพุธจนถึงเวลาค่ำของวันศุกร์ ทำให้การรถไฟเยอรมนีหรือดอยช์เชอ บาน (Deutsche Bahn) ต้องให้บริการเฉพาะตารางเดินรถฉุกเฉินเท่านั้น
โฆษกการรถไฟเยอรมนีกล่าวกับผู้สื่อข่าวที่สถานีรถไฟกลางเบอร์ลินที่มีผู้คนบางตา
ซึ่งปกติมีจำนวนหนาแน่นว่า หนึ่งในห้าของเส้นทางรถไฟความเร็วสูงระยะทางไกลยังคงให้บริการเดินรถอยู่และการให้บริการเดินรถไฟในต่างจังหวัดยังคงมี “คนมาใช้บริการน้อยมาก”
สถานีรถไฟเมืองโคโลญทางฝั่งตะวันออกของเยอรมนี มีผู้โดยสารที่เดินทางเป็นประจำทุกวันต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เย็นจัดและต้องคอยตรวจสอบตารางเวลาการเดินรถไฟเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง
นายอุลริช ลิงเค่อ (Ulrich Linke) กล่าวว่า เขารอรถไฟที่สถานีฯ เพื่อดูว่ารถไฟขบวนต่อไปจะวิ่งให้บริการหรือไม่ หลังจากที่รถไฟขบวนแรกไม่ได้วิ่งให้บริการ เขากล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า “ผมรอเป็นเวลา ๔๕ นาทีที่สถานีรถไฟหลักด้วยสภาพภูมิอากาศที่ติดลบ ๗ องศาฯ”
นายอเล็กซ์ มึลเลอร์ (Alex Mueller) ผู้โดยสารรถไฟคนหนึ่งกล่าวว่า “มันเป็นเรื่องเศร้าเมื่อคุณทำงานด้านการดูแลสุขภาพ” “พวกเราทำงานในบ้านพักคนชราและพวกเราต้องไปทำงาน”
หัวหน้าสมาคมเกษตรกรชาวเยอรมัน (Deutscher Bauernverband: DBV) ประกาศให้มีการยกระดับการประท้วงในวันพุธ (วันพุธที่ ๑๐ มกราคม) หลังจากขบวนรถแทร็กเตอร์และรถบรรทุกพากันปิดถนนทั่วประเทศตั้งแต่ต้นสัปดาห์
การนัดหยุดงานและการประท้วงได้เพิ่มความกดดันให้กับรัฐบาลผสมของนายโอลาฟ ชอลซ์ (Olaf Scholz) นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ อัตราดอกเบี้ยที่สูงตลอดจนปัญหาเรื่องงบประมาณ
ปัญหาการจ่ายค่าจ้างและชั่วโมงทำงานของพนักงานขับรถไฟที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานานได้กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากหยุดพักไปสามสัปดาห์ช่วงคริสต์มาส และหลังจากที่การรถไฟเยอรมนีพยายามขัดขวางการประท้วงครั้งล่าสุดตามคำสั่งศาลแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
สหภาพพนักงานขับรถไฟเยอรมนีขอลดชั่วโมงการทำงานให้กับพนักงานที่ทำงานเป็นกะจากเดิม ๓๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็น ๓๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ด้วยค่าจ้างเท่าเดิม การรถไฟเยอรมนีได้เสนอชั่วโมงการทำงานแบบยืดหยุ่น และปฏิเสธที่จะลดชั่วโมงการทำงานลงโดยไม่มีการลดค่าจ้าง
พนักงานขับรถไฟแย้งว่าข้อเรียกร้องของสหภาพฯ จะนำไปสู่การเพิ่มต้นทุนพนักงานร้อยละ ๕๐ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะจะต้องจ้างคนงานเพิ่ม ในขณะที่เยอรมนีเผชิญกับการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ
นายคลอซ เวเซลสกี้ (Claus Weselsky) หัวหน้าสหภาพพนักงานขับรถไฟเยอรมนี (GDL) กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ซีดีเอฟ (ZDF) ของเยอรมนีว่า เราพร้อมที่จะประนีประนอมและค่อยๆ ลดชั่วโมงทำงานรายสัปดาห์ลงเพื่อให้ฝ่ายนายจ้างมีโอกาสฝึกอบรมพนักงานด้วย และยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถ้าเราไม่ได้รับคำตอบอะไรเลยภายในวันศุกร์ เราจะหยุดพักและหลังจากนั้นเราจะดำเนินการให้มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในครั้งต่อไป
พนักงานขับรถไฟบรรทุกสินค้ายังคงนัดหยุดงานจนถึงวันศุกร์เช่นกัน อันนำไปสู่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน และเกือบหนึ่งในห้าของการขนส่งสินค้าของเยอรมนีใช้เส้นทางรถไฟ
(๑ ดอลลาร์ฯ = ๐.๙๑๔๙ ยูโร)
***************************************************************
ที่มาของข่าว : https://www.reuters.com/business/autos-transportation/german-train-drivers-start-3-day-strike-bringing-rail-travel-near-halt-2024-01-10/
ผู้แปล : นางสาวศุภพิชญ์ กิตติณัฐพงศ์
กลุ่มงาน : ภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน : นางสาวศิรสา ชลายนานนท์
ผู้ตรวจ : นางสาวกฤษณี มาศรีจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ