• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
รายงานการศึกษาดูงาน
ประเทศสมาชิกอาเซียนของรัฐสภา
Loading...
ลำดับที่ 35
คณะกรรมาธิการ/บุคคลสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจระหว่างประเทศและประเด็นอื่นด้านเศรษฐกิจ ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ
หมวดหมู่ - ประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ - ไทย
- เมียนมา
เสาหลักอาเซียน - เศรษฐกิจ
วันเดือนปีที่ศึกษาดูงาน 3 กรกฎาคม 2558 - 5 กรกฎาคม 2558
สมัยของประธาน นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง ประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจระหว่างประเทศและประเด็นอื่นด้านเศรษฐกิจ ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ประเด็นศึกษาดูงาน

๑. การประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
๒. การศึกษาดูงานสถานที่ก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

สาระสังเขป

สาระสังเขป
    คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจระหว่างประเทศและประเด็นอื่นด้านเศรษฐกิจในคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้เดินทางไปหารือในประเด็นการเตรียมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนกาญจนบุรีและเมืองทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระหว่างวันศุกร์ที่ ๓ ถึงวันอาทิตย์ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยมีรายละเอียดการหารือในประเด็น ดังนี้

    ๑. การประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน
        ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการค้าชายแดนกาญจนบุรี - เมียนมา 
        จากข้อมูลการค้าชายแดนกาญจนบุรี - เมียนมา ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาปีละ ๑๑๒,๖๕๖ ล้านบาท และส่งออก ณ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านพุน้ำร้อน  น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันพืช สินค้าอุปโภค - บริโภค วัสดุก่อสร้าง ปีละ ๑,๖๕๘ ล้านบาท (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ. ๒๕๕๗) ส่งผลให้การค้าชายแดนกาญจนบุรี - เมียนมา ไทยขาดดุลเป็นจำนวนมาก
        ด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค ตัวอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรีมีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ๑๒๙ กิโลเมตร มีระยะทางห่างจากชายแดนอำเภอสังขละบุรี ๒๑๐ กิโลเมตร และมีระยะทางห่างจากด่านพุน้ำร้อน ๗๐ กิโลเมตร ด้านการเดินทางและขนส่ง มีเส้นทางรถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้แต่ยังไม่สะดวก และยังไม่มีสนามบินอย่างเป็นทางการ มีเพียงสนามบินของหน่วยงานราชการ คือ สนามบินกองร้อยบินกองพลทหารราบที่ ๙ ที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นสนามบินขนาดเล็กได้ในอนาคต และมีระบบขนส่งก๊าซธรรมชาติผ่านทางท่อซึ่งมีศักยภาพในการเพิ่มสถานีก๊าซตามจุดแนวท่อได้ในอนาคต
        ข้อมูลจากการเข้าเยี่ยมคารวะมุขมนตรีเมืองทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
        หลังจากรัฐบาลเมียนมาได้เปิดประเทศ ได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ หนึ่งในโครงการลงทุน คือ “โครงการทวาย” ซึ่งเป็นโครงการการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม สามารถแบ่งเขตอุตสาหกรรมออกเป็น ๖ เขต ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้า เขตโครงสร้างพื้นฐาน เขตนิคมอุตสาหกรรม เขตถนน และเขตทางรถไฟที่สามารถเชื่อมเส้นทางเข้ามายังไทย รวมถึงเส้นทางที่สามารถส่งน้ำมันและที่ตั้งท่อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนเมียนมาได้
        รัฐบาลไทยกับเมียนมาได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาโครงการทวาย โดยให้รัฐบาลไทยสามารถเข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลระหว่างรัฐต่อรัฐเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน
        ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ บริษัทเอกชนไทย คือ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ได้รับสัมปทานในการพัฒนาโครงการ ในนามบริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด เพื่อดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม จำนวน ๕๐ ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ จากเดิมได้รับสัมปทาน จำนวน ๒๐๔.๕ ตารางกิโลเมตร แต่ทางบริษัทได้ขอปรับลดขนาดการดำเนินสัมปทานลง เนื่องจากการก่อสร้างท่าเรือและถนนในโครงการต้องใช้งบประมาณที่สูงและอาจส่งผลให้ใช้เวลานานในการคืนทุน จากปัญหาดังกล่าว รัฐบาลเมียนมาจึงได้เสนอจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ และเปิดโอกาสให้ประเทศต่าง ๆ เข้ามาลงทุน อาทิ ญี่ปุ่น และจีน เพื่อแก้ไขปัญหา
        ข้อมูลจากการเข้าพบหารือกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry :UMFCCI)
        สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา หรือ UMFCCI ก่อตั้งขึ้นในปี     ค.ศ. ๑๙๑๙ ภายใต้ชื่อ Burmese Chamber of Commerce และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็นสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา หรือ UMFCCI ในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
        ๑) การมีส่วนร่วมในประเด็นนโยบายของรัฐ
        ๒) ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ
        ๓) ปกป้องคุ้มครองเศรษฐกิจของรัฐและประชาชน
        ๔) ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม
        ๕) มีบทบาทนำและให้ความร่วมมือกับองค์การภาคธุรกิจ
        ๖) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชน
        ๗) สนับสนุนการค้าของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs)
        ๘) นำภาคธุรกิจของเมียนมาไปสู่เศรษฐกิจโลก
        ๙) พัฒนาการค้า ผลผลิต และการบริการให้มีมาตรฐานสากล
        ๑๐) แสดงบทบาทอย่างเสรีในฐานะองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร
        ๑๑) ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการค้าโลก
        โดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือภาครัฐในการส่งเสริมการค้าของภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคการเกษตร การปศุสัตว์ และการค้าชายแดน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับเมียนมาได้อย่างมาก จากการที่ทวาย มีสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ทำให้มีศักยภาพในการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี ประกอบกับมีสภาพภูมิประเทศที่มีทั้งทะเลและแม่น้ำสายใหญ่ทำให้มีผลผลิตจากการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก เมียนมาจึงให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง ควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรมบริเวณพื้นที่ทวาย ในการนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะในที่ประชุมว่า ทวายมีฝนตกชุกตลอดทั้งปีและมีลักษณะภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกับภาคใต้ของไทย ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการทดลองปลูกยางพาราเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจของทวายในอนาคต

    ๒. การศึกษาดูงานสถานที่ก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
        โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายตั้งอยู่ในเขตเมืองทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมามีระยะทางห่างจากเขตชายแดนไทย จังหวัดกาญจนบุรีเพียง ๑๓๐ กิโลเมตร และห่างจากเมืองย่างกุ้ง ๖๐๐ กิโลเมตร โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่รัฐบาลเมียนมากับรัฐบาลไทยได้ร่วมกันริเริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ รัฐบาลเมียนมาได้ให้สัมปทานบริษัทเอกชนไทยเป็นเวลา ๗๕ ปี ในการดำเนินโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกและการสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
         รัฐบาลเมียนมากำหนดให้โครงการทวายจัดตั้งเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับเรือบรรทุกน้ำมันขนาด ๓ แสนบาร์เรล รองรับสินค้าได้ทั้งตู้คอนเทนเนอร์และสินค้าเทกอง มีพื้นที่เขตอุตสาหกรรมราว ๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ในโครงการประกอบด้วยท่าเรือ โรงไฟฟ้า โรงแรม ที่พัก นิคมอุตสาหกรรม และถนนที่สามารถเดินทางจากเมียนมาไปยังไทยบริเวณด่านจังหวัดกาญจนบุรี และสามารถเดินทางต่อมายังท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบัง อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อเส้นทางจากไทยไปสู่กัมพูชาและเวียดนามได้อีกด้วย ซึ่งตามแผนงานเดิมรัฐบาลเมียนมาได้กำหนดเปิดใช้โครงการดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ พร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวยังประสบปัญหาจากการที่เอกชนผู้ได้รับสัมปทานขาดเงินทุนหมุนเวียนทำให้โครงการก่อสร้างบางส่วนต้องหยุดชะงักลง ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมาได้ปรับแผนพัฒนาโครงการให้เป็นท่าเรือขนาดเล็กในระยะแรกก่อน เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดและปริมาณของธุรกิจในพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐบาลเมียนมายังได้ประกาศจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณรอบท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการลงทุนให้กับธุรกิจที่ต้องการไปจัดตั้งในเขตพื้นที่ เช่น การลดภาษีศุลกากรและภาษีรายได้บุคคล เป็นต้น 
 
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน
    ๑. การขนส่งทางน้ำของจังหวัดกาญจนบุรีสามารถเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและพื้นที่อื่นภายในประเทศ ยังมีปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพในการพัฒนาที่มีโอกาสสูงในการพัฒนา ดังนั้น การพัฒนาเส้นทางขนส่งทางน้ำจึงมีความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การปรับประตูระบายน้ำเขื่อนเพื่อให้เรือขนส่งสินค้าสามารถเดินทางได้สะดวก อีกทั้ง เรือขนส่งสินค้ายังสามารถขยายเส้นทางขนส่ง จากทวายไปยังจังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และออกไปสู่อ่าวไทยได้ นอกจากการพัฒนาเส้นทางเดินเรือแล้ว ควรมีการสร้างคลังสินค้าบริเวณท่าเรือเพื่อบูรณาการระบบขนส่งทางน้ำ ทางราง และทางถนนเพื่อสร้างความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
    ๒. ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามแนวท่อก๊าซ เพื่อลดต้นทุนการผลิตการขนส่ง และส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทางเลือก
    ๓. ทวายมีลักษณะภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ของไทย คือ มีฝนตกชุกตลอดทั้งปีจึงควรทดลองให้มีการปลูกยางพาราเพื่อส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจของทวายในอนาคต

คำค้น : เศรษฐกิจ ท่าเรือ โครงการทวาย กาญจนบุรี
เสาหลัก : เศรษฐกิจ

 

เอกสารแนบ 1. คณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจระหว่างประเทศและประเด็นอื่นด้านเศรษฐกิจ ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ณ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ระหว่างวันที่ ๓-๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,215,428
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ