คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นวันแรก

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2567 คณะผู้แทนรัฐสภาไทย ประกอบด้วย น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายชวภณ วัธนเวคิน สมาชิกวุฒิสภา นายกัณวีร์ สืบแสง น.ส.ตวงทิพย์ จินตะเวช นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร และนายอัคร ทองใจสด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (The 149th IPU Assembly and related meetings) ระหว่างวันที่ 13 -17 ต.ค. 67 ณ ศูนย์การประชุม CICG นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เป็นวันแรก โดยสรุปภารกิจของคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ได้ดังนี้

1. การประชุมอาเซียน+3 และการประชุมกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย - แปซิฟิก เมื่อเวลา 8.30 น. คณะผู้แทนรัฐสภาไทยเข้าร่วมการประชุมกลุ่มอนุภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งมีคณะผู้แทนรัฐสภามาเลเซีย ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญในการพิจารณาเสนอชื่อผู้แทนเข้าดำรงตำแหน่งของสหภาพรัฐสภาที่ว่างในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 โดยมี 2 ประเทศ แสดงความจำนงในการชื่อผู้สมัคร ได้แก่ รัฐสภามาเลเซีย เสนอชื่อผู้แทนลงสมัครในคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคง และรัฐสภาไทย เสนอชื่อผู้แทนลงสมัคร 3 ตำแหน่ง ได้แก่ 
1) นายนพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้สมัครในตำแหน่งคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา 
2) น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้สมัครในตำแหน่งคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี และ 
3) นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา เป็นผู้สมัครในตำแหน่งคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน 
ทั้งนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยให้ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน+3 พิจารณาให้การสนับสนุนผู้สมัครของไทยในโอกาสนี้ด้วย โดยที่ประชุมมีมติรับทราบและเห็นชอบการเสนอชื่อผู้แทนทั้ง 4 คน เข้าสู่การพิจารณาของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย - แปซิฟิกต่อไป  

ต่อมาในเวลา 09.00 น. เข้าสู่การประชุมกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย - แปซิฟิก มีผู้แทนจากสภาประชาชนแห่งชาติจีน ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 19 ประเทศ จากทั้งหมด 36 ประเทศ วาระสำคัญยังคงเป็นการพิจารณาตำแหน่งที่ว่างของสหภาพรัฐสภาในห้วงการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 ซึ่งมีตำแหน่งที่ว่าง 7 ตำแหน่ง โดยมีหลายประเทศเสนอชื่อผู้แทนสมัครเข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ซ้ำกันเป็นจำนวนมาก เช่น อิหร่าน อินเดีย ออสเตรเลีย มัลดีฟส์ มาเลเซีย และไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ตามข้อบังคับการประชุมของกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย - แปซิฟิก จะใช้วิธีการเจรจาประนีประนอมเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้จะใช้วิธีการเลือกตั้งโดยวิธีลับ ซึ่งในกรณีของรัฐสภาไทยที่เสนอชื่อสมาชิกรัฐสภาทั้ง 3 คน ตามที่ได้รับการรับรองจากมติที่ประชุมอาเซียน+3 ไปก่อนหน้า ปรากฏว่าเกิดภาวะการแข่งขันระหว่างไทยกับออสเตรเลียและอินเดียในตำแหน่งคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน แต่หลังจากเจรจาร่วมกัน ฝ่ายไทยและอินเดียสมัครใจถอนตัวและเปิดทางให้ออสเตรเลียได้ดำรงตำแหน่งนี้ ในขณะที่ภาวะการแข่งขันระหว่างไทยกับมัลดีฟส์ ในตำแหน่งคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี และคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภาไม่สามารถเจรจาตกลงหาข้อยุติที่เป็นที่น่าพอใจสำหรับทั้งสองฝ่ายได้ จึงนำไปสู่การเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนลับ ซึ่งผลปรากฏว่ารัฐสภาไทยเป็นผู้ชนะทั้งสองตำแหน่ง โดยในคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี รัฐสภาได้ชนะไปด้วยคะแนน 13 ต่อ 4 ในขณะที่คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา ชนะไปด้วยคะแนน 12 ต่อ 5

โดยสรุป รัฐสภาไทยส่งผู้สมัครลงชิงตำแหน่งในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 จำนวน 3 ตำแหน่ง ได้รับมติผ่านการเลือกตั้งของกลุ่ม APG รวม 2 ตำแหน่ง ได้แก่ 1) นายนพดล อินนา สมาชิกวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งในคณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสหภาพรัฐสภา (วาระ 4 ปี) และ 
2) น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ดำรงตำแหน่งในคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี (วาระ 2 ปี ครึ่ง เนื่องจากดำรงตำแหน่งในวาระที่เหลืออยู่ของผู้ดำรงตำแหน่งเดิมของไทยที่พ้นจากสมาชิกภาพการเป็นสมาชิกรัฐสภา)
ทั้งนี้ ที่ประชุมกลุ่ม APG ได้รับชมคลิปวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์การประชุมรัฐสภาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยความมั่นคงด้านสุขภาพระดับโลก (Regional Conference for the Asia-Pacific Parliaments on Global Health Security) ที่รัฐสภาไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดร่วมกับ IPU ระหว่างวันที่ 2 - 3 ธ.ค. 67 ที่กรุงเทพฯ อีกด้วย

2. การประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี (Forum of Women Parliamentarians) ครั้งที่ 38 วาระที่หนึ่ง เวลา 10.30 -13.00 น. โดยมี น.ส.ตวงทิพย์ จินตะเวช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วม และ Ms. Cynthia Lopez Castro สมาชิกรัฐสภาจากเม็กซิโก ในฐานะประธานคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี ทำหน้าที่ประธานการประชุม ที่ประชุมได้รับรองระเบียบวาระการประชุม รับฟังการดำเนินงานของคณะ กมธ.สหภาพรัฐสภาสตรี ในห้วงการประชุม IPU ครั้งที่ 148 เมื่อเดือน มี.ค. 67 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส รับฟังกิจกรรมต่าง ๆ ของ IPU ในด้านความเท่าเทียมระหว่างเพศ และมีการอภิปรายต่อร่างข้อมติเรื่อง “The impact of artificial intelligence on democracy, human rights and the rule of law” ของคณะ กมธ.สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ในการนี้ น.ส.ตวงทิพย์ ได้อภิปรายต่อที่ประชุมว่า “ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence – AI) นั้นมีทั้งผลดีผลเสียต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก การนำ AI มาใช้ในการบังคับใช้กฎหมาย การสาธารณสุข และการบริการสาธารณะอื่น ๆ นั้นสามารถเสริมทั้งพลังอำนาจและในขณะเดียวกันก็ลดความสำคัญผู้หญิงลงด้วย ขึ้นอยู่กับว่าเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกออกแบบถูกนำไปปรับใช้อย่างไร ประเด็นหนึ่งที่มีความน่าห่วงกังวลคือในการพัฒนาเทคโนโลยี AI นั้นผู้หญิงมีส่วนร่วมในจำนวนน้อยมาก ในกรณีที่ผู้หญิงมิได้มีส่วนร่วมในการออกแบบหรือในกระบวนการตัดสินใจแล้ว อัลกอริธึม (หรือ ชุดคำสั่ง) อาจสะท้อนให้เห็นถึงอคติลำเอียงทางเพศโดยมิได้ตั้งใจ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบในวิธีการปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กหญิงทั้งในภาครัฐและเอกชน ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจาก AI และการล่วงละเมิดอย่างไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อผู้หญิง โดยเฉพาะในบทบาททางการเมืองและบทบาทในทางสาธารณะ ความรุนแรงทางดิจิทัลนี้คุกคามโดยตรงต่อความปลอดภัย ศักดิ์ศรี และการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกระบวนการประชาธิปไตย เป็นเรื่องสำคัญว่าเราสนับสนุนนโยบาย AI ที่มีลักษณะครอบคลุมที่ให้ความสำคัญต่อความเท่าเทียมทางเพศในลำดับต้น ๆ และเพื่อหลีกเลี่ยงอคติทางเพศ การจัดตั้งคณะ กมธ.ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AI ควรมีองค์ประกอบทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อให้การออกแบบ AI ได้คำนึงถึงทุกคนซึ่งเป็นหลักประกันในเรื่องของโอกาส การมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมและผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบสำหรับทุกคน"

จากนั้น ในช่วงบ่ายเวลา 14.30 - 17.30 น. น.ส.สรัสนันท์ อรรณนพพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าร่วมประชุมสหภาพรัฐสภาสตรี ในวาระที่สอง และได้ร่วมอภิปรายต่อที่ประชุมในหัวข้อ “Sustaining peace and providing justice to women and girls” ความว่า ผู้หญิงและเด็กหญิงเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญในกระบวนการสันติภาพและยังเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพยายามในการสร้างสันติภาพซึ่งผู้หญิงเองกลับไม่เคยร่วมอยู่ในกระบวนการเจรจาสันติภาพเลย ทั้งนี้ ในส่วนการดำเนินการของประเทศไทยยืนยันได้โดยการที่ประเทศไทยบรรลุเป้าประสงค์ 16.3 ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน “ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม” ซึ่งประเทศไทยดำเนินโครงการที่มีความสำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ บทบาทที่สำคัญของผู้หญิงอีกประการหนึ่งในกระบวนการสร้างสันติภาพตามข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติ ที่ 1325 ว่าด้วย ผู้หญิง สันติภาพ และความมั่นคง (WPS) ตัวอย่างหนึ่งคือเหตุการณ์ความไม่สงบในสถานการณ์ชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2547 ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของผู้หญิงไทยในชายแดนภาคใต้จากเหยื่อมาเป็นการรวมกลุ่มของผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ในส่วนของสมาชิกรัฐสภานั้น ได้ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม และหุ้นส่วนระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนการสร้างกฎหมายให้มีความเข้มแข็ง เพิ่มทรัพยากรที่จำเป็น และดำเนินนโยบายเพื่อคุ้มครองและเสริมสร้างพลังให้กับผู้หญิงและเด็กหญิง ประชาคมโลกจึงสามารถมั่นใจได้ว่า ประเทศไทยจะยังคงเสริมสร้างนโยบาย กฎหมาย และความเป็นหุ้นส่วนนี้ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อความยุติธรรมและสันติภาพที่ยั่งยืนโดยไม่มีผู้หญิงและเด็กหญิงคนใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

3. นอกจากนี้ คณะผู้แทนรัฐสภาไทยยังได้หารือทวิภาคีกับรัฐสภามิตรประเทศ รวม 2 รายการ ได้แก่
3.1 การพบปะหารือทวิภาคีกับคณะผู้แทนรัฐสภาเยอรมนี นำโดย Mr. Volkmar Klein สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี (Bundestag) โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับเยอรมนีในหลากหลายมิติ อาทิ ด้านการค้า ที่ความคืบหน้าของการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่าง EU กับไทยยังคงมีเงื่อนไขผูกพันกับประเด็นกฎหมายภายในด้านการประมงของไทย และประเด็นอื่นๆ รวมถึงการลงทุน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาของทั้งสองประเทศ ตลอดจน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ สถานการณ์ในเมียนมาและประเด็นด้านมนุษยธรรม พร้อมทั้งรับทราบความเคลื่อนไหวและสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันของกันและกันอีกด้วย โดยไทยถือเป็นหุ้นส่วนที่เยอรมนีให้ความสำคัญภายใต้กรอบความร่วมมือกับอาเซียน ในบริบทของยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของ EU พร้อมกันนั้น ฝ่ายเยอรมนีได้อวยพรให้รัฐบาลใหม่ของไทยสามารถบริหารจัดการด้านการเมืองได้อย่างราบรื่น อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปและเยอรมนี
3.2 การพบปะหารือกับคณะผู้แทน CRPH หรือสภาพลัดถิ่นของเมียนมา นำโดย Dr. Win Myat Aye สมาชิกสภาชาติพันธุ์ โดย CRPH ซึ่งได้รับการรับรองสถานะเป็นผู้สังเกตการณ์ของ IPU เป็นฝ่ายขอพบคณะผู้แทนรัฐสภาไทย ในการดังกล่าว ฝ่าย CRPH แสดงความขอบคุณที่ไทยให้ความช่วยเหลือและดูแลชาวเมียนมาที่หนีภัยการสู้รบตลอดจน แรงงานเมียนมาที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย ในช่วงที่เมียนมาเผชิญกับความไม่สงบภายในประเทศ และได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการปัจจุบันในเมียนมา โดยฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวเมียนมาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องผ่านองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้องว่าอาเซียนและประชาคมระหว่างประเทศไม่ควรเพิกเฉยต่อสถานการณ์ในเมียนมา ทั้งนี้ ฝ่าย CRPH ได้ขอให้ไทยร่วมกับประชาคม IPU จับตาการเลือกตั้งทั่วไปในเมียนมาที่อาจมีขึ้นในปี 2568 โดยเมียนมาต้องการการสนับสนุนจากไทย อาเซียนและประชาคมโลกในการพัฒนาประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐและการธำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนของชาวเมียนมา

เครดิตข่าวและภาพ : ฝ่ายเลขานุการคณะผู้แทนรัฐสภาไทยในการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา ครั้งที่ 149 กลุ่มงานสหภาพรัฐสภา  สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia