ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แถลงความคืบหน้าโครงการนักสืบทุนเทา พร้อมกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน

Image
Image
Image
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ และคณะ แถลงข่าวความคืบหน้าโครงการ "นักสืบทุนเทา" แพลตฟอร์มรับเรื่องร้องเรียนปัญหาสินค้าต่างชาติและการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจผ่านนอมินี ผ่านแพลตฟอร์ม Traffy Fondue โดยคณะกรรมาธิการทำงานร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ประกอบการไทย ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากสินค้าและธุรกิจต่างชาติผิดกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ช่วยชี้เป้า แจ้งเบาะแส นำไปสู่การแก้ไขปัญหานับตั้งแต่โครงการนักสืบทุนเทาเปิดให้มีการแจ้งเรื่องร้องเรียนเข้ามา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 โดยเปิดรับเรื่องร้องเรียนใน 6 ปัญหา คือ 1. สินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 2. สินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) 3. สินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา 4. ธุรกิจเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากผู้บริโภคแต่ไม่สามารถออกใบกำกับภาษี
5. การโอนเงินเข้าบัญชีต่างชาติโดยตรง 6. การประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติผิดกฎหมาย หรือนอมินี จนถึงวันนี้ (21 พฤศจิกายน 2567) นับเป็นระยะเวลา 1 เดือน มีประชาชนส่งเรื่องร้องเรียนเข้าโครงการนักสืบทุนเทาแล้วกว่า 500 เรื่อง และเมื่อได้รับการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ในเชิงสถิติพบว่า ปัญหาทุนต่างชาติผิดกฎหมาย หรือ นอมินี เป็นเรื่องที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามามากที่สุด กว่า 200 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 45 รองลงมาคือสินค้าไม่มี อย. 110 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ และสินค้าไม่มี มอก. อีก 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 13ในเชิงพื้นที่ จังหวัดที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามามากสุดคือ กรุงเทพมหานคร มีจำนวนกว่า 250 เรื่อง ส่วนมากเป็นปัญหาสินค้าไม่มี อย. และ มอก. รองลงมา คือ
จังหวัดภูเก็ต มีเรื่องร้องเรียนเข้ามากว่า 100 เรื่อง เกือบทั้งหมดเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับนอมินีต่างชาติผิดกฎหมาย

โดยการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ในวันนี้ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6 หน่วย ได้แก่ อย. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสรรพากร ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อมาให้ข้อมูล ชี้แจงความคืบหน้าถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่ได้รับไป โดยมีความคืบหน้าของโครงการ ดังนี้
1. หน่วยงานราชการทุกหน่วยได้รับเรื่องร้องเรียน และกำลังดำเนินการแก้ไข โดยมี 2 หน่วยงานที่ตอบรับเข้าร่วมระบบ (PLUG IN) Traffy Fondue คือ อย. และ สมอ. ซึ่งปัจจุบันเข้าร่วมระบบเรียบร้อย จะช่วยให้การแก้ไขเรื่องร้องเรียนของประชาชน มีความรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้นกรรมาธิการ ขอขอบคุณทั้ง 2 หน่วยงานที่เข้าร่วมระบบ
2. การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนกำลังดำเนินการแก้ไข โดยจากเรื่องร้องเรียนกว่า 500 เรื่อง ปัจจุบันเสร็จสิ้นไปแล้ว 17 เรื่อง ทางกรรมาธิการได้ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน และแจ้งความคืบหน้าแก่กรรมาธิการ ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานรับจะไปเร่งดำเนินการ
3. บางหน่วยงานชี้แจงต่อกรรมาธิการ ถึงสาเหตุที่ทำให้กระบวนการแก้ไขล่าช้า เนื่องจากข้อมูลที่ได้ยังไม่เพียงพอ กมธ.จึงขอให้ทุกหน่วยงานที่ยังไม่เข้าร่วมระบบ พิจารณาข้อดีของการเข้าร่วมระบบ เพราะจะช่วยให้หน่วยงานสามารถประสานขอข้อมูลเพิ่มเดิมจากผู้ร้องได้ ช่วยให้การแก้ปัญหารวดเร็วและลดภาระเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการได้ให้ความเห็นและซักถามเพิ่มเติม ซึ่งหน่วยงานรับไปดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ  เช่น ขอให้ อย.พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาร้านค้าจำหน่ายที่ไม่มี อย. อย่างยั่งยืน เนื่องจากพบเรื่องร้องเรียนในระบบที่ปรากฏว่า ร้านค้าที่ อย.เคยลงตรวจแล้ว แต่กลับมาขายสินค้าที่ไม่มี อย.ใหม่ หรือสมอ. นำเสนอแนวทางการจัดการสินค้าที่ยังไม่มีมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้าที่ประชาชนร้องเรียนเข้ามา ว่าจะจัดการอย่างไร ตลอดจนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับนอมินีจำนวนมากที่ทางกรมฯ แจ้งว่าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถดำเนินการต่อได้ และขอให้ทางกรมฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการอย่างไร และขอบคุณทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุม และเข้าร่วมระบบนักสืบทุนเทา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการจะติดตามความคืบหน้า และจะมาชี้แจงให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบต่อไป




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia