• สำหรับผู้พิการ
  • รูปแบบสี ก ก ก
  • ขนาดตัวอักษร -ก ก +ก
  • Language
    • ภาษาไทย
    • English
    • Français
    Facebook youtube

เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

logo
  • หน้าหลัก
  • แนะนำองค์กร
  • ข้อมูลประชาคมอาเซียน
    • ประวัติอาเซียน
    • วิสัยทัศน์อาเซียน
    • กฎบัตรอาเซียน
    • สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
    • ประธานอาเซียน
    • เลขาธิการอาเซียน
  • รัฐสภาไทยกับอาเซียน
    • การเยือนประเทศสมาชิก
    • การรับรองบุคคลสำคัญ
    • สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA
    • กลุ่มมิตรภาพ
    • พลเมืองอาเซียน
    • อินไซต์อาเซียนและรอบโลก
      • อินไซต์อาเซียน
      • รอบโลก
  • การวิจัยและพัฒนากฎหมาย
    • งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย
    • งานวิชาการ
      • ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
      • ประชาคมเศรษฐกิจ
      • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
    • เอกสารวิชาการอื่นๆ
  • FAQ
  • ติดต่อเรา
เว็บไซต์อื่นๆ
  • รัฐสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
กระทู้ถามเกี่ยวกับ
ตราสารอาเซียนของรัฐสภา
Loading...

นโยบายการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมเข้าสู่พลเมืองประชาคมอาเซียน

กระทู้ถามที่ 61/2554 วุฒิสภา
วันที่เสนอ 12 กันยายน 2554
สมัยคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล)
ประเภทกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
สถานภาพกระทู้ถาม กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา

ในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 13 (สมัยสามัญทั่วไป)


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2554
 

สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม

          กระทรวงศึกษาธิการในฐานะที่เป็นองค์กรหลัก มีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงานในสังกัดได้มีการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมพลเมืองเข้าสู่ประชาคมอาเซียนตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติการ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อให้พลเมืองของประเทศมีศักยภาพ และสามารถแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียนได้ แต่กลับไม่มีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา ไม่มีนโยบายกลางหรืองบประมาณสนับสนุนการดำเนินการ เพื่อเตรียมพลเมืองเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ทั้งนี้ หากมีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน จะสามารถนำพลเมืองของประเทศแข่งขันในเวทีประชาคมอาเซียนได้ ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า 
          รัฐบาลมีนโยบายในการเตรียมความพร้อมประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 อย่างไร ตลอดจนด้านประชาคมเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและความมั่นคง และด้านการศึกษามีการเตรียมความพร้อมอย่างไร

สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม

ประเด็นที่ 1 ด้านนโยบายการศึกษา
          รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดนโยบายการจัดการศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 2555 ภายใต้กรอบระยะเวลา 2 ปี โดยกระทรวงศึกษาธิการจะต้องปรับระบบบริหารจัดการภายในทั้งระบบ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกอันจะส่งผลให้สามารถพัฒนา 
5 ศักยภาพของพื้นที่ ใน 5 กลุ่มหลักสูตรใหม่ ให้สามารถแข่งขันใน 5 ภูมิภาคหลักของโลกได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          1) 5 ศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ (1) ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่ (2) ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ (3) ศักยภาพของภูมิประเทศ และทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ (4) ศักยภาพของศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที่ และ (5) ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่
          2) 5 กลุ่มหลักสูตรใหม่ ได้แก่ (1) ด้านเกษตรกรรม (2) ด้านอุตสาหกรรม (3) ด้านพาณิชยกรรม (4) ด้านความคิดสร้างสรรค์ และ (5) ด้านบริหารจัดการและการบริการ
          3) 5 ภูมิภาคหลักของโลก ได้แก่ (1) ทวีปยุโรป (2) ทวีปอเมริกา (3) ทวีปแอฟริกา (4) ทวีปออสเตรเลีย และ (5) ทวีปเอเชีย
          โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการนี้ จะนำไปสู่การยกระดับประเทศให้ก้าวขึ้นสู่
การพัฒนาอีกระดับหนึ่ง

ประเด็นที่ 2 ด้านการเตรียมความพร้อม
          1. การเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจ
          ได้มีการหารือกันภายในกระทรวงศึกษาธิการถึงความจำเป็นในการยกระดับองค์ความรู้ใหม่ที่ชัดเจน
ทั้งระบบให้กับประชาชน รวมถึงความจำเป็นในการวิเคราะห์กรณีการยกเลิกภาษีสินค้า ซึ่งได้ทยอยลดอัตราภาษีลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา จนเหลือร้อยละ 0 จำนวนประมาณ 8,000 รายการนั้น หากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ต่ำกว่า ประเทศไทยจะสามารถแข่งขันกับประเทศเหล่านั้นได้อย่างไร ทั้งนี้ จึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงระบบการผลิตของไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างยั่งยืน
          2. การเตรียมความพร้อมด้านการเมืองและความมั่นคง 
รัฐบาลมีความพยายามในการสร้างความร่วมมือและผสานผลประโยชน์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวเสมือนกลุ่มประเทศเดียวกัน
          3. การเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา 
              3.1 ปรับเปลี่ยนแนวทางการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นรูปแบบใหม่ จากเดิมที่เน้นการเรียนการสอนและให้ความสำคัญต่อหลักไวยากรณ์ เปลี่ยนเป็นเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ โดยเมื่อมีความรู้ภาษาอังกฤษถึงระดับสื่อสารได้แล้ว ก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับการพาณิชย์เพิ่มเติม เพื่อใช้ต่อยอดในการเข้าสู่การเป็นพลเมืองประชาคมอาเซียนต่อไป 
              3.2 ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งมีการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ โดยให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์พัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนต่อไป
              3.3 เตรียมความพร้อมให้กับผู้ได้รับทุนที่จะไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยการให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น ๆ ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ถึง 2 ปี ทั้งนี้ เมื่อไปศึกษาต่อแล้วจะต้องมีการเรียนรู้ศักยภาพของประเทศนั้น ๆ เพิ่มเติม และสามารถเป็นผู้แทนของประเทศไทยในการประสานงานเกี่ยวกับการค้ากับประเทศนั้น ๆ ในเบื้องต้นได้ โดยเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะต้องมีตำแหน่งงานรองรับเพื่อให้สอดคล้องกับกลไกการกำหนดอัตรากำลังพลของประเทศด้วย
              3.4 ปรับระบบการศึกษาให้เป็นระบบการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และก้าวสู่การแข่งขันกับต่างประเทศ โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบสินค้าไทยให้สอดคล้องกับรสนิยมและความต้องการของนานาประเทศ

เอกสารต้นเรื่อง 1. สรุปสาระสำคัญ



ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน
ASEAN Thailand 2019
สมัชชารัฐสภาอาเซียน
The ASEAN Secretariat
Inter-Parliamentary Union
กฎหมายในกลุ่มอาเซียน

กลุ่มงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานศูนย์ประชาคมอาเซียนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

โทร 022425900 ต่อ 7462

facebook   youtube

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1,287,342
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565)

Tawdis WCAG 2.0 (Level AA)

คลิกดูสถิติการเข้าชมเว็บไซต์สภาผู้แทนฯ
sitemap แผนผังเว็บไซต์

หน้าหลัก

แนะนำองค์กร

ข้อมูลประชาคมอาเซียน

● ประวัติอาเซียน

● วิสัยทัศน์อาเซียน

● กฎบัตรอาเซียน

● สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

● ประธานอาเซียน

● เลขาธิการอาเซียน

รัฐสภาไทยกับอาเซียน

● การเยือนประเทศสมาชิก

● การรับรองบุคคลสำคัญ

● สมัชชารัฐสภาอาเซียน AIPA

● กลุ่มมิตรภาพ

● พลเมืองอาเซียน

● อินไซต์อาเซียนและรอบโลก

○ อินไซต์อาเซียน
○ รอบโลก

การวิจัยและพัฒนากฎหมาย

● งานวิจัยและพัฒนากฏหมาย

● งานวิชาการ

○ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
○ ประชาคมเศรษฐกิจ
○ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

● เอกสารวิชาการอื่นๆ

FAQ

ติดต่อเรา

ภาพข่าวกิจกรรม

ข่าวสารอาเซียน

งานวิจัยและพัฒนากฎหมาย

กฎหมายเปรียบเทียบ

● รัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน

● การเสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ

● ความร่วมมือในภูมิภาคในเรื่องการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์

● ความร่วมมือทางอาญาในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

● พันธกรณีตาม ASEAN Economic Economy Blueprint 2025

● การศึกษาเปรียบเทียบกลไกระงับข้อพิพาทการลงทุนหรือกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

● การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

● กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่เป็นธรรมทางการค้า

● ทรัพย์สินทางปัญญา

● การยอมรับและการบังคับคดีตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศ

● การอำนวยความสะดวกทางการค้า

● พาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ของอาเซียน

● มาตรฐานแรงงานในอาเซียน

● กฎหมายตามพันธกรณีความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

● การยอมรับและการบังคับคดีให้เป็นไปตามคาพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งหรือพาณิชย์

● การรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารราชการ