สส.พรรคประชาชน แถลงข่าว ประเด็น กยศ. หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ผ่านนายจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้กู้ยืม

Image
Image
Image
วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม  2568 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ พร้อมด้วย นายสหัสวัต คุ้มคง และนายปารมี ไวจงเจริญ สส.พรรคประชาชน ร่วมกันแถลงข่าวประเด็นกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาท ผ่านทางนายจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้กู้ยืม
 
นายสุรพันธ์ ไวยากรณ์ กล่าวว่า เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2568 ทาง กยศ. ได้ส่งหนังสือขอเงินเพิ่มจากผู้กู้ยืมผ่านนายจ้าง และได้นำหนังสือดังกล่าวเข้าสู่คณะ กมธ.แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 เมษายน ที่ผ่านมา อย่างเร่งด่วน ซึ่งมติที่ประชุมได้มีหนังสือสอบถามไปยัง กยศ. และทาง กยศ. ชี้แจงตอบกลับมาเมื่อที่ 22 เมษายน 2568 โดยอาศัยอำนาจของ พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 และประกาศสำหรับการให้กู้ยืมปีการศึกษา 2567 แต่เนื่องจากหนังสือชี้แจงยังไม่มีความชัดเจนและบางประเด็นมีข้อสงสัย และขอตั้งคำถาม 4 ประเด็น ดังนี้
1. หนังสือที่ กยศ. ส่งให้นายจ้างหักเงินเพิ่ม 3000 บาท นอกเหนือจากยอดหักเดิม จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงให้กับผู้กู้ โดยเฉพาะช่วงเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และ กยศ. ยังไม่มีแนวทางผ่อนปรนที่ชัดเจน ในประเด็นการปรับโครงสร้างหนี้ก็ยังไม่มีแนวทางชัดเจนในการลงทะเบียน เช่น การลงทะเบียนออนไลน์ หรือการลงทะเบียนที่ กยศ. กรุงเทพฯ
2. ภายหลังจากที่ กยศ. ส่งหนังสือ ทำให้ลูกหนี้ขอเข้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้ถึง 174,000 ราย ในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ซึ่งทำให้ยอดสะสมรวมทั้งหมดประมาณ 430,000 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ดังนั้น จึงตั้งข้อสังเกตว่า การส่งจดหมายดังกล่าวจะเป็นการบีบบังคับให้ลูกหนี้เข้าปรับโครงสร้างหนี้หรือไม่ เพราะตัวเลขมีนัยสำคัญ
3. การบริหารจัดการเกี่ยวกับการลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ทาง กยศ. มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ส่วนต่างจังหวัดยังไม่มีสาขา แต่ขณะนี้ กยศ. มีการปรับแก้โดยการให้ลงทะเบียนผ่านช่องทาง Mobile Application กยศ. Connect แต่ระบบยังไม่เสถียร ซึ่ง กยศ. ได้ตั้งเป้าหมายคือ เดือนกุมภาพันธ์ 2569 แต่ในหนังสือชี้แจงมีการย้อนแย้งกันคือ กยศ.ให้ลูกหนี้ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ทั้งหมด ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2568 ดังนั้น ประเด็นดังกล่าวจะมีความรับผิดชอบอย่างไร
4. ปัจจุบันข้อมูลที่ กยศ. ระบุว่าลูกหนี้ประมาณ 3.5 ล้านราย ยังอยู่ในระหว่างชำระหนี้ แต่ตัวเลขที่แจ้งเข้าระบบปรับโครงสร้างหนี้ประมาณ 400,000 กว่าราย หรือร้อยละ 13  ส่วนอีกประมาณร้อยละ 87 ยังไม่ได้ชี้แจงว่าลูกหนี้กลุ่มนี้อยู่ในสถานะใด ยังชำระหนี้ปกติหรือไม่ หรือเป็นหนี้สูญหายไปไม่สามารถจะติดต่อได้
 
ด้านนายสหัสวัต คุ้มคง กล่าวว่า การคืนหนี้ของ กยศ. ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน ไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า ทำให้พี่น้องแรงงานจำนวนมากไม่สามารถวางแผนทางการเงินได้ การถูกหักเงินเพิ่ม 3000 บาทในช่วงสิ้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา จะทำให้เป็นภาระเนื่องจากอยู่ในช่วงที่จะต้องเตรียมตัววางแผนสำหรับบุตรที่จะเปิดเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม หลายคนต้องไปกู้หนี้นอกระบบ โดยขณะนี้หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยกำลังสูงมาก การที่ กยศ. ออกมาตรการมาอาจจะไม่ได้คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเป็นลูกโซ่ตามมา
 
ขณะที่ นายปารมี ไวจงเจริญ กล่าวว่า ประเด็นลูกหนี้บางส่วนที่ไม่เคยส่งมาก่อน หรือไม่มีวินัยทางการเงิน และอีกประเด็นหนึ่งคือการบริหารจัดการภายในของ กยศ. จนเกิดปัญหาการเรียกเก็บเงินเพิ่ม 3000 บาท ในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งตนได้ประสานกับ กยศ .ตั้งแต่ต้น แต่เนื่องจาก กยศ. มีกฎหมายและประกาศของ กยศ. ทำให้การดำเนินการเรียกเก็บเงินเพิ่ม 3000 บาท เป็นไปตามกฎหมายของ กยศ. และในปี 2566 รัฐสภาได้ออกออกกฎหมายแก้ไขฉบับเดิม คือ พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 มีการแก้ไขสาระสำคัญ คือ การปรับลดเบี้ยปรับ จากเดิมเบี้ยปรับค่อนข้างสูงมาก คือ อัตราเดิมร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.5 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวข้างต้น  อย่างไรก็ตาม การศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวไทยทุกคนที่รัฐต้องจัดให้ แต่เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอที่รัฐจะจัดให้เรียนฟรีอย่างแท้จริง




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia