• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
กระทู้ถามเกี่ยวกับ
ตราสารอาเซียนของรัฐสภา
Loading...

การเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียน

กระทู้ถามที่ 46/2553 วุฒิสภา
วันที่เสนอ 14 กันยายน 2553
สมัยคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพาณิชย์ (นายอลงกรณ์ พลบุตร)
ประเภทกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
สถานภาพกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา

ในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 17 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) 


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2553
 

สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม

          ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ได้รับความสนใจทั้งจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในด้านการค้า การลงทุน และการให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคม ในรูปแบบความร่วมมืออาเซียน+๓ หรืออาเซียน+6 เป็นต้น เป็นผลให้เกิดแรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค ด้วยเหตุนี้กลุ่มประเทศอาเซียนต้องสร้างสายสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันภายในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Connectivity) อย่างเหนียวแน่นในทุก ๆ มิติ เพื่อจะได้สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายทรัพยากร ปัจจัยการผลิต ผลผลิต การค้า การบริการ การลงทุนระหว่างกัน และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการต่อรองกับนานาประเทศให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด อีกทั้งประเทศไทยมีที่ตั้งที่เหมาะสมจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนดังกล่าวนี้ได้  ผู้ตั้งกระทู้ถามจึงขอทราบว่า
          1. รัฐบาลจะมีนโยบายหรือโครงการที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภูมิภาคอาเซียนหรือไม่ อย่างไร และมีการจัดทำแผนแม่บทเพื่อรองรับโครงการดังกล่าวอย่างไร
          2. หากมีโครงการที่จะสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคกลุ่มประเทศอาเซียนจะมีการจัดความสำคัญของแต่ละโครงการอย่างไร รวมทั้งในปัจจุบันมีการดำเนินการโครงการใดบ้าง และมีความคืบหน้าของแต่ละโครงการอย่างไร ตลอดจนจะมีวิธีการเร่งรัดการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ อย่างไร

สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม

          คำตอบข้อ 1 เมื่อรัฐบาลไทยได้เป็นประธานอาเซียน จึงริเริ่มจัดทำแผนแม่บทการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนในคราวการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เมื่อปี 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้รับความเห็นชอบจากผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น พร้อมทั้งได้จัดตั้งคณะกรรมการในการจัดทำแผนแม่บทเชื่อมโยงอาเซียน 3 ด้าน ประกอบด้วย
          1. ด้านกายภาพ เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ระบบสารสนเทศ และการพลังงาน เป็นต้น
          2. ด้านกฎระเบียบ เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการอำนวยความสะดวกสินค้าข้ามแดน เป็นต้น
          3. ด้านวัฒนธรรมระหว่างประชาชน เช่น การศึกษา ประวัติศาสตร์ ค่านิยม และการกีฬา เป็นต้น

          คำตอบข้อ 2 สำหรับแผนแม่บทในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับความเห็นชอบนั้น มีโครงการต่าง ๆ ภายใต้แผนนี้ จำนวน 15 โครงการ เช่น การเชื่อมโยงทางหลวงอาเซียนแล้วเสร็จในปี 2558  การเชื่อมเส้นทางรถไฟสิงคโปร์ – คุนหมิง  จะแล้วเสร็จในปี 2563 การเชื่อมท่าเรือน้ำลึกทวาย - แหลมฉบัง - โฮจิมินห์ เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทย ได้มีการจัดเตรียมความพร้อมตามแผนแม่บทที่จะเชื่อมโยงประเทศไทยไปยังประเทศอาเซียนอื่น เช่น การร่วมมือกับรัฐบาลจีน รัฐบาลลาว และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub region: GMS) โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความพร้อม และเร่งรัดในการดำเนินงานเพื่อสร้างความสะดวกในด้านต่าง ๆ การหาแนวทางป้องกัน หรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดในอนาคต เช่น ปัญหาอาชญากรรม สาธารณสุข และการกระจายพันธุ์พืช เป็นต้น




ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,287,334
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ