• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
กระทู้ถามเกี่ยวกับ
ตราสารอาเซียนของรัฐสภา
Loading...

การเตรียมความพร้อมของรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับภูมิภาคอาเซียน

กระทู้ถามที่ 381/2555 สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24/2554
วันที่เสนอ 22 สิงหาคม 2561
สมัยคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม นางสาวชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร พรรคภูมิใจไทย จังหวัดราชบุรี
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล)
ประเภทกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
สถานภาพกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม

          ด้วยสภาพของประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เหมาะแก่การเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ และเมื่อประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ดังนั้น แนวนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี รัฐบาลจะต้องมีการเตรียมความพร้อมมาตรการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของประชาชน การจ้างงานและการจ่ายค่าจ้างแรงงาน การสุขอนามัย อันเกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรี ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
          1. รัฐบาลมีแนวทางในการบริหาร คน เงิน ทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยภายในประเทศอื่น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การแข่งขันในประชาคมอาเซียนอย่างไร ขอทราบรายละเอียด
          2. รัฐบาลมีนโยบายด้านการเปิดเสรีเกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่ซึ่งสงวนไว้สำหรับคนไทยหรือไม่ รวมถึงนโยบายการจ่ายค่าจ้างแรงงานให้มีความเหมาะสม สมดุล และยั่งยืน อย่างไร จะมีมาตรการในการควบคุมดูแลการสุขอนามัย ที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยมีระบบตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ทันสมัย โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้ระบบฐานข้อมูลประชากรที่ถูกต้องตรงกันเพื่อประโยชน์ต่อการป้องกันปัญหาการระบาดของโรคติดต่อ เพื่อการดูแลช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อควบคุมโรคติดต่อได้ทันท่วงทีจะได้หรือไม่ อย่างไร ขอทราบรายละเอียด

สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม

          คำตอบข้อที่ 1 รัฐบาลได้มีการประชุมเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 โดยยุทธศาสตร์แบ่งออกเป็น 8 ด้าน คือ
          ยุทธศาสตร์ที่ 1การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้า บริการและการลงทุน เช่น การส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน การเพิ่มศักยภาพการผลิต การปรับปรุงมาตรฐานและการตลาด
          ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองทางสังคม และระบบสวัสดิการทางสังคม การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่
          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ (logistics) เช่น เส้นทางคมนาคมขนส่ง โลจิสติกส์ พลังงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในภาคการศึกษา ภาคแรงงานผู้ประกอบการ และภาครัฐ
          ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนากฎหมาย กฎ และระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดาเนินการตามข้อตกลงการเป็นประชาคมอาเซียน อำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน ปกป้องผลประโยชน์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
          ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงการเป็นประชาคมอาเซียน
          ยุทธศาสตร์ที่ 7 การเสริมสร้างความมั่นคง เช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศ การบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนทางบกและทางทะเล และการสร้างธรรมาภิบาล
          ยุทธศาสตร์ที่ 8 การเพิ่มศักยภาพของเมืองเพื่อเชื่อมโยงสมาชิกอาเซียนให้มากขึ้น โดยการแบ่งเมืองเป็นประเภท เช่น เมืองหลวง เมืองใหญ่ เมืองอุตสาหกรรม เมืองท่องเที่ยว เมืองการค้าชายแดน เพื่อพัฒนาจังหวัดต่าง ๆ อย่างมีทิศทางและมีประสิทธิภาพ
          ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้ง 8 ด้านดังกล่าวครอบคลุมทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องในการรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยในแต่ละยุทธศาสตร์จะประกอบด้วยกลยุทธ์และมาตรการต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนงานโครงการอย่างบูรณาการของทุกส่วนราชการ ทั้งด้านการทำงานและการจัดทำงบประมาณ โดยคาดว่าจะเริ่มในปีงบประมาณ 2557 นอกจากยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กล่าวมาทั้ง 8 ข้อนี้แล้ว รัฐบาลก็ได้จัดทำยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ 4 ด้านด้วยกันใน 10 - 15 ปีข้างหน้า ซึ่งได้แก่ 
          1. การลดความเหลื่อมล้ำ
          2. การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อหลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง
          3. การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
          4. การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
    ยุทธศาสตร์ของประเทศที่กล่าวมาทั้ง 4 ข้อนี้ก็จะประกอบไปด้วยมาตรการต่าง ๆ 28 ประเด็น ครอบคลุมแนวทางการดำเนินงาน 58 แนวทาง โดยกำหนดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานบูรณาการ ซึ่งจะเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณสำหรับ พ.ศ. 2557 ต่อไป โดยสรุป การจัดทำยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและยุทธศาสตร์ของประเทศที่กล่าวมานี้ จะเป็นกรอบนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของประเทศแบบองค์รวมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และปัจจัยอื่น ๆ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน และจะใช้เป็นกรอบในการหารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อให้ได้ความเข้าใจตรงกันในการพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปอย่างบูรณาการและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด
          คำตอบข้อที่ 2 การเปิดเสรีในการประกอบอาชีพตามข้อตกลงระหว่างประเทศในกรอบอาเซียน จะมีการเปิดเสรีแรงงานที่มีฝีมือใน 8 สาขาเท่านั้น ได้แก่ สาขาแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ นักบัญชี และการท่องเที่ยว ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมในข้อตกลงเพียง 7 สาขา โดยยังเหลืออีก 1 สาขาที่ยังไม่ได้เข้าร่วม คือ สาขาการท่องเที่ยว ซึ่งจะเปิดเสรีสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านบริษัทท่องเที่ยวและการโรงแรม แต่จะไม่รวมอาชีพมัคคุเทศก์ (guide) เพราะเป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทย ขณะนี้การเปิดเสรีสาขาการท่องเที่ยวอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนภายในของไทยเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190
          การเปิดเสรีแรงงานใน 8 วิชาชีพนั้นเป็นการยอมรับมาตรฐานวิชาชีพระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน แต่ไม่ใช่การอนุญาตให้เข้ามาทำงานได้อย่างเสรีโดยไม่มีกฎเกณฑ์กำกับดูแล โดยมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องกำกับดูแลอาชีพเหล่านี้ในการเดินทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ภายในของประเทศไทย เช่น การสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การขอใบอนุญาตทำงาน (work permit) ต้องอนุญาตให้ทำงานได้ รวมทั้งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับประสบการณ์ในการดำเนินวิชาชีพภายในประเทศ 
          สำหรับมาตรการในการควบคุมดูแลเรื่องสุขอนามัยที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น อาเซียนได้มีข้อตกลง ความร่วมมือในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดในกรอบการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน  อาทิ ความร่วมมือในการป้องกันโรคติดต่อข้ามพรมแดน และการหารือเพื่อผลักดันให้มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งภูมิภาค เพื่อลดผลกระทบในบริเวณชายแดนที่ประชาชนจากประเทศเพื่อนบ้านข้ามพรมแดนมาใช้บริการในประเทศไทย
          นอกจากนั้นยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองทางสังคมนั้น ก็จะมีความร่วมมือระหว่างกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดต่อ โรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำ เช่น การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณสุขผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ การวางระบบบริการเบ็ดเสร็จแบบจุดเดียวเพื่อคัดกรองและควบคุมโรค และการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคระหว่างประเทศ ซึ่งมาตรการในเรื่องนี้จะเป็นการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

เอกสารต้นเรื่อง 1. สรุปสาระสำคัญกระทู้ถาม
2. ต้นฉบับกระทู้ถาม
3. รายงานการประชุม



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,287,352
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ