รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง รับหนังสือร้องเรียนขอให้ตรวจสอบพฤติกรรมและบทบาทของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และพรรครวมไทยสร้างชาติ รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค ในฐานะผู้ส่วนเกี่ยวข้องและหรือสนับสนุนกลุ่ม "ด้อมพีระพันธุ์" หรือ "ด้อมพัง"

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง รับยื่นหนังสือจาก นายอรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง และคณะผู้ได้รับความเดือดร้อน เรื่อง ขอให้ตรวจสอบพฤติกรรมและบทบาทของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และพรรครวมไทยสร้างชาติ รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค ในฐานะผู้ส่วนเกี่ยวข้องและ/หรือสนับสนุนกลุ่ม "ด้อมพีระพันธุ์" หรือ "ด้อมพัง" เพื่อขอให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาและตรวจสอบพฤติกรรมที่อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างร้ายแรง ของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมถึงพรรครวมไทยสร้างชาติ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรค รายละเอียด ดังนี้ 
1. นายพีระพันธุ์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการส่งเสริมกลุ่ม "ด้อมพีระพันธุ์" หรือ “ด้อมพัง" โดยมีการจัดกิจกรรม 3 ครั้ง  ครั้งที่ 1 ณ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 18 ส.ค. 67 ครั้งที่ 2 ณ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 12  ก.ย. 67  และจัดกิจกรรม "ด้อมพัง ทีมพังเพื่อผลประโยชน์ชาติ“  ครั้งที่ 1 ณ CP Tower 3 อาคาร A ชั้น 3 โรงเรียน GDD Coding วันที่ 20 เม.ย. 68 ซึ่งทั้ง 3 กิจกรรมมีนายพีระพันธุ์  เข้าร่วม  นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ ยังสวมเสื้อ "พัง" และโพสต์ภาพลงใน Facebook ส่วนตัว และ Facebook พรรค ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ตอบโต้กรณีที่สื่อมวลชนตั้งฉายา "พีระพัง" ทั้งนี้ นายพีระพันธุ์ และพรรคอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตหรือสนับสนุนให้ด้อมผลิต "เสื้อพัง" และหมวกที่มีโลโก้พรรค เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรครวมไทยสร้างชาติและกลุ่มด้อม ซึ่งมีกิจกรรมแพ็คเสื้อและปฏิทินของพรรค ณ  บ้านพิบูลย์ธรรม โดยไม่ปรากฏการปฏิเสธหรือห้ามปรามจากนายพีระพันธุ์  อีกทั้งด้อมยังมีการการแต่งกายโดยสวมใส่เสื้อพังและสวมหมวกโลโก้พรรค ไลฟ์สดและโพสต์คลิปบน TikTok โดยมีลักษณะก้าวร้าว ด่าทอ บิดเบือน บูลลี่ และคุกคามผู้ที่เห็นต่างทางการเมือง
2. การจัดงาน "ด้อมพัง ทีมพังเพื่อผลประโยชน์ชาติ ครั้งที่ 1" เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 68 นายพีระพันธุ์ กล่าวกับด้อม มีความปรากฏตอนหนึ่งว่า "พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า ใครเขาอยากจะอยู่ในโคลนตมก็ปล่อยเขา...ก็เหมือนกันถ้าเรารู้แล้วว่าระดับสมองเขาอยู่ในโคลนตมก็ปล่อยเขาสิครับจะไปยุ่งกับเขาทำไมในเมื่อเราอยู่พื้นน้ำแล้วอ่ะเราจะมุดน้ำไปลากกระชากเขาขึ้นมาทำไมในเมื่อเขามีความสุขกับการอยู่ในโคลนตมของเขาอ่ะมันไม่ใช่หน้าที่อะไรของเราเลยถูกไหม...." ซึ่งข้อความดังกล่าวเข้าข่ายเปรียบเปรยผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับตนว่าเป็นผู้ที่อยู่ในโคลนตม ซึ่งอาจเข้าข่ายการแบ่งแยกประชาชน ดูหมิ่น และด้อยค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งขัดต่อประมวลจริยธรรม มาตรา 9 และ 10 เข้าข่ายแบ่งแยกประชาชน 
3. พฤติกรรมของกลุ่มด้อมพีระพันธุ์ หรือด้อมพัง  เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ตัวอย่าง คือ นายอรรทิตย์ฌาณ ดูหาเรืองรอง ใช้ชื่อ TikTok อาร์ตถึงแก่น ถูกละเมิดสิทธิด้วยการบูลลี่ ด่าทอ บิดเบือนและกล่าวหาด้วยถ้อยคำหยาบคาย รวมถึงการถูกคุกคามบนโลกออนไลน์  

นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้ TikTok ชื่อ พักกายพักใจ ถูกคุกคามทางวาจาระหว่างไลฟ์สดในที่สาธารณะ ผู้ใช้ TikTok Breaking Soft New และ ทุบข่าวนุ่ม ถูกล้อเลียนลูกชายซึ่งเป็นเด็กพิเศษ กล่าวอ้างเหยียดเชื้อสายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของครอบครัว ผู้ใช้ TikTok ทั่วไปที่วิจารณ์การเมืองมีความเห็นต่างถูกกลุ่ม ด้อมใช้ถ้อยคำหยาบคายบูลลี่และคุกคามทางโชเชียลมีเดีย กลุ่มด้อมมีการผลิตคลิป TikTok และวิดีโอโปรโมตว่า DNA ของนายพีระพันธุ์ คือ DNA เดียวกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งอาจเป็นการใช้ภาพลักษณ์ของบุคลอื่นเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองโดยมิชอบ เป็นการสร้างวาทกรรมเชื่อมโยงกับบุคคลสำคัญเพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางการเมือง พฤติกรรมและบทบาทของนายพีระพันธุ์ อาจเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 164 รวมถึงประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 9 และ 10 ที่ห้ามไม่ให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ใช้วาจาดูหมิ่น ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงขอความอนุเคราะห์ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง โปรดพิจารณาข้อมูลทั้งหมดตามที่ระบุ และดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมและบทบาทของนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ว่ามีส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนด้อมพีระพันธุ์ ด้อมพัง และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด 

รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎร เป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของพี่น้องประชาชนจากทุกภาคส่วน วันนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจากโลกออนไลน์ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า บนสังคมออนไลน์มีการบูลลี่ในทุกภาคส่วนในทุกกลุ่มสีเสื้อ สภาผู้แทนราษฎรจำเป็นที่จะต้องศึกษาและหาแนวทางอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ บนสังคมประชาธิปไตยความเห็นต่างทางการเมืองเป็นเรื่องปกติ แต่การแสดงความคิดเห็นต่อคนที่มีความคิดเห็นต่างต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น สำหรับเรื่องร้องทุกข์ในวันนี้จะส่งให้ทางคณะกรรมาธิการที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปดำเนินการพิจารณาศึกษาหาข้อเท็จจริงต่อไป




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia