อินเดียเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกกลุ่มจี ๒๐ นํายุทธศาสตร์ด้านการต่อต้านการทุจริตระหว่างประเทศมาใช้

ประเทศ อินเดีย
ข่าวประจำวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๖๖
หมวด เศรษฐกิจ


          นายจิเทนดรา ซิงห์  (Jitendra Singh) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอินเดียเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกกลุ่มจี ๒๐ (G20) ใช้มาตรการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง ก่อนการประชุมสุดยอดประจําปี ๒๕๖๖ ณ กรุงนิวเดลี โดยนายซิงห์กล่าวว่า กลุ่มจี ๒๐ มีจุดยืนที่มีบทบาทเฉพาะในด้านการรับมือกับ “ความท้าทายทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจที่ซับซ้อน” ในเรื่องการทุจริต  โดยนายซิงห์ได้เสนอมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการแบ่งปันข้อมูล การจัดลําดับความสําคัญของการฟื้นฟูสินทรัพย์ และการคืนสินทรัพย์ และเร่งกระบวนการส่งคืนผู้กระทําผิดทางเศรษฐกิจที่หลบหนีไปดําเนินคดี
          นายซิงห์กล่าวในแถลงการณ์ต่อผู้แทน ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ๒๐ แห่ง โดยเน้นย้ำถึงผลกระทบที่สําคัญทางการเงินจากการทุจริตที่มีผลต่อเศรษฐกิจของอินเดีย ซึ่งธนาคารภาครัฐในประเทศได้สูญเสียเงินประมาณ ๒๗๒,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการฉ้อโกงของ “ผู้ลงทุนรายใหญ่” ความสูญเสียมหาศาลในส่วนที่รัฐบาลชดใช้ให้นั้น เป็นเงินทุนจากโครงการความเท่าเทียมทางเพศและการลดความยากจน โดยนายซิงห์กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่กระเพื่อมจากการทุจริต และการขาดโอกาสในการกู้คืนสินทรัพย์ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต รวมถึงการกํากับดูแลที่ดีทั้งภายในและภายนอกกลุ่มจี ๒๐ 
           นายนเรนทรา โมดี (Narendra Modi)  นายกรัฐมนตรีของประเทศอินเดีย สนับสนุนจุดยืนการต่อต้านการทุจริตในปัจจุบัน ซึ่งนายโมดีได้อธิบายว่า การทุจริตและลัทธิเครือญาตินิยมเป็น“ศัตรูตัวฉกาจในการพัฒนาประชาธิปไตยและความยุติธรรมทางสังคม” รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีโมดี ได้ผ่านพระราชบัญญัติป้องกันอันตรายทางเศรษฐกิจจากผู้ลี้ภัยในปี ๒๕๖๑ โดยกฎหมายให้บุคคลถูกกําหนดเป็น “ผู้ลี้ภัย” หากพวกเขามีหมายจับและออกจากประเทศอินเดียหรือปฏิเสธการกลับมาประเทศอินเดีย นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการเฝ้าระวังการทุจริตกลางแห่งประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาอิสระอยู่ระหว่างการต่อต้านการทุจริตโดยสร้างความตระหนักในประเด็นนี้ รวมถึงยังได้สนับสนุนการลงโทษผู้กระทําผิดอย่างเข้มงวด
          ในฐานะเจ้าภาพการประชุมในปี ๒๕๖๖ ประเทศอินเดียได้ดํารงตําแหน่งประธานกลุ่มจี ๒๐
ซึ่งนอกเหนือจากการพัฒนามาตรการความร่วมมือเพื่อต่อต้านการทุจริตแล้ว ประเทศอินเดียยังเพิ่มการสนับสนุนด้านการบรรเทาภัยพิบัติ เพิ่มความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และเยียวยาความแตกแยกที่หยั่งลึกในระดับโลก อันเนื่องมาจากสงครามในประเทศยูเครน

ที่มาของข่าว : https://www.jurist.org/news/2023/03/india-calls-on-g20-member-states-to-adopt-international-anti-corruption-strategy/#
 
ผู้แปล นางมัญชุสา  ตั้งเจริญ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการ  
กลุ่มงานภาษาอังกฤษ
ผู้ทาน นายกิตติ  เสรีประยูร ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานภาษาอังกฤษ
นางสาวศิรสา ชลายนานนท์ นักวิเทศสัมพันธ์เชี่ยวชาญ
  ผู้ตรวจ นางสาวกฤษณี มาศรีจันทร์ 
ผู้อำนวยการสำนักภาษาต่างประเทศ 

สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร



 


เจ้าภาพการประชุม

● สมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลกครั้งที่ 9

○ ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรการประชุม
○ ข้อมูลการประชุมสมัชชาใหญ่สหภาพลูกเสือรัฐสภาโลก ครั้งที่ผ่านมา
○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

● การประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APPF) ครั้งที่ 30

○ ข้อมูลเกี่ยวกับกรอบการประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
○ ข้อมูลการประชุมประจำปี APPF ครั้งล่าสุด 5 ปี

○ ข้อมูลการเตรียมการเป็นเจ้าภาพของรัฐสภาไทยในการจัดประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30


○ ข้อมูลการประชุมประจำปีรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 30

● คณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย

○ ภูมิหลังสมัชชารัฐสภาอาเซียน
○ ข้อมูลประเทศไทย
○ กฎบัตรและข้อบังคับการประชุม APA
○ คณะกรรมการเตรียมการประชุมฯ APA
○ ภาพกิจกรรมของคณะผู้แทนไทย