รองประธานคณะ กมธ.การแรงงาน คนที่หนึ่ง และคณะ รับยื่นหนังสือจาก นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว

Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ. จุดรับยื่นหนังสือ  ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน มอบหมายให้ นายธีระชัย แสนแก้ว รองประธานคณะ กมธ. คนที่หนึ่ง และคณะ รับยื่นหนังสือจาก นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว และคณะ จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
 
1. เรื่อง ข้อกังวลใจและข้อเสนอต่อแนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวปี 2567 ตามมติคณะรัฐมนตรีจากการที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 67 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2567 โดยเปิดให้มีการจัดการแรงงานต่างด้าวที่ไม่ถูกกฎหมายให้ได้รับการอนุญาตให้อยู่และทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว นอกจากนั้น ยังมีการต่ออายุทำงานของคนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 ในลักษณะ MOU โดยมีเป้าหมายให้เป็นการกำหนดมาตรการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้เพียงพอต่อความต้องการจ้างแรงงานของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นผลดีต่อการแก้ไขปัญหาการจ้างงานแรงงานต่างด้าวทั้งของนายจ้างและแรงงานต่างด้าว อย่างไรก็ตาม กลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว ยังมีข้อกังวลในต่อแนวทางในการจัดการ โดยเฉพาะในกลุ่มที่จะต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน สำหรับที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 13 ก.พ. 68 ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนมากที่สุด คือ 2,408,966 คน และเป็นแรงงานจากพม่ามากถึง 2,018,753 คน ซึ่งในการบริหารจัดการตามมติคณะรัฐมนตรีได้ระบุในลักษณะ MOU และกำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรหรือไปยังสถานที่อื่นที่กรมการจัดหางานกำหนด เพื่อดำเนินการตามแนวทางการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานตาม MOU ประเทศต้นทางตรวจสอบบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว จัดเก็บข้อมูลและดำเนินการตามแนวทางของตน ในรูปเดียวกับ MOU ทำให้เกิดข้อกังวลใจในการดำเนินการกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว มีความกังวลต่อแนวปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี จึงมีข้อเสนอการดำเนินการ ดังนี้
1) ขอให้มีการทบทวนการต่อใบอนุญาตทำงานกลุ่มที่ใบอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 13 ก.พ. 68 ในรูปแบบ MOU โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานต่างด้าวจากพม่า ทั้งในเรื่องการต้องได้รับการอนุมัติจากประเทศต้นทาง การเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อดำเนินการตามแนวทางของประเทศต้นทาง โดยควรพิจารณามาตรการการทำ MOU แบบพิเศษที่ให้ประเทศไทยดำเนินการเพียงฝ่ายเดียวไปก่อน ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ รวมทั้งพิจารณาในกรณีที่แรงงานต่างด้าวจากพม่าไม่สามารถดำเนินการขอหนังสือเดินทางหรือต่อหนังสือเดินทางได้เนื่องจากข้อจำกัดของประเทศต้นทาง โดยปรับไปใช้มาตรการการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลและทำทะเบียนประวัติและบัตรชมพูกับทางกระทรวงมหาดไทยแทน
2) ขอให้มีการทบทวนเรื่องการคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศมาใช้ทั้งหมด โดยเฉพาะในเรื่องเงินประกันการส่งกลับ เงื่อนไขในการส่งกลับ ทั้งนี้ เพื่อลดภาระของนายจ้างและแรงงานข้ามชาติ
 
2. ปัญหาและข้อกังวลใจในเรื่องการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ของแรงงานต่างด้าวจากการที่รัฐบาลได้มีมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของแรงงาน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 เพื่อดำเนินการผ่อนผันให้คนต่างด้าว 4 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นกรณีพิเศษ จนถึงวันที่ 13 ก.พ. 68 โดยในเงื่อนไขหนึ่งของการผ่อนผันการอนุญาตให้ต่างด้าวทำงานกับนายจ้างได้ นอกจากจะต้องขออนุญาตทำงาน จัดทำเอกสารหนังสือเดินทาง และตรวจลงตราวีซ่าแล้ว จะต้องดำเนินการจัดทำทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) โดยให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. 67
 
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่จะขึ้นทะเบียนมีจำนวนทั้งสิ้น 813,869 คนทั่วประเทศ ที่ใช้ต้องดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติ ดังนั้น กลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าวจึงขอให้ทางคณะกมธ.แรงงาน พิจารณาดำเนินการตรวจสอบการดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) แรงงานต่างด้าวที่ล่าช้าของแต่ละจังหวัด รวมทั้งตรวจสอบการเปิดโอกาสให้มีการเรียกรับค่าดำเนินการที่กฎหมายกำหนดไว้ และจัดทำข้อเสนอแนะในเรื่องการดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวคนที่ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงาน รวมทั้งพิจารณาขยายระยะเวลาในการทำบัตรชมพูออกไป ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวหลุดระบบและกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายปัญหาของนายจ้างต่อไป
 
นายธีระชัย แสนแก้ว  กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง
ประธานคณะกมธ. การแรงงาน ให้มารับหนังสือแทนว่า การทำงานของกระทรวงแรงงานจะต้อพิจารณา
ข้อเท็จจริง และนำเข้าสู่ในที่ประชุม ส่วนประเด็นเรื่องแรงงาน จำนวน 2 ล้านคน ที่จะต้องกลับไปเมียนมาแล้ว กลับมาอีกซึ่งเป็นความเดือดร้อนของผู้ประกอบการที่นั้น คณะกมธ.นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการเพื่อนำเสนอต่อคณะกมธ.แรงงาน เพื่อที่จะบรรเทาทุกข์ให้กับผู้มาร้องทุกข์ในวันนี้  ทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรมคณะกมธ.จะรับเรื่องไปดำเนินการต่อไป
 
ด้าน  นายเซีย จำปาทอง รองประธานคณะ กมธ. คนที่สาม กล่าวว่า ตนได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาของพี่น้องแรงงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังได้รับการประสานงานจากกลุ่มผู้ประกอบการสีขาว ซึ่งเป็นผู้จ้างพี่น้องแรงงานข้ามชาติทำงานได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตนยังได้ประสานงานให้กลุ่มแรงงานไปยื่นหนังสือกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการแล้วครั้งหนึ่ง แต่ปัญหาก็ยังไม่คลี่คลาย ดังนั้น จึงควรหามาตรการในการแก้ไขปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไร ให้แรงงานข้ามชาติเข้าสู่ระบบทั้งหมด เพื่อจะได้มีข้อมูลในการที่จะดำเนินการในส่วนต่าง ๆ และจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการสีขาว จะต้องนำเสนอแก้ไขปัญหาให้เห็นเป็นรูปธรรมเช่นกัน
 




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia