พรรคพลังประชารัฐคัดค้านการเจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมในกรอบ MOU 44 และเตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลให้ดำเนินการยกเลิก MOU44 อย่างเร่งด่วน

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
พรรคพลังประชารัฐคัดค้านการเจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมในกรอบ MOU 44 และเตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาลให้ดำเนินการยกเลิก MOU44 อย่างเร่งด่วน

วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567  เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายชัยมงคล  ไชยรบ สส.พรรคพลังประชารัฐ และคณะ แถลงข่าวว่า พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้กำหนดเป็นนโยบายในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารว่าพรรคพลังประชารัฐคัดค้านการเจรจาผลประโยชน์ปิโตรเลียมในกรอบบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในไหล่ทวีป  (MOU 44)  เพราะมีความเสี่ยงจะทำให้เสียดินแดน อธิปไตย และทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นสมบัติของชาติและของประชาชน เน้นย้ำให้พรรคพลังประชารัฐเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนในเรื่องนี้  สส. พรรคพลังประชารัฐหวงแหนแผ่นดินไทย และจะไม่ยอมเสียพื้นที่แม้แต่ตารางนิ้วเดียว จึงจะร่วมกันเข้าชื่อทำจดหมายเปิดผนึกเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการยกเลิก MOU 44 อย่างเร่งด่วน ตลอดจนดำเนินการในการแก้ปัญหาเขตแดนทางทะเล และเห็นความสำคัญของข้อตกลงในเรื่องเขตแดนทางทะเลและอำนาจอธิปไตยมากกว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยจะต้องรักษาทรัพยากรของชาติไว้ให้
ลูกหลานสืบไป ทั้งนี้ ข้อความในเอกสาร MOU 44 ประกอบแผนที่แนบ แสดงว่าสองประเทศได้ยอมรับว่ามีพื้นที่พัฒนาร่วมเพื่อให้ทำการเจรจาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียม แต่ขอบพื้นที่ดังกล่าวด้านทิศตะวันตก ใช้เส้นเขตแดนในทะเลที่ประกาศโดยกัมพูชาในปี 2515 โดยมีจุดตั้งต้นในเส้นที่พาดผ่านเกาะกูด ทั้งนี้ ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว พบว่าขัดกับสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907  จึงมีความเห็นว่าพื้นที่พัฒนาร่วมตามที่
ระบุใน MOU44 ซึ่งขัดกับสนธิสัญญาฯ ย่อมทำให้เอกสาร MOU 44 ทั้งฉบับผิดกฎหมาย ถ้าหากกัมพูชายอมรับว่าไทยมีเอกสิทธิ์ในเกาะกูดอย่างสมบูรณ์แต่ผู้เดียวจริง กัมพูชาจะต้องยอมรับการลากเส้นห่างจากชายฝั่งของเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของฝ่ายไทยตามกติกาสากล ส่วนกัมพูชาก็ลากออกจากเกาะกง 12 ไมล์เช่นกัน หากทับซ้อนกันหรือมีระยะห่างจากกันเหลืออยู่ก็ตามก็จะใช้เส้นกึ่งกลางระหว่างทั้งสองเกาะเพื่อความเป็นธรรมในการเดินเรือไม่ใช่ลากเส้นพาดผ่านเกาะกูด ซึ่งการที่ใน MOU44 ไทยยอมรับเส้นพาดผ่านเกาะกูดนั้น ย่อมหมายความได้ว่า ไทยยอมให้กัมพูชามีสิทธิ์ในเกาะกูดครึ่งหนึ่ง เป็นการทำให้ไทยเสียดินแดนชัดเจน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่ต้องระวังอย่างยิ่งของพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา คือ
1. ไทยและมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายสากลแล้ว ยังมีเกิดพื้นที่พิพาท 7,250 ตร.กม. ใช้เวลา 7 ปี จึงตกลงกันได้ มาเลเซียเห็นว่ามีบ่อน้ำมันกลางพื้นที่ หากแบ่งเส้นกึ่งกลางจะเกิดปัญหาจึงเสนอการพัฒนาปีโตรเลียมร่วมกันในปี 2523
2. ไทยและเวียดนาม ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายสากลแล้ว มีพื้นที่ทับซ้อนกันกลางอ่าวไทย เนื้อที่ 6,000 ตร.กม. ได้ตกลงเมื่อ 9 ส.ค. 2540 กินเวลา 6 ปี เลือกวิธีแบ่งเขตทางทะเล เพราะมุ่งหมายแก้ปัญหาการทำประมงและโจรสลัด ไทยได้เนื้อที่ร้อยละ 67.75 ส่วนเวียดนามได้ร้อยละ 32.25 ผลสำเร็จเกิดขึ้นบนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ
3. ไทยและกัมพูชามีการเจรจาเส้นเขตแดนทางทะเล 2513 โดยไทยยึดมันตามอนุสัญญาเจนีวา 1958 ระหว่างเจรจาฝ่ายกัมพูชาก็ประกาศเส้นเขตแดนในปี 2515 โดยมิได้เป็นไปตามกฎหมายสากล เพื่อรักษาสิทธิฝ่ายไทยจึงมีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยฝั่งอ่าวไทย ปี 2516 ทำให้เห็นได้ว่า เส้นที่ฝ่าย
กัมพูชาประกาศไปนั้น เป็นการล่วงล้ำพระราชอาณาเขต ทำให้การเจรจายุติลงแต่เพียงสองเดือนรัฐบาลสมัยนั้น ในปี 2544 รัฐบาลได้นำเรื่องนี้ขึ้นมาเจรจาอย่างเร่งรีบ โดยเริ่มเจรจา 21 เม.ย. 2544 และตกลงเซ็น MOU 44 ในวันที่ 4 มิ.ย. 2544 รวมเวลาเจรจา 44 วัน โดยไทยเปลี่ยนท่าทีจากเดิม คือ ไม่รักษาสิทธิอันพึงมีของไทยตามกฎหมายสากล กลับยอมรับเส้นของกัมพูชาขีดทับอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยเป็นครั้งแรก จนเกิดพื้นที่ทับซ้อนที่ใหญ่โตมากถึง 26,000 ตร.กม. ทั้งที่ พื้นที่นี้เดิมที่ไม่มีกฎหมายรับรองรัฐบาลอ้างการการพัฒนาปิโตรเลียมร่วมกันบดบังสาระสำคัญที่ไทยเปลี่ยนสถานะจากผู้ที่เป็นฝ่ายถูกเพราะยึดมั่นในกฎหมายสากล กลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที เพราะเปิดโอกาสให้กัมพูชานำพื้นที่ที่ได้มาโดยไม่มีกฎหมายสากลรับรองเข้ามาเจรจาได้ ซึ่งแตกต่างจากกรณีไทย-มาเลเซียอย่างชัดเจน พรรคพลังประชารัฐ จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียกเลิก MOU 44 โดยเร็วที่สุด เนื่องจากแผนที่แนบท้าย MOU 44 เขตของกัมพูชาได้รวมเอาน่านน้ำภายในของจังหวัดตราด เกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยเข้าไปด้วย ทำให้ไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและมีโอกาสเสียดินแดน เช่นเดียวกับเขาพระวิหาร คล้ายกับกรณีฝรั่งเศสที่เข้ายึดพื้นที่ของสยามเพื่อเป็นตัวประกันในการเจรจาต่อรอง




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia