• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
รายงานการศึกษาดูงาน
ประเทศสมาชิกอาเซียนของรัฐสภา
Loading...
ลำดับที่ 21
คณะกรรมาธิการ/บุคคลสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติ คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
หมวดหมู่ - ประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศ - เวียดนาม
เสาหลักอาเซียน - เศรษฐกิจ
วันเดือนปีที่ศึกษาดูงาน 2 กรกฎาคม 2553 - 7 กรกฎาคม 2553
สมัยของประธาน นายคงกฤช หงษ์วิไล ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร
ประเด็นศึกษาดูงาน

๑. ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัทเวียดนามดาต้าคอมมิวนิเคชั่น (Vietnam Data Communication Company : VDC)

๒. มาตรการในการป้องกัน ควบคุม กำกับ ดูแลเว็บไซต์ที่กระทำผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมต่าง ๆ

๓. แนวนโยบายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยซอร์สโค๊ดต่อสาธารณชน (Open Source) เพื่อให้ประชาชนมีการใช้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

 

สาระสังเขป

     คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปศึกษาดูงานและเยี่ยมกิจการ ณ บริษัทเวียดนามดาต้าคอมมิวนิเคชั่น (Vietnam Data Communication Company : VDC) โดยมีนายหวู หว่าง เหลียง (Mr. Vu Hoang Lien) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทให้การต้อนรับและได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน  สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

๑. ภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัทเวียดนามดาต้าคอมมิวนิเคชั่น (Vietnam Data Communication Company : VDC)

     ๑.๑ ความเป็นมาของบริษัท

     บริษัทเวียดนามดาต้าคอมมิวนิเคชั่น ตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ สังกัดเวียดนามโพสท์แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่นส์กรุ๊ป (Vietnam Posts &Telecommunications Group: VNPT) โดยบริษัทเป็นผู้นำทางด้านอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ และมีโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศกระจายตัวอยู่ใน ๖๓ จังหวัด รวมถึงมีเครือข่ายเชื่อมโยง (Linkage) ทางด้านต่าง ๆ ร่วมกับบริษัทชั้นนำในต่างประเทศกว่า ๑๐ บริษัท ได้แก่

          - ความร่วมมือทางด้านโปรแกรมประยุกต์ในการบริหารจัดการ อาทิ บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) บริษัทอินเทล (Intel) บริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) บริษัทเอชพี (HP) บริษัทเดล (Dell) บริษัทอัลคาเทล (Alcatel) บริษัทโมโตโรล่า (Motorola) บริษัทซิสโก้ซิสเท็ม (Cisco System) และบริษัทจูนิเปอร์ (Juniper)

          - ความร่วมมือด้านการให้บริการ อาทิ บริษัทคอลทูเวียดนาม (Call2Vietnam) บริษัทเทเลคอมกัมโบเดีย (Telecom Cambodia) บริษัทไชน่าเทเลคอม (China Telecom)

     นอกจากนี้ นิตยสารพีซีเวิลด์ (PC World) ยังได้ให้นิยามบริษัทว่า “เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง” โดยบริษัทได้รับรางวัล “ICT Awards 2008” ในสาขาองค์กรที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด องค์กรที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีจำนวนสมาชิกสูงสุด และองค์กรที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ดูแลลูกค้าที่ดีที่สุด

     ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงานมากกว่า ๑,๐๐๐ คน โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาประกอบด้วย ระดับปริญญาเอกและระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ ๔ ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๘๔ และวุฒิการศึกษาระดับอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ ๑๒

     ๑.๒ การประกอบธุรกิจ

     บริษัทมีหน้าที่ประกอบธุรกิจตามนโยบายของทางราชการ ดังนี้

          - บริการเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านระบบสายไฟฟ้า

          - บริการโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

          - บริการการสื่อสาร

          - การตรวจสอบ ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง และรักษาระดับคุณภาพต่าง ๆ ทางด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

          - ดำเนินการผลิต ประกอบธุรกิจนำเข้าส่งออก ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ไอซีที (ICT)

          - บริการด้านการเงิน การให้สินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์

          - บริการโฆษณา

          - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริการให้เช่าสำนักงาน

          - บริการอื่น ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของรัฐบาลเวียดนาม

     ๑.๓ แผนพัฒนาทางการตลาดของบริษัท

       บริษัทมีแผนพัฒนาทางการตลาด โดยให้ความสำคัญกับ ๓ บริการหลักเพื่อพัฒนาบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Services) คือ บริการออนไลน์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บริการเนื้อหาข้อมูล และบริการการบริหารจัดการ ทั้งนี้ บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการทำให้บริการมูลค่าเพิ่มสอดคล้องกับความต้องการของสังคมเพื่อนำไปสนับสนุนให้เครือข่าย Mega VNN (ADSL) ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น รวมถึงให้บริการมูลค่าเพิ่มสำหรับหมายเลข Mega VNN (ADSL) โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมการใช้บริการอย่างกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างและดำเนินการพัฒนาความร่วมมือทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

๒. มาตรการในการป้องกัน ควบคุม กำกับ ดูแลเว็บไซต์ที่กระทำผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมต่าง ๆ

     องค์กรธุรกิจของเวียดนามที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่าไฟร์วอลล์ (Firewall) และมีการร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการ (Operator) ในการช่วยเหลือป้องกันและกำกับดูแล ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการก็อาจจะเสียค่าบริการให้กับผู้ประกอบการ (Operator) เพื่อป้องกันดูแลอีกทางหนึ่ง ในขณะที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแลเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสมด้วยเช่นกัน ส่วนมาตรการในการควบคุมกำกับดูแลทางกฎหมายนั้น ยังไม่มีความเด็ดขาดเพียงพอเพราะการควบคุมกำกับดูแลของภาครัฐยังคงมีปัญหาอยู่ อย่างไรก็ดีมีองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน หรือภาคสังคมเข้ามาช่วยควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่ง

๓. แนวนโยบายในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยซอร์สโค๊ดต่อสาธารณชน (Open Source) เพื่อให้ประชาชนมีการใช้บริการโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

     ภาครัฐของเวียดนามได้มีการสนับสนุนให้มีการจัดทำซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องเสียค่าบริการดังกล่าว เพื่อให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทั้งหมด และแก้ไขปัญหาการทดแทนการนำเข้าได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ ซึ่งส่วนใหญ่มีการจัดซื้อจากต่างประเทศมีราคาค่อนข้างแพง และมีอัตราการใช้บริการสูง ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องมีการลงทุนและสนับสนุนให้มีการจัดทำซอฟต์แวร์ ที่ไม่ต้องเสียค่าบริการให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง

     สำหรับภาพรวมการดำเนินการด้านเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยซอร์สโค๊ดต่อสาธารณชน (Open Source) เพื่อช่วยให้ประชาชนในทุกระดับสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน

     เวียดนามประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากมีวิสัยทัศน์ที่สามารถเข้าถึงความจำเป็นและความต้องการทางด้านธุรกิจ และความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์ ตลอดจนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากร จำนวน ๑,๕๐๐ คน ต่อปี รวมทั้งมีการให้ทุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีในต่างประเทศ ซึ่งบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและได้รับทุนการศึกษาในต่างประเทศเป็นเยาวชนมากถึงร้อยละ ๗๐-๘๐ ดังนั้น ในอนาคตเวียดนามอาจจะเป็นประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และโทรคมนาคมของอาเซียน

     สำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยให้ประสบความสำเร็จ คือการที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยรัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาการสื่อสาร สารสนเทศ และโทรคมนาคมอย่างจริงจัง ทั้งนี้ควรกระจายไปในทุกภาคส่วนและทั่วทุกภูมิภาคของประเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ตลอดจนทุกภาคส่วนที่ดำเนินกิจการด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และโทรคมนาคม ทั้งของรัฐและของเอกชน ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยเฉพาะใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ไทยยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การให้การสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งผลิตบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีคุณภาพเพียงพอและพัฒนาความรู้และความสามารถอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาด้านการสื่อสารสารสนเทศ และโทรคมนาคมของประเทศให้มีความเจริญรุดหน้าอย่างยั่งยืนตลอดไป

คำค้น     เวียดนาม, การสื่อสาร, โทรคมนาคม, Vietnam Data Communication Company, VDC

เสาหลัก     เศรษฐกิจ

 

 

เอกสารแนบ 1. รายงานการศึกษาดูงานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,215,404
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ