• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
กระทู้ถามเกี่ยวกับ
ตราสารอาเซียนของรัฐสภา
Loading...

ท่าทีจุดยืนและการดำเนินงานของไทยในเรื่องข้อสงวนการเปิดเสรีภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement - ACIA)

กระทู้ถามที่ 141/2552 วุฒิสภา
วันที่เสนอ 10 พฤศจิกายน 2552
สมัยคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร)
ประเภทกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
สถานภาพกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา

ในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญทั่วไป) 


วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554
 

สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม

          ตามที่อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement - ACIA) ประกอบด้วย การเปิดเสรีการลงทุน การให้ความคุ้มครองการลงทุน การส่งเสริมการลงทุนและการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน ซึ่งครอบคลุมในธุรกิจ 5 สาขาหลัก ได้แก่ การเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่และอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้เข้ามาลงทุนได้อย่างเสรี และอนุญาตให้ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดเงื่อนไขในการเข้าไปลงทุนโดยตั้งข้อสงวนในกิจการนั้นได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนในการเปิดเสรีการลงทุนสำหรับสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำไม้จากป่าปลูกและการปรับปรุงพันธุ์พืช 
          ต่อมา เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment - BOI) ให้ยกเลิกข้อสงวนทั้ง 3 สาขาดังกล่าว ดังนั้น จึงทำให้เกิดการคัดค้านจากหน่วยงานของภาครัฐ ภาคประชาชนและกลุ่มเกษตรกรอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีผลกระทบอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรมและต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
          1. ประเทศไทยมีจุดยืนในเรื่องข้อสงวนการเปิดเสรีการลงทุนใน 3 สาขาดังกล่าวอย่างไร
          2. ในการพิจารณากำหนดนโยบายของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและของรัฐบาลได้มีการศึกษาวิจัยผลดี - ผลเสียของการเปิดเสรี 3 สาขาดังกล่าวหรือไม่
          3. รัฐบาลจะมีการดำเนินงานในเรื่องการพิจารณาข้อสงวนในการเปิดเสรี 3 สาขา ภายใต้ความตกลง ACIA ให้เป็นไปตาม มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ อย่างไร

สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม

          คำตอบ ในข้อตกลงด้านเศรษฐกิจอาเซียน ได้มีข้อตกลงหลัก 3 ฉบับ ประกอบด้วย ความตกลงการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน โดยในด้านการลงทุนนั้น อาเซียนได้มีความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement - ACIA) ประกอบด้วย 4 หลักใหญ่ คือ การเปิดเสรีการลงทุน การให้ความคุ้มครองการลงทุน การส่งเสริมการลงทุน และการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน ครอบคลุมในธุรกิจ 5 สาขาหลัก ได้แก่ การเกษตร การประมง ป่าไม้ เหมืองแร่และอุตสาหกรรมการผลิต โดยจะให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนในกลุ่มอาเซียนและนักลงทุนที่ลงทุนในอาเซียน (Foreign - owned ASEAN - based investor)
          อย่างไรก็ดี คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 เพื่อพิจารณาทบทวนเรื่องการที่ประเทศไทยจะยังคงบัญชีข้อสงวนในการเปิดเสรีการลงทุน ใน 3 สาขา คือ 1) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) การทำไม้จากป่าปลูก และ 3) การปรับปรุงพันธุ์พืช อยู่ต่อไปหรือไม่ โดยพิจารณาจากความคิดเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน  ภาคประชาชนและกลุ่มเกษตรกรที่ได้สำรวจมาก่อนหน้านั้น ซึ่งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้มีมติให้ยกเลิกมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552 และมีมติให้คงบัญชีข้อสงวนทั้ง 3 สาขาดังกล่าวไว้ตามเดิม 
          สำหรับการพิจารณากำหนดนโยบายของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและของรัฐบาลได้มีการศึกษาวิจัยผลดี - ผลเสีย ของการเปิดเสรีข้อสงวนทั้ง 3 สาขาดังกล่าว ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ โดยมีสำนักงานส่งเสริมการลงทุนซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ได้ดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีและมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในการเปิดรับฟังความคิดเห็น ทำการศึกษาวิจัยในผลดี - ผลเสีย ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  ตลอดจนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และมีมติในการที่จะผ่อนปรนมาตรการในกิจการย่อยบางรายการภายใต้ 3 สาขาดังกล่าว ก็จะถือว่าเป็นการปฏิบัติตามพันธสัญญาภายใต้ความตกลงเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Agreement - AIA) เดิม และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement - ACIA) ใหม่ ซึ่งในความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนได้กำหนดไว้ว่า “ความผูกพันใดที่มีอยู่เดิมให้ผูกพันมายังความตกลงด้านการลงทุนอาเซียนด้วย เว้นแต่ประเทศภาคีสมาชิกเห็นเป็นอย่างอื่น” ซึ่งหมายความถึงข้อตกลงใดที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ตกลงให้ผูกพัน รวมถึงในด้านการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นด้วย เว้นแต่ภาคีสมาชิกจะเห็นเป็นอย่างอื่น และนอกจากจะเป็นการผ่อนปรนเพื่อให้มีการเปิดเสรีมากขึ้นแล้ว การที่ให้มีการลงทุนในกลุ่มสมาชิกอาเซียนนั้นยังจะเกิดประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ประเทศไทยยังไม่มีอีกด้วย 

เอกสารต้นเรื่อง 1. ?????????????



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,287,331
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ