• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
รายงานการศึกษาดูงาน
ประเทศสมาชิกอาเซียนของรัฐสภา
Loading...
ลำดับที่ 29
คณะกรรมาธิการ/บุคคลสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
หมวดหมู่ - ประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ - กัมพูชา
เสาหลักอาเซียน - เศรษฐกิจ
- สังคมและวัฒนธรรม
- การเมืองและความมั่นคง
วันเดือนปีที่ศึกษาดูงาน 6 พฤศจิกายน 2560 - 8 พฤศจิกายน 2560
สมัยของประธาน พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการ ตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประเด็นศึกษาดูงาน

ระบบรัฐสภากัมพูชา บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา กระบวนการตรากฎหมาย การรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดเสียมเรียบ 

สาระสังเขป

     การกฎหมายและการยุติธรรม วุฒิสภา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑. การพบปะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประธานวุฒิสภา 
     Mr. Ouk Boun Chhoeun ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมายและการยุติธรรม วุฒิสภา 
แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และคณะให้การต้อนรับ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ Samdech Vibol Sena Pheakdey Say Chhum ประธานวุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา กล่าวว่าไทยและกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านเป็นบ้านพี่เมืองน้องที่ผูกพันกันมาเป็นเวลานานจำเป็นที่จะต้องมีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทุก ๆ ด้าน ประเด็นสำคัญคือ ความปลอดภัยของประชาชนและการพัฒนาการค้าบริเวณแนวชายแดน โดยกัมพูชาขอให้ไทยส่งเสริมและให้การสนับสนุนในประเด็นดังต่อไปนี้
     ๑.๑ ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชาให้เป็นไปด้วยความราบรื่น
และแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 
     ๑.๒ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การค้าระหว่างไทยและกัมพูชามีมูลค่ามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าบริเวณแนวชายแดน ซึ่งส่วนใหญ่กัมพูชาจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ จากไทย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
     ๑.๓ อำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในไทย ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในไทยเป็นจำนวนมากและแรงงานดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ชาวกัมพูชา

๒. การประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมาธิการการกฎหมายและ

การยุติธรรม วุฒิสภา Mr. Ouk Boun Chhoeun ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมายและการยุติธรรม วุฒิสภา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และกรรมาธิการในคณะ ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและบรรยายสรุปในประเด็น ดังนี้ 
     ๒.๑ ระบบรัฐสภากัมพูชา รัฐสภากัมพูชาเป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
          ๒.๑.๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปีพ.ศ. 2560 มีจำนวน ๑๒๓ คน แต่ในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวน ๑๒๕ คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี ผู้ที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี และมาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
          ๒.๑.๒ สมาชิกวุฒิสภา มีจำนวน 6๒ คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี และผู้ที่จะเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่น้อยกว่า ๔๐ ปี และมีสัญชาติกัมพูชาโดยกำเนิด สมาชิกวุฒิสภามีที่มา ดังนี้
          - สมาชิก จำนวน ๕๘ คน มาจากการเลือกตั้ง แบ่งเขตเลือกตั้งตามภูมิภาค จำนวน ๘ ภูมิภาค ซึ่งในแต่ละภูมิภาคประกอบด้วย ๑-๖ จังหวัด ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นจะเป็นผู้มีสิทธิเลือกสมาชิกวุฒิสภา
          - สมาชิก จำนวน ๒ คน มาจากการแต่งตั้งโดยกษัตริย์
          - สมาชิก จำนวน ๒ คน มาจากสภาผู้แทนราษฎร
     วุฒิสภากัมพูชามีการประชุมสมัยสามัญ จำนวน ๒ ครั้ง ใน ๑ ปี ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งจะมีระยะเวลาประมาณ ๓ เดือน นอกจากนี้ ยังมีการประชุมสมัยวิสามัญในกรณีที่มีเรื่องอื่นเรื่องใดที่จำเป็นต้องจัดให้มีการประชุมด้วย
     วุฒิสภากัมพูชา ประกอบด้วย คณะกรรมาธิการทั้งสิ้นจำนวน ๑๐ คณะ และสมาชิกวุฒิสภามีเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในลักษณะเดียวกับสมาชิกวุฒิสภาของไทย

     ๒.๒ บทบาทอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
          ๒.๒.๑ การตรากฎหมาย
          การเสนอกฎหมายต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะพิจารณากฎหมายรายมาตรา เมื่อกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วจะส่งมายังวุฒิสภาเพื่อพิจารณาในภาพรวมของร่างกฎหมาย โดยวุฒิสภาอาจมีการแก้ไขร่างกฎหมายหรือให้ข้อสังเกตต่อร่างกฎหมาย จากนั้นจะส่งร่างกฎหมายกลับไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าเห็นด้วยกับร่างกฎหมายหรือข้อสังเกตของวุฒิสภาหรือไม่
          ๒.๒.๒ การติดตามและตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย
          สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิลงไปในพื้นที่เพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าเจ้าหน้าที่รัฐสามารถดำเนินการตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใดหรือกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นมีข้อบกพร่องอย่างไร เพื่อให้คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ นำมาพิจารณาศึกษาและมีข้อเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับปัจจุบันต่อไป
๒.๒.๓ การทำหน้าที่เป็นผู้แทนประชาชน
ในช่วงปิดสมัยประชุม สมาชิกวุฒิสภาในแต่ละภูมิภาคจะลงไปรับฟังปัญหาจากท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ แล้วรายงานผ่านคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภาเพื่อรายงานต่อประธานวุฒิสภา
          ๒.๒.๔ การทำหน้าที่ด้านการต่างประเทศ
          การทำงานในด้านนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากประธานวุฒิสภา และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จต้องรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบ
     ๒.๓ กระบวนการตรากฎหมาย
     ผู้มีสิทธิเสนอกฎหมาย ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีโดยมอบหมายให้กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัดทำร่างกฎหมายการเสนอกฎหมายต้องเสนอผ่านสภาผู้แทนราษฎร เมื่อกฎหมายได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วจะส่งมายังวุฒิสภาเพื่อพิจารณา หากเป็นร่างกฎหมายทั่วไปวุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน หากเป็นกรณีฉุกเฉินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๕ วัน สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณและการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐ วัน หากเป็นกรณีเร่งด่วนต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๒ วัน ซึ่งหากวุฒิสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด สภาผู้แทนราษฎรสามารถนำกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ทันที
 

๓. การรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดเสียมเรียบ 

     คณะกรรมาธิการฯ ได้เดินทางไปยังจังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมเรียบให้การต้อนรับ และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปกครองในจังหวัดเสียมเรียบ จำนวนประชากร สภาพเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนและการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดเสียมเรียบ การจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว เช่น การปรับปรุงถนน การพัฒนาในเรื่องระบบประปาและไฟฟ้า เป็นต้น ตลอดจนการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้การบริหารราชการของจังหวัดเป็นไปด้วยความสะดวกคล่องตัวยิ่งขึ้นนอกจากนั้น คณะกรรมาธิการฯ ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของจังหวัดเสียมเรียบซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันเก่าแก่และได้รับการยอมรับว่าเป็นมรดกโลก โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเสียมเรียบให้การต้อนรับ    
คำค้น           ประชุมทวิภาคี กระบวนการตรากฎหมาย ระบบรัฐสภา         
เสาหลัก       การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมและวัฒนธรรม 

 

เอกสารแนบ 1. รายงานการศึกษาดูงานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่าางวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2560



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,215,432
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ