• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
กระทู้ถามเกี่ยวกับ
ตราสารอาเซียนของรัฐสภา
Loading...

ปัญหาธุรกิจการท่องเที่ยว และธุรกิจบริการอื่น ๆ หลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

กระทู้ถามที่ 1056/2556 สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24/2554
วันที่เสนอ 18 กันยายน 2561
สมัยคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม นางชมพู จันทาทอง พรรคเพื่อไทย จังหวัดหนองคาย
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์)
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายสมศักดิ์ ภูรีศรีศักดิ์)
ประเภทกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
สถานภาพกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม

ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 


ตอนพิเศษ 117 ง หน้า 63 - 66 ลงวันที่ 13 กันยายน 2556
 

สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม

          เนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการอื่น ๆ มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างงาน แรงงาน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและขยายฐานการส่งออกได้มากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันธุรกิจบริการให้สามารถขยายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยใช้ธุรกิจนี้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
          1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายการเตรียมความพร้อมในธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการอื่น ๆ ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด
          2. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการอื่น ๆ ของชาวไทยอย่างไร ขอทราบรายละเอียด

สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม

          คำตอบข้อที่ 1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมการท่องเที่ยว มีการเตรียมความพร้อมในธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการอื่น ๆ ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ดังต่อไปนี้
          1. ศึกษาวิจัยการจัดทำแผนพัฒนาบริการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว พ.ศ. 2555 - 2560 โดยแผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 7 ด้านหลัก ดังนี้
              1.1 จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความรู้ (Tourism Knowledge Management Center) เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว ด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ www.tourismkm-asean.org เพื่อเป็นคลังข้อมูลให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวได้ทราบและติดตามความเคลื่อนไหวการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว  และจัดให้มีบริการตอบคำถามเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวให้กับผู้ประกอบการและประชาชนผู้สนใจ อีกทั้ง ศูนย์ดังกล่าวยังจัดตั้งเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปิดการค้าเสรีที่เป็นประโยชน์
              1.2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว SMEs
              1.3 การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
              1.4 การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกรมการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนการเปิดเสรีบริการท่องเที่ยว
              1.5 การพัฒนานวัตกรรมการวางแผนและการบริหารจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวแบบบูรณาการ
              1.6 การพัฒนามาตรฐานระดับอาเซียน ได้แก่ ASEAN Spa Standard ตามแผน ASEAN Tourism Strategic Plan ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนเรียบร้อยแล้ว
              1.7 พัฒนาและฝึกอบรมผู้ประกอบการและผู้ให้บริการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวใน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กระบี่ อุดรธานีและกรุงเทพหานคร จำนวน 600 คน ในหัวข้อ “กำหนดการสัมมนาเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในการเตรียมความพร้อมการเปิดรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖”
          2. พัฒนาธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
              2.1 พัฒนามัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานสากล 
              2.2 อบรมภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนให้มัคคุเทศก์ ภาษาที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาพม่า และภาษาเวียดนาม

    คำตอบข้อที่ 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยกรมการท่องเที่ยวได้มีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
          1. จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความรู้ (Tourism Knowledge Management Center) 
          2. พัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
          3. จัดฝึกอบรมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ หลักสูตร “การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกรมการท่องเที่ยว”
          4. กรมการท่องเที่ยวร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการและผู้ให้บริการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมและจังหวัดที่มีศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการฝึกอบรมจะเน้นตามความต้องการและความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย เน้นการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ความรู้การบริการบนพื้นฐานความเข้าใจวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน การตลาด การดำเนินธุรกิจข้ามชาติ การเจรจาต่อรอง การจัดการลูกค้า การให้บริการระดับสากล การจัดการความเปลี่ยนแปลง การปรับตัวทางธุรกิจ ความรู้ด้านการแข่งขันทางการค้าในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการในภูมิภาค และการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เป็นต้น
          5. แสวงหาความร่วมมือกับแหล่งเงินทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยจากกรมการท่องเที่ยว กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
          6. ศึกษากฎหมายธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ของประเทศในอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อเตรียมการปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 
          7. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการการประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้มีมาตรฐานสากล 
          8. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับระบบบัญชี การใช้งานคอมพิวเตอร์ให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

เอกสารเพิ่มเติม 1. สรุปสาระสำคัญ



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,287,322
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ