โครงสร้างของสภาผู้แทนราษฎร

 

      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเหมือนกับการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แต่ก็มีความแตกต่างในจำนวนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน 

      ส่วนจำนวนและที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีจำนวน 125 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรง กล่าวคือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น โดยใช้บัตรเลือกตั้งหนึ่งใบแยกต่างหากจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวนห้าร้อยคน ดังนี้

  1. (๑) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวนสี่ร้อยคน
    (๒) สมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวนหนึ่งร้อยคน

          ในกรณีที่ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใด และยังไม่มีการเลือกตั้งหรือประกาศชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่าที่มีอยู่
          ในกรณีมีเหตุใด ๆ ที่ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนไม่ถึงหนึ่งร้อยคน ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่มีอยู่
          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์
          สภาผู้แทนราษฎรมีประธานสภาคนหนึ่งและรองประธานสภาคนหนึ่งหรือสองคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ ตามมติของสภา
          ในระหว่างการดำรงตำแหน่ง ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นกรรมการบริหารหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองขณะเดียวกันมิได้
          ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งจนสิ้นอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
          ประธานสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่และอำนาจดำเนินกิจการของสภานั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ รองประธานสภามีหน้าที่และอำนาจตามที่ประธานสภามอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาเมื่อประธานสภาไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
          ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
          เมื่อประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่ในที่ประชุมให้สมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เลือกกันเองให้สมาชิกคนหนึ่งเป็นประธานในคราวประชุมนั้น
          สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ วิธีการประชุม การเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติ การปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การบันทึกการลงมติ การเปิดเผยการลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
          ในข้อบังคับตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือคนพิการหรือทุพพลภาพ ต้องกำหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวหรือผู้แทนองค์กรเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นโดยตรง ร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการวิสามัญทั้งหมด และในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ต้องกำหนดให้ผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมาธิการวิสามัญทั้งหมด
          สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ หรือคณะกรรมาธิการร่วมกันตามมาตรา ๑๓๗ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใด ๆ และรายงานให้สภาทราบตามระยะเวลาที่สภากำหนด
           การกระทำกิจการ การสอบหาข้อเท็จจริง หรือการศึกษาตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของสภา และหน้าที่และอำนาจตามที่ระบุไว้ในการตั้งคณะกรรมาธิการก็ดี ในการดำเนินการของคณะกรรมาธิการก็ดี ต้องไม่เป็นเรื่องซ้ำซ้อนกัน ในกรณีที่การกระทำกิจการ การสอบหาข้อเท็จจริง หรือการศึกษาในเรื่องใดมีความเกี่ยวข้องกัน ให้เป็นหน้าที่ของประธานสภาที่จะต้องดำเนินการให้คณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องทุกชุดร่วมกันดำเนินการ
          ในการสอบหาข้อเท็จจริง คณะกรรมาธิการจะมอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลหรือคณะบุคคลใดกระทำการแทนมิได้
          คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาอยู่นั้นได้ แต่การเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับแก่ผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจโดยตรงในแต่ละองค์กรตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
          ให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีที่รับผิดชอบในกิจการที่คณะกรรมาธิการสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาที่จะต้องสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดหรือในกำกับ ให้ข้อเท็จจริง ส่งเอกสาร หรือแสดงความเห็นตามที่คณะกรรมาธิการเรียก
          ให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเปิดเผยบันทึกการประชุม รายงานการดำเนินการ รายงานการสอบหาข้อเท็จจริง หรือรายงานการศึกษา แล้วแต่กรณี ของคณะกรรมาธิการให้ประชาชนทราบเว้นแต่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี มีมติมิให้เปิดเผย
          เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๒๔ ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่และผู้ปฏิบัติตามคำเรียกตามมาตรานี้ด้วย
          กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
          ในระหว่างที่ยังไม่มีข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๒๘ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนตามวรรคแปด

 



รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบีบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia