บทความวิชาการ | ฉบับที่ 13/2567 | การบริหารจัดการอุทกภัยในประเทศไทย : บทเรียนจากอดีต ความท้าทายปัจจุบันและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับอนาคต

Share :
รู้หรือไม่? ประเทศไทยอาจสูญเสียถึง 44% ของ GDP จากน้ำท่วมหนักในอีก 30 ปีข้างหน้า!

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในการจัดการอุทกภัย ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อุทกภัยได้ส่งผลกระทบต่อประชากรไทยกว่า 38 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 224,000 หมู่บ้าน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกว่า 29,000 ล้านบาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์มหาอุทกภัยในปี 2554 ที่สร้างความเสียหายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มความเสี่ยงต่ออุทกภัยอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารโลก (2566) คาดการณ์ว่าภายในกลางศตวรรษนี้ อุทกภัยอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 44 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจและชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงระบบการจัดการอุทกภัยของประเทศ ที่น่าวิตกกังวลยิ่งกว่าคือ ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูงเป็นอันดับที่ 9 จาก 191 ประเทศทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของประเทศต่อภัยพิบัติทางน้ำและความจำเป็นในการเตรียมพร้อมรับมืออย่างเร่งด่วน

แม้ว่าภาครัฐจะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาผ่านการออกกฎหมายและจัดสรรงบประมาณ แต่การดำเนินการยังคงมีข้อจำกัดหลายประการ การวิเคราะห์โครงสร้างงบประมาณด้านการป้องกันอุทกภัยพบว่า มีการเน้นมาตรการเชิงโครงสร้างมากเกินไป โดยงบประมาณส่วนใหญ่ถูกจัดสรรไปยังการพัฒนาระบบระบายน้ำและการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ในขณะที่มาตรการที่ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง เช่น การพัฒนาระบบเตือนภัย การสร้างความตระหนักของชุมชน และการวางแผนการใช้ที่ดิน

จำนวนดาวน์โหลด: 151 ครั้ง