คณะ กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ พร้อมด้วย สส.พรรคประชาชน แถลงข่าวกรณี สนพ. และ กกพ. ไม่เข้าชี้แจงตามคำเชิญของคณะ กมธ.

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.10 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธานคณะ กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ พร้อมด้วย นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.พรรคประชาชน และคณะ แถลงข่าวกรณีที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไม่เข้าชี้แจงตามคำเชิญของคณะ กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากคณะ กมธ. ได้เชิญ สนพ. และ กกพ. มาชี้แจงประเด็นที่สังคมกำลังตั้งข้อสงสัยและข้อพิรุธในการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ (MW) ในวันนี้ (7 พ.ย. 67) เวลา 14.30 น. แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าทั้ง 2 หน่วยงานได้ส่งหนังสือแจ้งต่อคณะ กมธ.ว่า ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมตามคำเชิญของคณะ กมธ.ได้ และไม่ส่งผู้แทนหรือข้อมูลใด ๆ มาประกอบการพิจารณา
ทั้งนี้ คณะ กมธ.ได้รับมอบหมายจากสภาฯ มีอำนาจและหน้าที่การสอบหาข้อเท็จจริง ตลอดจนศึกษาเรื่องใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ ไม่ว่าจะภาคเอกชน ประชาชนรวมถึงนโยบายและแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และขอชี้แจงต่อพี่น้องประชาชนว่าประเด็น การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 MW มีความสัมพันธ์โดยตรงต่อต้นทุนของผู้ประกอบการและค่าไฟฟ้าของประชาชนในอนาคต ตลอดจนกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงขอให้พี่น้องประชาชนติดตามในประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้งความพยายามหลีกเลี่ยงการมาชี้แจงตามคำเชิญของคณะ กมธ.
จึงขอประสานสื่อมวลชนไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนและให้ความเป็นธรรมตามหน่วยงานข้างต้น รวมทั้งการสื่อสารและสร้างความเข้าใจระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล โดยคณะ กมธ. จะส่งหนังสือเชิญหน่วยงานทั้งสองมาร่วมประชุมในวันที่ 21 พ.ย. 67 อีกครั้ง และขอให้ท่านทั้งหลายให้เกียรติสภาผู้แทนราษฎร โดยคำนึงถึงประโยชน์ของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก
นายวรภพ วิริยะโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สืบเนื่องจากการประกาศการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 3,600 MW ทั้งประเทศมีข้อพิรุธ 4 ประการ คือ
1. การรับซื้อดังกล่าวไม่มีการประมูล แข่งขัน ส่งผลให้ค่าไฟเป็นผลดีต่อนายทุน แต่เป็นราคาแพงสำหรับประชาชน ตลอดอายุสัญญา 25 ปี
2. การคำนวณคะแนนว่าใครจะเป็นผู้รับคัดเลือก ไม่มีการประกาศหลักเกณฑ์ล่วงหน้าทำให้เกิดการเปิดช่องในการคัดเลือกเอกชนมาขายไฟฟ้าให้กับรัฐ ทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยว่าสามารถหลอกผู้ชนะได้หรือไม่
3. มีการล็อคโควตาให้บริษัทเอกชนที่ยื่นโครงการในปี 2565 ได้สิทธิ์ในการยื่นพิจารณาก่อน
4. เปิดเสรีพลังงานหมุนเวียน โดยอ้างพลังงานสะอาดแต่ไม่ตรงกับความต้องการของเอกชน ทำให้รัฐซื้อไฟฟ้าเกินความจำเป็น
โดยในประเด็นดังกล่าวได้มีการสอบถามในกระทู้ถามสด เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 67 ในประเด็นที่มีการอภิปรายในรัฐสภาว่าถ้าการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะทำให้ค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายหนี้ต้นทุนแพงกว่าที่ควรจะเป็นมากขึ้น 4,162 ล้านบาทต่อปี ตลอดอายุสัญญา 25 ปี โดย รมว.พลังงาน ได้ตอบชี้แจงในสภาว่าได้มีการสั่งให้มีการทบทวนแล้ว ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทนดังกล่าวจะต้องมีการเปิดประมูลและต้องมีการแก้ไขภายใน 1 เดือน จึงเป็นที่มาและเป็นเรื่องใหญ่ที่ได้ส่งข้อร้องเรียนให้กับคณะ กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลและคำชี้แจง แต่กลับไม่มีการให้ข้อมูลตัวแทนมาชี้แจงแต่อย่างใด




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia