• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
การพิจารณากฏหมาย
เกี่ยวกับอาเซียนของรัฐสภา
Loading...
ประเภท พระราชบัญญัติ.พระราชบัญญัติ
ชื่อ พระราชบัญญัติการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายจากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. ๒๕๖๐
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีชุดที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
สาระสำคัญ พระราชบัญญัติการเรียกเงินสมทบเข้ากองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหาย
จากมลพิษน้ำมันอันเกิดจากเรือ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีเนื้อหารวม จำนวน ๓๕ มาตรา เป็นการตรากฎหมายอนุวัติการเพื่อรองรับข้อตกลงตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ. ๑๙๙๒ โดยได้กำหนดบทนิยามศัพท์ต่าง ๆ เพื่อความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายและให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว เช่น “อนุสัญญาความรับผิด” หมายถึง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดทางแพ่งสำหรับความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ. ๑๙๙๒” “อนุสัญญากองทุน” หมายถึง อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน ค.ศ. ๑๙๙๒ “เรือ” หมายถึง เรือเดินทะเลใด ๆ รวมทั้งยานพาหนะทางทะเลแบบใด ๆ ซึ่งได้ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้บรรทุกน้ำมันในระวางอย่างสินค้า สำหรับเรือที่สามารถบรรทุกได้ทั้งน้ำมันและสินค้าอื่นให้ถือว่าเป็นเรือตามความหมายนี้ต่อเมื่อเรือนั้นได้บรรทุกน้ำมันในระวางอย่างสินค้า และให้ถือว่าเป็นเรืออยู่ต่อไปในระหว่างการเดินทางภายหลังการบรรทุกน้ำมันจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีน้ำมันเหลืออยู่ในระวาง “น้ำมัน” หมายถึง น้ำมันแร่ไฮโดรคาร์บอนที่สลายตัวยาก เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเตา น้ำมันดีเซลหนัก น้ำมันหล่อลื่น ไม่ว่าจะบรรทุกบนเรืออย่างสินค้าหรือในถังน้ำมันเชื้อเพลิงของเรือดังกล่าว และ “ความเสียหายจากมลพิษ” หมายถึง (๑) การสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นภายนอกตัวเรือจากการปนเปื้อนที่มีผลมาจากการรั่วไหลหรือปล่อยทิ้งน้ำมันจากเรือ ไม่ว่าการรั่วไหลหรือการปล่อยทิ้งดังกล่าวจะเกิดขึ้น ณ ที่ใด ทั้งนี้ รวมถึงค่าชดเชยความเสียหายของสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียผลประโยชน์จากความเสียหายของสิ่งแวดล้อม โดยค่าชดเชยความเสียหายของสิ่งแวดล้อมให้จำกัดเพียงค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการที่สมเหตุผลซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วหรือจะดำเนินการต่อไปเพื่อให้สิ่งแวดล้อมที่เสียไปคืนสู่สภาพเดิม และ (๒) ค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการในการป้องกัน และการสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมาตรการดังกล่าว เป็นต้น
สถานะปัจจุบัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๗๐ ก วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยพระราชบัญญัติฯ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
เอกสารการประกอบการพิจารณา 1. เอกสารประกอบการพิจารณา



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,291,334
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ