คณะ กมธ.การสวัสดิการสังคม รับหนังสือจากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) คณะทำงานขับเคลื่อนสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า 450 องค์กร และเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair) เพื่อเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับสวัสดิการสังคม ตามมติคณะรัฐมนตรี

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2568 เวลา 11.30 นาฬิกา ณ จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะ กมธ.การสวัสดิการสังคม พร้อมด้วย นางสาววรรณวิภา ไม้สน รองประธานคณะ กมธ. และคณะ รับยื่นหนังสือจาก นายนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม นางสุนี ไชยรส คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า และคณะ เพื่อขอให้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการยกระดับสวัสดิการสังคม

ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการโดยรัฐด้านสวัสดิการกลุมเปราะบาง ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ได้มีมติให้จัดทำแผนและกำหนดแนวทางนโยบายแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบข้อเสนอ การพัฒนาหลักประกันบริการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 

จึงมีความกังวลว่ามติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาจะไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา จึงขอให้คณะ กมธ.ช่วยติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดติดตามการขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการโดยรัฐให้ทันตามกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2569 ดังนี้
1) ขอให้เร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำข้อเสนอการยกระดับสวัสดิการสังคมกลุ่ม
เปราะบาง ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และคนพิการ ของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนสวัสดิการโดยรัฐ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ตามมติการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 และวันที่ 24 ตุลาคม 2567 เขาสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
2) ขอให้เร่งรัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหน่วย
รับงบประมาณเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดและเงินอุดหนุนสตรีมีครรภ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และขอให้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในฐานะหน่วยรับงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการ เพื่อจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ภายในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2568 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567

นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ขอบคุณที่ติดตามเรื่องการเกิดสวัสดิการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน และวันนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทางเครือข่ายได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อสอบถามฝ่ายบริหารถึงความชัดเจนในเรื่องการจัดสวัสดิการของรัฐในประเทศไทย และวันนี้ได้มาส่งหนังสือเพื่อขอเร่งรัดเรื่องการยกระดับสวัสดิการสังคม ซึ่งคณะ กมธ.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ จะนำเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในสัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณาเรื่องการจัดสวัสดิการตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ว่าควรจะมีการจัดสวัสดิการอย่างไรเพื่อให้ครอบคลุมและทั่วถึงทุกคนในประเทศ และจะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อนำเสนอให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบ โดยในวันนี้ได้เริ่มมีการขยับเปลี่ยนแปลงตามลำดับ แม้ว่าจะยังไม่ถึงเป้าหมายที่วางเอาไว้ แต่ก็นับว่าการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีมากขึ้น โดยในส่วนของคณะ กมธ. ได้เสนอรายงานการศึกษาเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ไปแล้ว 3 เล่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ แม้ว่าข้อเสนอของสภาฯ อาจจะยังไม่ตรงกับภาคประชาชนทั้งหมด เนื่องจากเป็นเรื่องที่พิจารณาจากงบประมาณที่มีอยู่ในปัจจุบันและสามารถทำได้ทันทีหากรัฐบาลต้องการจะทำ ส่วนนโยบายเสริมเพิ่มเติมที่ต้องมีการอนุมัติงบประมาณเพิ่มอยู่ที่วิสัยทัศน์และนโยบายของฝ่ายบริหาร คณะ กมธ.จะติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและขอให้ทุกท่านทั้งภาคประชาชนและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมทำงานและขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้การพิจารณาการจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ สภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม 

นางสาววรรณวิภา ไม้สน กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะ กมธ.ได้ดำเนินการพิจารณาศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งน่าจะมีเล่มในรายงานเยอะมากที่สุดในบรรดา กมธ. ทั้ง 35 คณะ โดยนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว 3 เล่ม และมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลทั้งในเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ และเรื่องเด็ก รวมทั้งในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ติดตามทั้งในแง่ของกฎหมายและงบประมาณ เช่น เงินอุดหนุนเด็กถ้วนหน้า ซึ่งในปีงบประมาณต่อไปจะได้เห็นว่ามีการปรับตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างไร นอกจากนี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะเพิ่มวันลาคลอดจาก 90 วัน เป็น 180 วัน และคู่สมรสสามารถลาได้อีก 15 วัน แม้จะไม่ได้ตามเป้าหมายที่คาดหวัง แต่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่มีการต่อสู้กันมา และผลจากการทำงานอย่างแข่งขันร่วมกันของทุกภาคส่วนจะทำให้มีการปรับแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัดขึ้นอีกในอนาคต




รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia