ความสามารถในการใช้ภาษากับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) |
กระทู้ถามที่ 948/2556
| สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24/2554 |
วันที่เสนอ |
22 สิงหาคม 2561 |
สมัยคณะรัฐมนตรี |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม |
นายวัชระ เพชรทอง พรรคประชาธิปัตย์ แบบบัญชีรายชื่อ |
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) |
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง) |
ประเภทกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา |
สถานภาพกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130
ตอนพิเศษ 111 ง หน้า 22 - 27 ลงวันที่ 2 กันยายน 2556
|
สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม |
เนื่องจากการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี (free flow of skilled labour) ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2558 หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ คือ ความแตกต่างด้านภาษาของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ชาติ 10 ภาษา หากพิจารณาในแง่มุมของปัจเจกบุคคล ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ย่อมมีความได้เปรียบทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงการออกไปหางานทำในประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า และหากพิจารณาในระดับประเทศ ประเทศที่ประชากรมีทักษะด้านภาษาดีกว่าย่อมดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศได้มากกว่า ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
1. รัฐบาลมีนโยบายที่จะเตรียมความพร้อมในการใช้ภาษา เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างไร หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะสนับสนุนงบประมาณดังกล่าว ขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2557 หรือ 2558 จะได้หรือไม่
2. หากรัฐบาลมีนโยบายตามข้อ 1 รัฐบาลมีมาตรการที่จะสนับสนุนให้แรงงานไทยและประชาชนมีความรู้ความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศอย่างไร ขอทราบรายละเอียด
|
สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม |
คำตอบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 กรมการจัดหางาน จะดำเนินโครงการพัฒนาความสามารถด้านภาษาและทักษะฝีมือของคนหางานตามความต้องการตลาดแรงงานต่างประเทศทั่วโลกและโครงการฝึกอบรมเพิ่มขีดความสามารถแรงงานไทยในการแข่งขันไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งจะมีการฝึกอบรมภาษาของประเทศเหล่านี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศในการทำงานในสาขาอาชีพต่างๆ สำหรับผู้สนใจใช้ระบบการเรียนภาษาเพื่อการไปทำงานต่างประเทศผ่านระบบ e-Learning กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการพิจารณากรอบการพัฒนาศักยภาพแรงงานด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ได้จัดทำ “กรอบยุทธศาสตร์การเพิ่มผลิตภาพกำลังแรงงานไทยให้มีมาตรฐานสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรมฯ (Strategic Framework)” โดยดำเนินการในกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงานใหม่ กลุ่มแรงงานในระบบ และกลุ่มแรงงานนอกระบบ คณะอนุกรรมการฯ ได้มีแนวทางการเพิ่มสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม โดยเน้นในกลุ่มวัยแรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่จะได้รับผลกระทบ โดยการพัฒนาทักษะการพูด การสื่อสาร สร้างความเข้าใจเรื่องวัฒนธรรม การใช้เทคโนโลยีด้าน ICT และสื่อต่างๆ ช่วยพัฒนาทักษะการพูดและฟังภาษาต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องภาษาและวัฒนธรรม การสร้างมาตรการจูงใจส่งเสริมให้เข้าฝึกอบรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมนำร่องหลักสูตรภาษาอังกฤษ จีน เวียดนาม และกัมพูชา ให้กับกลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มบริการ คณะอนุกรรมการฯ มีเป้าประสงค์เชิงนโยบายด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้จบการศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานไทยให้มีสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านผลิตภาพแรงงานเพื่อเตรียมการเพิ่มผลิตภาพแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานให้มีมาตรฐานสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้านมาตรฐานสมรรถนะ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่แรงงานไทยในการเพิ่มสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม ให้แรงงานสามารถแสวงหาความก้าวหน้าในอาชีพด้วยตนเอง โดยการอบรมและทดสอบสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่งเสริม สนับสนุน แสวงหาความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม และด้านการบริหารจัดการแรงงานที่ดี เพื่อบูรณาการความร่วมมือในทุกภาคส่วน เพื่อร่วมผลักดันเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ในการเพิ่มผลิตภาพกำลังแรงงานไทยให้มีมาตรฐานสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สนับสนุนและให้คำแนะนำแก่สถานประกอบกิจการในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมภาษาให้แก่ลูกจ้างเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สำนักงานประกันสังคม ได้จัดโครงการฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้บุคลากรเพื่อเตรียมรองรับประชาคมอาเซียนโดยใน พ.ศ. 2555 จำนวน 5 รุ่น และใน พ.ศ. 2556 จำนวน 5 รุ่น
|
เอกสารต้นเรื่อง |
1. ต้นฉบับกระทู้ถาม
|