ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผู้นำธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนประเทศ” ให้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับกลาง รุ่นที่ 26
วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-6 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เรื่อง “ผู้นำธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนประเทศ” ให้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลของผู้บริหารระดับกลาง รุ่นที่ 26 จำนวน 89 คน โดยมี ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงานในการนี้ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ประธานคณะ กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมรับฟังโอกาสนี้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับ ผู้นำธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนประเทศ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า หากผู้เข้าอบรมนำเอาเนื้อหาสาระของการเป็นผู้นำธรรมาภิบาลไปขับเคลื่อนองค์กร จะขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง นั่นหมายถึงว่าประเทศจะได้รับการประโยชน์จากหน่วยงานของทุกคนและต้องมีความพยายามมุ่งมั่น เรียนรู้ เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมาย ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารระดับกลาง เป็นโซ่ข้อกลางของหน่วยงานที่เชื่อมต่อระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ นับเป็นระดับสำคัญขององค์กรในการขับเคลื่อนงานขององค์กรและประเทศชาติทั้งปัจจุบันและอนาคต หลักธรรมาภิบาลไม่ได้แตกต่างไปจากหลักวิถีประชาธิปไตย แต่เป็นเรื่องเดียวกันเป็นเพียงการหยิบยกบางส่วนในหลักประชาธิปไตยมาปรับใช้กับองค์กรและบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างความสุขในการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยผู้นำขององค์กรนั้น ๆ เป็นปัจจัยสำคัญสังคมใดเป็นสังคมประชาธิปไตย ย่อมถึงพร้อมที่จะนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ขับเคลื่อนองค์กรและประเทศชาติการเป็นภาวะผู้นำจะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ 1. ต้องเป็นผู้ศรัทธา เชื่อมั่น และมีพฤติกรรมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย เป็นบุคคลที่มีสติปัญญา แสวงหาความรู้ มีเหตุมีผล เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบ มีระเบียบวินัยในตนเอง ขยันอดทน รู้จักแบ่งปัน2. เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาจากสมาชิกในองค์กร เป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมวิถีประชาธิปไตยเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน จนเป็นที่เชื่อมั่น ศรัทธาบุคคลในองค์กรเกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักสำนึกรับผิดชอบ 6) หลักการคุ้มค่า การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารองค์กรทั้งภาคเอกชนและราชการ ถือเป็นการนำหลักการของกระบวนการประชาธิปไตยมาปรับใช้บริหารองค์กรและประเทศชาติต่อไป จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับมอบของที่ระลึกจาก รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า การอบอมหลักสูตรดังกล่าวจัดโดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และพัฒนาทักษะในการบริหารงานแก่ผู้เข้ารับอบรมต่อไป