คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ ศาสตราจารย์ ด่าว ตร็อง ที
(Prof. Dr. Dao Trong Thi) ประธานคณะกรรมาธิการวัฒนธรรม การศึกษา เยาวชน และยุวชน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาษาต่างประเทศโดยการจัดสรรงบประมาณกว่า
- ๓ ล้านบาทเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาภาษาต่างประเทศของนักเรียนเวียดนามในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น เพราะการพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศจะทำให้เวียดนามสามารถเข้าร่วมกับประชาคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ กอปรกับนักเรียนเวียดนามตื่นตัวกับการเรียนภาษาต่างประเทศมากขึ้นเพราะมองว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพและการมีอนาคตที่ดี ที่ผ่านมานักเรียนเลือกเรียนภาษารัสเซียและภาษาอังกฤษมากที่สุดตามลำดับ หากแต่ปัจจุบันแนวโน้มความนิยมเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษเป็นลำดับแรก รองลงมาคือภาษารัสเซีย ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาจีนตามลำดับ ทั้งนี้ การเรียน
- การสอนภาษาต่างประเทศของเวียดนามจะไม่เน้นเพียงการอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่จะพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดด้วย โดยตั้งเป้าหมายว่านักเรียนเวียดนามทุกคนต้องสามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้
- ปัจจุบันมีนักเรียนเวียดนามจำนวนไม่น้อยที่สนใจศึกษาภาษาไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
- ในเวียดนามเปิดสอนหลักสูตรวิชาภาษาไทย อาทิ มหาวิทยาลัยฮานอยได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดตั้งศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมไทยขึ้น ในขณะเดียวกันมีนักเรียนไทยให้ความสนใจเดินทางมาศึกษาภาษาเวียดนามมากยิ่งขึ้นทั้งด้วยทุนของตนเองและทุนของรัฐบาล ดังนั้น หากในอนาคตรัฐบาลของ
- ทั้งสองประเทศสามารถจัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนได้มากขึ้นเชื่อว่าการศึกษาภาษาไทยและภาษาเวียดนามจะยิ่งขยายตัวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สปป.ลาว และกัมพูชา ก็สนใจเรียนภาษาเวียดนามเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับภาษาถิ่นอันจะเห็นจากการใช้ภาษายาวีหรือภาษามลายูสื่อสาร
- ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งโรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวมีการเปิดสอนหลักสูตรอิสลามศึกษา ต่อกรณีนี้ รัฐบาลเวียดนามก็ให้ความสำคัญต่อการใช้ภาษาถิ่นของแต่ละภูมิภาคเช่นเดียวกัน เวียดนามมีกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน ๕๔ ชนเผ่าที่ต่างมีภาษาพูดและภาษาเขียนแตกต่างออกไปจากภาษาเวียดนาม รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้โรงเรียนท้องถิ่นเหล่านั้น พิจารณาเปิดสอนหลักสูตรทั้งภาษาเวียดนามและภาษาเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ได้ อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาคือนักเรียนที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับสูงได้ เนื่องจากระบบการศึกษาหรือหลักสูตรปกติใช้ภาษาเวียดนามเป็นหลัก ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยสนับสนุนให้โรงเรียนท้องถิ่นต่าง ๆ มีการสอนภาษาเวียดนามควบคู่ไปกับภาษาถิ่น นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังให้การสนับสนุนโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์
- ได้เข้ามาศึกษาในโรงเรียนพิเศษที่มีลักษณะคล้ายโรงเรียนประจำ รวมถึงให้การสนับสนุนนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์สามารถเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาโดยได้รับสิทธิพิเศษหรือคะแนนช่วยนอกเหนือจากคะแนนสอบ
- ที่เกิดขึ้นจริง ยกตัวอย่าง หากเป็นนักเรียนเวียดนามปกติจะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ ๕๕ คะแนน สำหรับเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา แต่ในกรณีของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้เพียง ๘ - ๑๐ คะแนน นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดสรรทุนการศึกษาเฉพาะแบบพิเศษเพื่อให้นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์นำเอาความรู้และความสามารถกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อีกด้วย
- แม้ปัจจุบันจะมีความร่วมมือและกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับฝ่ายไทยมาโดยตลอดหากแต่ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเวียดนามในการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนยังไม่ทั่วถึงและไม่ครอบคลุมทุกสาขา หากเปรียบเทียบความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลเวียดนามจะพบว่านักเรียนของทั้งสองประเทศให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากกว่า อย่างไรก็ดี รัฐบาลเวียดนามมีการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในหลายรูปแบบ อาทิ การเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา ครูและอาจารย์ เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและวัฒนธรรมของประเทศกลุ่มอาเซียน โดยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ร่วมกับการได้รับเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนภาคฤดูร้อนระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเวียดนามและสิงคโปร์ โครงการเรือยุวชนของนักเรียนญี่ปุ่น เวียดนาม และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ อย่างไรก็ดี คาดหวังว่ารัฐบาลไทยและรัฐบาลเวียดนามจะพัฒนาความร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมระหว่างกันมากยิ่งขึ้นเพราะทั้งสองประเทศเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้กันสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้โดยสะดวก
- กฎหมายด้านการศึกษา (Education Law of 2005) ที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินร้อยละ ๒๐ เพื่อการศึกษา นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ รัฐบาลเวียดนามวางแผนพัฒนาการศึกษาให้นักเรียนและนักศึกษาให้มีทักษะและความรู้เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมและภาคการบริการเพราะสองภาคส่วนนี้จะเป็นฐานสำคัญในการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติให้สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการขาดแคลนกำลังแรงงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้เข้าพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายปาม วัน ได
(Mr. Pham Van Dai) รองผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาและฝึกอบรมฮานอย สรุปสาระสำคัญดังนี้
- การเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาของเวียดนามจะเรียน ๘ วิชา แบ่งเป็น ๕ คาบต่อวัน
- โดยเรียนคาบละ ๔๕ นาที สำหรับระดับมัธยมศึกษาจะเรียน ๑๒ วิชา แบ่งเป็น ๕ คาบต่อครึ่งวัน เหตุผลที่ต้องจัดการเรียนการสอนเพียงครึ่งวันนั้นเนื่องจากจำนวนนักเรียนในกรุงฮานอยมีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ ครูมีจำนวนน้อย เห็นได้จากสัดส่วนครูและนักเรียนในแต่ละระดับชั้น กล่าวคือ ระดับประถมศึกษามีครูจำนวน ๑ - ๕ คน ต่อนักเรียน ๓๕ คน ระดับมัธยมศึกษามีจำนวน ๒ คน ต่อนักเรียน ๔๕ คน ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนในกรุงฮานอยจึงต้องแบ่งการศึกษาเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยภาคเช้าจะเป็นการเรียนวิชาการ ในขณะที่ภาคบ่ายจะเน้นภาคปฏิบัติหรือทักษะด้านกีฬาแทน
- สถาบันกวดวิชาในกรุงฮานอยมีเป็นจำนวนมากเพราะนักเรียนต้องการเพิ่มพูนทักษะความรู้ความสามารถเพื่อสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น นักเรียนที่มีเรียนครึ่งวันสามารถ
- หาวิชาความรู้นอกเหนือจากวิชาปกติได้ อาทิ การเรียนภาษาต่างประเทศ การเรียนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษดังกล่าวจะอยู่ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ดอง หรือประมาณ ๓๕ บาทต่อชั่วโมง
- การบริหารและการจัดการระบบการศึกษาในเวียดนามมีกระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรม (Ministry of Education and Training : MOET) รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายในภาพรวมของการศึกษาทุกระดับชั้นของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนและสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ในส่วนการสร้างโรงเรียน การจัดหาเจ้าหน้าที่ ตลอดจนงบประมาณในการบริหารจัดการโรงเรียนจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละระดับการศึกษา กล่าวคือ กระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรมจะรับผิดชอบระดับอุดมศึกษาหรือระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ในขณะที่กรมการศึกษาจะ
- รับผิดชอบในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและวิทยาลัยอาชีพของแต่ละจังหวัด ส่วนองค์การบริหารการศึกษาส่วนท้องถิ่นจะรับผิดชอบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงประถมศึกษาในพื้นที่นั้น ๆ
- นักเรียนเวียดนามที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีทางเลือกที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัย หรือระดับอนุปริญญาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับอาชีวศึกษา นอกจากนี้ ในฮานอยยังมีมหาวิทยาลัยเปิดที่มีลักษณะคล้ายมหาวิทยาลัยรามคำแหงของไทย
- อยู่ ๒-๓ แห่ง อีกทั้งยังมีศูนย์การเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่พลาดการสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะให้ความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์การเงิน รัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และด้านนิติศาสตร์ ซึ่งแตกต่างจากไทย
- ที่นักเรียนที่มีผลการเรียนดีเด่นมักเลือกเรียนแพทย์ศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนเวียดนามยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่มาก กล่าวคือ นักเรียนในฮานอยหรือเมืองใหญ่อื่น ๆ ของเวียดนาม จะได้รับการศึกษาที่ดีกว่านักเรียนที่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด เหตุผลส่วนหนึ่งคือสภาพการเงินของครอบครัวคนเมืองสามารถสนับสนุนลูกหลานให้เข้าเรียนต่อในระดับสูงได้ ในขณะที่นักเรียนต่างจังหวัดมักมีฐานะยากจน ไม่สามารถเดินทางเข้ามาศึกษาในเมืองใหญ่ที่มีค่าใช้จ่ายสูง รัฐบาลพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการสนับสนุนงบประมาณให้ครูจากฮานอยหรือเมืองใหญ่ออกไปสอนตามโรงเรียนต่างจังหวัดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นให้ทัดเทียมกับฮานอยยังคงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากปรัชญาการใช้ชีวิต ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ระหว่างคนเมืองและคนชนบทมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี รัฐบาลให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาให้มากขึ้นจะเห็นได้จากการสนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนบรรจุวิชาคอมพิวเตอร์ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน
คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้เข้าพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายเหงียน
ก๊วก บิน (Mr. Nguyen Quoc Binh) ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนด้านวิเทศสัมพันธ์ สาระสำคัญดังนี้
- ในระยะเริ่มแรกที่เวียดนามเพิ่งผ่านพ้นจากสภาวะสงครามนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างสถาบันการศึกษาอย่างมาก ซึ่งเยอรมันตะวันออกในขณะนั้นได้สนับสนุนการก่อตั้งโรงเรียนภาษาเวียดนาม-เยอรมัน (Viet Duc High School) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี โรงเรียนเวียดนาม-เยอรมัน ได้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพให้แก่ประเทศจำนวนมากมาย อาทิ นายเหวียน ซิง ฮุ่ง ประธานรัฐสภาของเวียดนาม อดีตรัฐมนตรี ศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ เป็นต้น
- ปัจจุบันโรงเรียนเวียดนาม-เยอรมัน มีห้องเรียนทั้งสิ้น ๔๖ ห้อง นักเรียนจำนวน ๒,๒๐๐ คน
ทางด้านภาษาต่างประเทศควบคู่ไปด้วย โดยภาษาต่างประเทศที่เปิดสอนให้แก่นักเรียนคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน และภาษาญี่ปุ่น โดยมีครูสอนจากประเทศเจ้าของภาษา หรือได้รับอุปกรณ์และเครื่องมือในการสอนจากประเทศต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เยอรมนีได้ส่งอุปกรณ์การเรียนการสอนภาษาเยอรมันมาให้ใช้ภายในโรงเรียน อีกทั้งมีการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยนักเรียนที่สามารถทำคะแนนได้ดีจะได้รับการพิจารณาให้ไปเรียนต่อที่เยอรมนี
- โดยเฉลี่ยจะมีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจบการศึกษาประมาณ ๗๐๐ คนต่อปี โรงเรียนแห่งนี้นอกจากจะมีการเรียนการสอนตามนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนา
- ความร่วมมือทางด้านการศึกษาระหว่างประเทศ ปัจจุบันโรงเรียนมีโครงการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนกับสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนต่างชาติที่มาศึกษาในโรงเรียนเวียดนาม-เยอรมันจะอาศัยอยู่กับครอบครัวชาวเวียดนาม (Home Stay) เพื่อจะได้เข้าใจถึงวิถีการดำรงชีวิตของชาวเวียดนามอย่างลึกซึ้ง อีกทั้ง สามารถพัฒนาและฝึกฝนภาษาเวียดนามได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย สำหรับความร่วมมือทางด้านการศึกษากับกลุ่มประเทศอาเซียนนั้น ทางโรงเรียนได้สนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน เช่น เมื่อกลางเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ มีนักเรียนจำนวนหนึ่งเดินทางไปเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมที่อินโดนีเซีย สำหรับความร่วมมือกับไทย ยังไม่มีความร่วมมืออันใดที่เป็นรูปธรรมนัก อย่างไรก็ดี โรงเรียนเวียดนาม-เยอรมันเชื่อมั่นว่าไทยมีการพัฒนาทางด้านการศึกษาที่ดี ดังนั้น หากเกิดการรวมตัวกันภายใต้กรอบอาเซียนจะทำให้บางโรงเรียนของไทยสามารถร่วมมือกับโรงเรียนเวียดนาม-เยอรมันได้อย่างแน่นอน
- โรงเรียนเวียดนาม-เยอรมันได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลาง ซึ่งสนับสนุนค่าใช้จ่าย
- ๔ ล้านเวียดนามดอง หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ ๖,๒๕๐ บาทต่อนักเรียน ๑ คน โดยเงินจำนวนนี้
- ทางโรงเรียนจะบริหารจัดการให้ร้อยละ ๗๐ เป็นค่าจ้างครูตลอดจนเจ้าหน้าที่ภายในโรงเรียน และอีกร้อยละ ๓๐ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน
- การพิจารณาบุคคลผู้มีความเหมาะสมในการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนของแต่ละแห่งนั้น
- มีระเบียบและขั้นตอนมาก กล่าวคือ ครูต้องแสดงความรู้ความสามารถและมีผลงานอันเป็นที่น่าพอใจ
- จากนั้นคณะกรรมการบริหารโรงเรียนจะพิจารณาต่อไปว่าครูผู้นั้นจะสามารถพัฒนาต่อไปเป็นผู้บริหารได้หรือไม่ โดยปกติผู้อำนวยการโรงเรียนจะดำรงตำแหน่งได้ ๒ วาระ ๆ ละ ๕ ปี หลังจากนั้นจะหมุนเวียนไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป
คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ได้เข้าพบหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายอนุสนธิ์ ชินวรรโณ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย สาระสำคัญดังนี้
- การสาธารณสุขของเวียดนามยังคงมีความล้าหลัง เนื่องมาจากการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ เหตุผลส่วนหนึ่งคือค่าใช้จ่ายในการเรียนแพทย์นั้นมีต้นทุนสูงมาก ในขณะที่ผลตอบแทนต่ออาชีพกลับอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งตรงกันข้ามกับนักเรียนที่เลือกเรียนด้านการค้าและการบริหารธุรกิจที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
- ระบบการเงินและการธนาคารในเวียดนามประสบปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือและไม่มั่นคง ดังนั้น คนเวียดนามส่วนใหญ่มักจะเก็บเงินสำรองดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเลือกสะสมทองคำไว้ในบ้าน
- มากว่านำเงินไปฝากไว้ในธนาคาร
- การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เวียดนามขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล กอปรกับรัฐบาลมีเงินทุนสำรองที่ต่ำและประสบกับภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลจึงได้แสวงหาแนวทางแก้ไขโดยการเรียกเก็บเงินจากรัฐวิสาหกิจที่มักเก็บเงินตราต่างประเทศไว้ ทำให้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เวียดนามมีเงินสำรองมากถึง ๒๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- การพัฒนาทางด้านการศึกษาของเวียดนามนั้น ในภาพรวมรัฐบาลเวียดนามพยายามจัดสรรงบประมาณให้กับการศึกษา แต่จำนวนโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษายังคงมีอยู่อย่างจำกัด
- กอปรกับจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงกำหนดให้โรงเรียนมัธยมศึกษาแบ่งการเรียนออกเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย
- ซึ่งนักเรียนที่ไม่มีเรียนในเวลาปกติ สามารถเลือกเรียนวิชาต่าง ๆ ตามสถาบันกวดวิชา อาทิ ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือการดนตรี ฯลฯ
- เวียดนามให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาต่างประเทศ เพราะเชื่อมั่นว่าความรู้ความสามารถ
- ด้านภาษาต่างประเทศจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบอาชีพในอนาคต อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบความรู้ความสามารถภาษาต่างประเทศของคนเวียดนามแล้ว จะพบว่ามิได้โดดเด่นไปกว่าไทยมากนัก การที่สื่อหลายแขนงออกมาวิจารณ์ว่าคนเวียดนามเก่งภาษาต่างประเทศมากกว่าคนไทยนั้น เป็นเรื่องที่อาจจะ
- ไม่จริงสักเท่าใดนัก อย่างไรก็ดี จุดเด่นที่นักเรียนเวียดนามมีมากกว่ากว่านักเรียนไทยคือความตั้งใจ
- และความกล้าแสดงออก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของไทยและเวียดนามได้มีความตกลงร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษาระหว่างประเทศ อาทิ การแลกเปลี่ยนอาจารย์ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยฮานอย โดยทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้
- ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
- หากเปรียบเทียบกับไทย เวียดนามยังไม่ตื่นตัวกับการรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้น
- ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เท่าใดนัก ทั้งนี้ จากการที่เอกอัครราชทูตได้เดินทางไปเยือนโรงเรียนทางภาคเหนือของไทยจะพบว่านักเรียนไทยได้จัดเตรียมการแสดง การทำอาหาร การแต่งกายแบบอาเซียน ในขณะที่กิจกรรมเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นในโรงเรียนของเวียดนามเลย นอกจากนี้ การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๓ เป็นไปตามแผนของสภาพัฒนาการเมืองและเศรษฐกิจของเวียดนามมากกว่าที่จะเป็นการวางแผนพัฒนากำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน
คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่าในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษารัฐบาลควรกำหนดนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ระหว่างไทยกับเวียดนามให้มากขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของสองประเทศ
ให้แน่นแฟ้น อีกทั้ง ยังเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเป็นประชาคมอาเซียน ในด้านการค้า
และการลงทุนระหว่างประเทศควรกำหนดนโยบายให้กระทรวงต่าง ๆ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเวียดนาม ให้ภาคธุรกิจ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนรับรู้อย่างกว้างขวาง โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและสนับสนุนภาคธุรกิจของไทยในการส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามให้มากขึ้น เพื่อมิให้กระแสความนิยมสินค้าไทยในเวียดนามลดลงหรือถูกแย่งส่วนแบ่งทางตลาดจากคู่แข่งทางการค้าของไทย นอกจากนี้ ควรมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมและสนับสนุน
การขยายการลงทุนของไทยในเวียดนามให้มากขึ้นโดยเฉพาะด้านการแพทย์ การศึกษา และการเงิน
การธนาคาร ส่วนด้านการศึกษาควรมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการขยายโอกาสทางการศึกษาทุกระดับให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยในไทยเพื่อพัฒนาเป็นประชากรที่มีคุณภาพทัดเทียมกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
คำค้น เวียดนาม, การศึกษา, อาชีวศึกษา, การพัฒนาการศึกษา, ภาษาต่างประเทศ
เสาหลัก สังคมและวัฒนธรรม
|