• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
รายงานการศึกษาดูงาน
ประเทศสมาชิกอาเซียนของรัฐสภา
Loading...
ลำดับที่ 20
คณะกรรมาธิการ/บุคคลสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ คณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย–สิงคโปร์
หมวดหมู่ - ประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ - สิงคโปร์
เสาหลักอาเซียน - เศรษฐกิจ
- สังคมและวัฒนธรรม
- การเมืองและความมั่นคง
วันเดือนปีที่ศึกษาดูงาน 10 มกราคม 2559 - 12 มกราคม 2559
สมัยของประธาน พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สิงคโปร์
ประเด็นศึกษาดูงาน

1. การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของไทยและการชี้แจงสถานการณ์พัฒนาการทางการเมืองของไทย

2. บทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติในการสนับสนุนส่งเสริมและวางรากฐานภาคเศรษฐกิจดิจิทัล

สาระสังเขป

     ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สิงคโปร์ ได้นำคณะเข้าเยี่ยมคารวะและประชุมทวิภาคีกับบุคคลสำคัญระดับสูงของสิงคโปร์ ดังนี้ 1) การเข้าเยี่ยมคารวะ H.E. Mr. Charles Chong รองประธานรัฐสภาสิงคโปร์ 2) การประชุมทวิภาคีกับ Ms. Foo Mee Har รองประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาสิงคโปร์–ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3) การประชุมทวิภาคีกับ H.E. Ms. Josephine Teo รัฐมนตรีอาวุโสแห่งรัฐ กระทรวงการต่างประเทศ โดยในแต่ละวาระการหารือทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สรุปสาระสำคัญดังนี้

๑) ภาพรวมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์

     ไทยและสิงคโปร์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ โดยเมื่อปี
พ.ศ. 2558 ทั้งสองฝ่ายได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองการครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ไทย–สิงคโปร์ขึ้น อาทิ ฝ่ายสิงคโปร์ได้ส่งวงดุริยางค์สากล (Orchestra) เดินทางไปจัดแสดงที่กรุงเทพฯ และมีการผลิตดวงตราไปรษณียากรครบรอบ 50 ปี สำหรับฝ่ายไทยก็มีการจัดงานเฉลิมฉลองที่กระทรวงการต่างประเทศเช่นเดียวกันตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินอย่างราบรื่นและมีความใกล้ชิดในทุกระดับและครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่มีส่วนช่วยสร้างความต่อเนื่องและความร่วมมือระหว่างกัน อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ โดยฝ่ายไทยในระดับราชวงศ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศ ในขณะนั้น) เสด็จเยือนสิงคโปร์บ่อยครั้ง โดยในปี 2559 เสด็จเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ เพื่อทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมสุดยอดนักวิทยาศาสตร์เยาวชนโลก (Global Young Scientists Summit 2016) ในระดับรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสที่ครบรอบ 50 ปี การประกาศเอกราชและการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สิงคโปร์ สำหรับฝ่ายสิงคโปร์ H.E. Mrs. Halimah Yacob ประธานรัฐสภาสิงคโปร์ได้นำคณะเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐสภาไทยใน พ.ศ. 2556 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับนิติบัญญัติของทั้งสองประเทศ

     ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สิงคโปร์ กล่าวถึงความคืบหน้าเรื่องแผนการดำเนินงานทางการเมือง (Road Map) ของไทยว่าอยู่ในระหว่างขั้นตอนการร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอน การลงประชามติ หากประชาชนลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญก็จะมีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และจะนำไปสู่การเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลต่อไป โดยคาดว่าจะสามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปและจะมีรัฐบาลชุดใหม่ประมาณปลายปี 2560 ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์กล่าวชื่นชม แผนการดำเนินงานทางการเมือง (Road Map) ของไทยที่มีทิศทางที่ดีและเชื่อมั่นว่าไทยจะประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ากระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์แสดงจุดยืนชัดเจนว่า สิงคโปร์ให้ความเคารพต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทย ไม่แทรกแซงกิจการภายในของไทย รวมถึงไม่มีมาตรการลงโทษและไม่ระงับความร่วมมือในด้านต่าง ๆ กับไทยอย่างแน่นอน  

     สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์เป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยในอาเซียน และเป็นคู่ค้าอันดับที่ 6 ของไทยในโลก โดยรัฐบาลสิงคโปร์มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้นักธุรกิจชาวสิงคโปร์ไปลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งจากผลการสำรวจที่ผ่านมาปรากฏว่าไทยเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ที่มีนักธุรกิจชาวสิงคโปร์เข้าไปลงทุน โดยกลุ่มธุรกิจที่สำคัญคือโรงแรมและโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งสองฝ่ายแสดงความเชื่อมั่นว่าจะขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคีในฐานะการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน

๒) ความสัมพันธ์ด้านการทหาร

     ไทยและสิงคโปร์มีความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการทหารทั้งสามเหล่าทัพอย่างใกล้ชิด สำหรับความร่วมมือของกองทัพบกมีการฝึกผสมทางบกที่เรียกว่ารหัส “คชสีห์” (Kocha Singa) ที่ไม่ได้เน้นการฝึกรบแต่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือและการจัดการภัยพิบัติขณะที่กองทัพเรือมีการประชุมระหว่างผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพเรือในภูมิภาคอาเซียนเป็นประจำทุกปี โดยในระดับทวิภาคีมีการฝึกปฏิบัติการ  ที่เรียกว่า “Exercise Singsiam” ร่วมกันเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ กองทัพเรือไทยยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคงในการเดินเรือที่สิงคโปร์และรัฐมะละกาอีกด้วย สำหรับความร่วมมือของกองทัพอากาศ เดิมเป็นการฝึกแบบทวิภาคีที่เรียกว่า “Air Thaising” ที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นการฝึกแบบพหุภาคีที่เรียกว่า “Cope Tiger” โดยมีกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมด้วย ทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่าการฝึกแบบพหุภาคีจะทำให้มีโอกาสเรียนรู้ยุทโธปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและ ยุทธวิธีใหม่ ๆ ในการรบทางอากาศมากยิ่งขึ้น

๓) การท่องเที่ยว

     ภายหลังสถานการณ์ระเบิดที่สี่แยกราชประสงค์ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดน้อยลง ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สิงคโปร์ ได้กล่าวเชิญชวนนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ให้เดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพราะสถานการณ์ในไทยกลับสู่สภาวะปกติแล้ว อีกทั้งภาครัฐยังมีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยที่ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวต่อประเด็นดังกล่าวฝ่ายสิงคโปร์แสดงความเชื่อมั่นว่าจะมีนักท่องเที่ยวสิงคโปร์เดินทางไปไทยมากขึ้นเพราะไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลายแห่งและแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่สวยงามมากมาย โดยผลการสำรวจพบว่าจังหวัดที่นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์นิยมเดินทางไปมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และภูเก็ต

๔) การสื่อสารมวลชน

     ประธานกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-สิงคโปร์ ชื่นชมการทำงานของสื่อทั้งด้านการโทรทัศน์ การวิทยุ และหนังสือพิมพ์ที่มีการบริหารจัดการและมีกฎหมายที่เข้มแข็งในการควบคุม กำกับ และดูแล  การทำงานของสื่อมวลชนในสิงคโปร์ ต่อประเด็นดังกล่าว ฝ่ายสิงคโปร์ให้ความเห็นว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สื่อมวลชนมีสิทธิที่จะนำเสนอสิ่งใดหรือแง่มุมใดตราบเท่าที่ข้อมูลเหล่านั้น เป็นข้อเท็จจริง  ที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับสิทธิของประชาชนที่สามารถพูดหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยเสรี อย่างไรก็ดี สื่อมวลชนและประชาชนสิงคโปร์ตระหนักถึงบทลงโทษตามกฎหมายที่มีความเข้มงวดเป็นอย่างมาก    ดังนั้น ในการนำเสนอข่าวหรือข้อมูลใด ๆ ที่ไม่เป็นความจริง การนำเสนอข้อมูลที่เป็นประเด็นอ่อนไหว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม โดยอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไม่ว่าการกระทำนั้นจะอยู่ในหรือนอกประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการควบคุมสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนโดยมีการพัฒนากฎหมายและเทคโนโลยีให้ครอบคลุมและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม  

๕) สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society)

     นับตั้งแต่พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา สิงคโปร์มีการพัฒนาด้านการสาธารณสุขเป็นอย่างมากทำให้ประชากรมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ประกอบกับรายได้ของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้อัตราการตายลดต่ำลง สิงคโปร์จึงประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วจนรัฐบาลต้องประกาศนโยบายจำกัดการมีบุตร แต่ในขณะนี้รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนนโยบายส่งเสริมให้ประชากรมีบุตรเพิ่มมากขึ้น โดยรัฐบาลใช้มาตรการ การลดหย่อนภาษีให้แก่พ่อแม่ที่มีบุตร รวมถึงการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่พ่อแม่โดยการให้สวัสดิการหรือการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ พ่อแม่ในยุคปัจจุบันนิยมมีบุตรคนเดียวเพื่อที่จะสามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างดีที่สุด ค่านิยมของหนุ่มสาวที่สมรสแล้วแยกตัวออกมาจากครอบครัวใหญ่ คนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานทำให้เชื่อมั่นว่าสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้และมีความสุขกับชีวิตโสดจึงไม่อยากแต่งงานหรือมีภาระในการเลี้ยงดูบุตร ทำให้สิงคโปร์มีอัตราการแต่งงานและการเกิดค่อนข้างต่ำ นักเรียนหรือนักศึกษาเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศและเลือกที่จะทำงานในต่างประเทศแบบถาวร ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุสำคัญอันส่งผลให้ผู้สูงอายุจำนวนมากต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพัง ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลสิงคโปร์จึงได้จัดตั้งระบบประกันสังคม (Social Security Savings) ซึ่งพัฒนามาจากระบบกองทุนกลางสำรองเลี้ยงชีพ (Central Provident Fund: CPF) ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เพื่อบังคับให้ประชาชนสะสมเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ สำหรับฝ่ายไทยประสบปัญหาสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุอยู่หลายฉบับ ทั้งนี้ ทั้งไทยและสิงคโปร์ตระหนักดีว่าปัญหาสังคมผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญที่ไม่อาจจะแก้ไขได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเตรียมการและการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

๖) เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy)

       สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิทัลที่ดีส่งผลให้เศรษฐกิจภาคอื่น ๆ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม ภาคการบริการ ภาคการเงิน และภาคการธนาคาร มีความก้าวหน้าและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ไทยให้ความสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลเช่นเดียวกัน โดยที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเรื่องการส่งเสริมและการวางรากฐานภาคเศรษฐกิจดิจิทัลให้ขับเคลื่อนได้อย่างจริงจังตามโครงสร้างทั้ง 5 ด้าน คือ

          (๑) ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (Hard Infrastructure) คือ การพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคม เสาอากาศ คลื่นความถี่ และศูนย์ข้อมูลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

        (๒) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ (Soft Infrastructure) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการทำธุรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย

       (๓) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบริการออนไลน์ (Service Infrastructure) คือ การสร้างแพลตฟอร์ม (Platform) สำหรับการทำธุรกรรมและการสร้างธุรกิจของประเทศ

          (๔) ด้านการสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลใหม่ ๆ (Digital Economy Promotion) คือ การจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลและช่วยเหลือธุรกิจเกิดใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นการดำเนินธุรกิจไปจนถึงการขยายตลาด

          (๕) ด้านการสร้างสังคมคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Society) คือ การส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเครือข่ายและข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

        ทั้งนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการการสื่อสารมวลชน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสารสนเทศ มีการพิจารณาศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เชื่อมโยงและบูรณาการกับการทำงานทั้ง 5 ด้านดังกล่าว โดยพิจารณาเห็นว่าจะต้องมีพิมพ์เขียว (Blue Print) ของประเทศเพื่อเชื่อมโยงต่อการทำงานทั้ง 5 ด้านที่กล่าวมา รวมถึงการพิจารณากฎหมายที่รองรับตามหลักวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาและติดตามการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีการทำงานที่สอดคล้องกับการดำเนินนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลอันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนอาทิ คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คณะทำงานบรอดแบรนด์แห่งชาติ คณะทำงานศูนย์ข้อมูลประเทศไทย คณะทำงานติดตามกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล คณะทำงานการเรียนรู้ตลอดชีวิต และคณะทำงานด้านการส่งเสริมการค้าผ่านสื่อดิจิทัล

          ฝ่ายสิงคโปร์เน้นย้ำว่ารัฐบาลสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นอย่างมาก โดยรัฐบาลมีการทำงานในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและได้รับความร่วมมืออย่างดีจากภาคเอกชนทั้งในส่วนของระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment: E-Payment) รวมถึงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government: E-Government) โดยได้ยกตัวอย่างว่า ภาคธุรกิจเอกชนมีการแจ้งรายรับและรายจ่ายอย่างโปร่งใสประกอบกับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีและวางแผนการใช้งบประมาณในการบริหารและพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในทุกกระทรวงของสิงคโปร์จะมีฝ่ายที่ดูแลการเชื่อมโยงเศรษฐกิจดิจิทัลให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและเท่าเทียมกัน เพราะสิงคโปร์เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับมหภาคและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของสิงคโปร์

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน

     ๑) การเข้าเยี่ยมคารวะและประชุมทวิภาคีกับบุคคลสำคัญระดับสูงของฝ่ายสิงคโปร์เป็นโอกาสดีที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความเข้าใจพัฒนาการของไทยที่เป็นอยู่ รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สิงคโปร์ทั้งในด้านการเมือง การเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในฐานะเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่จะสร้างประชาคมอาเซียนที่มั่นคงและยั่งยืน

    ๒) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายประเด็นทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินการด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การเตรียมการรับมือสังคมผู้สูงอายุ ความร่วมมือทางการทหาร การสื่อสารมวลชน และการท่องเที่ยว

     ๓) การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของทั้งสองฝ่ายจะเป็นการเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีให้แน่นแฟ้นและมั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

คำค้น สิงคโปร์, เศรษฐกิจดิจิทัล, สังคมผู้สูงอายุ, การท่องเที่ยว, การทหาร, สื่อสารมวลชน  

เสาหลัก การเมืองและความมั่นคง, เศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม

เอกสารแนบ 1. รายงานการศึกษาดูงานคณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย–สิงคโปร์



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,215,401
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ