โดยที่มาตรา ๕๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษามีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ การจัดการศึกษาของประเทศจำเป็นต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ การเปลี่ยนแปลง
ของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นที่จะรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเพิ่มการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนสร้างเสริมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา และสร้างเสริมธรรมาภิบาลของระบบการศึกษา ประกอบกับ มาตรา ๒๕๘ จ. ด้านการศึกษา และมาตรา ๒๖๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านการศึกษาโดยเฉพาะให้มีกลไกและระบบการผลิต คัดกรองและพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงให้ได้ผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสิทธิภาพในการสอน จึงสมควรมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต
ตารางเปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง (ดาวโหลดเอกสารประกอบ)
1. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง
1) กระทรวงศึกษาธิการ
2) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
4) กรุงเทพมหานคร
5) เมืองพัทยา
2. ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
1) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3) กระทรวงมหาดไทย
4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
6) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
7) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
8) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
10) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
11) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
12) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
13) กรมส่งเสริมการเรียนรู้
14) กรมกิจการเด็กและเยาวชน
15) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
16) สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
17) สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
18) สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
19) สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
20) สภาผู้ปกครองและครูแห่งประเทศไทย
21) สมาพันธ์สมาคมครูแห่งประเทศไทย
22) สมาคมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย
23) สมาคมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทย
24) สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
25) สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
26) สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
27) สมาคมผู้บริหารหญิงโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
28) สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย
29) สหภาพครูแห่งชาติ
30) สมาคมศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย
31) สภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป
ประชาชน
1.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดให้บุพการีหรือผู้ปกครองมีสิทธิจัดการศึกษาให้แก่ผู้สืบสันดานหรือผู้ซึ่งอยู่ในความปกครองของตนโดยลำพังหรือร่วมกันจัด โดยแจ้งให้กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดทราบ หรือไม่ อย่างไร
2.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดระบบการศึกษาเป็น 2 ระบบ ได้แก่ (1) การศึกษาในระบบ (2) การศึกษาตามอัธยาศัย หรือไม่ อย่างไร
3.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดเกี่ยวกับหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การประเมินผล และสถาบันพัฒนาหลักสูตร ตามหมวด 4 และหมวด 11 ของร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ อย่างไร
4.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการประกันคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาของประเทศเป็นครั้งคราวโดยหน่วยงานภายนอก ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติกำหนด
5.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและการบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการผลิต การคัดกรองครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา องค์กรวิชาชีพครู (คุรุสภา) และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในหมวด 7 ของร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ อย่างไร
6.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดเกี่ยวกับทรัพยากร กองทุน และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 8 ของร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ อย่างไร
7.ท่านเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ วิธีการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เกี่ยวกับแผนการศึกษาแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ในหมวด 9 ของร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ อย่างไร
8.ท่านเห็นด้วยกับการกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ในหมวด 10 ของร่างพระราชบัญญัตินี้ หรือไม่ อย่างไร
9.ท่านเห็นว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีปัญหาในทางปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร และการเสนอร่างพระราชบัญญัตินี้จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด
10.ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี)