ในช่วงต้นของการประชุม ที่ประชุมฯ ซึ่งมีนาย Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม และนาย Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา ทำหน้าที่เลขานุการการประชุม ได้ร่วมรับฟังการกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนจากประเทศสมาชิก จำนวน 40 ประเทศ ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง ในหัวข้อหลัก “เอาชนะโรคระบาดวันนี้และสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า : บทบาทของรัฐสภา (Overcoming the Pandemic Today and Building a Better Tomorrow : the Role of Parliaments)” จากนั้น ได้ร่วมกันพิจารณารับรองผลลัพธ์ของการประชุม ดังนี้
1. ที่ประชุมมีมติรับรองข้อมติ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
- ข้อมติของคณะ กมธ. สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (The Standing Committee on Peace and International Security) หัวข้อ “Parliamentary Strategies to Strengthen Peace and Security Against Threats and Conflicts Resulting from Climate-Related Disasters and Their Consequences” โดยมีประเทศสมาชิก จำนวน 8 ประเทศ รวมทั้ง ประเทศไทย ได้ตั้งข้อสงวนต่อเนื้อหาข้อมติบางส่วนด้วย
- ข้อมติของคณะ กมธ. สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Standing Committee on Sustainable Development) หัวข้อ “Mainstreaming Digitalization and the Circular Economy to Achieve the SDGs, Particularly Responsible Consumption and Production” ซึ่งมีประเทศสมาชิก จำนวน 2 ประเทศ ตั้งข้อสงวนต่อเนื้อหาบางส่วนของข้อมติ
- หัวข้อ “Rethinking and Reframing the Approach to Peace Processes with a View to Fostering Lasting Peace”ของคณะ กมธ. สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และ
- หัวข้อ “Leveraging Information and Communication Technology as an Enabler for the Education Sector, Including in Times of Pandemic” ของคณะ กมธ. สามัญสหภาพรัฐสภาว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในช่วงท้ายของการประชุม นาย Duarte Pacheco ประธานสหภาพรัฐสภา ในฐานะประธานการประชุมฯ และนาย Martin Chungong เลขาธิการสหภาพรัฐสภา ในฐานะเลขานุการการประชุมฯ ได้ร่วมกันสรุปผลลัพธ์ของการประชุมสมัชชาในครั้งนี้ โดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อเอาชนะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยไม่ทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลังโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง พร้อมทั้งเน้นย้ำใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านสันติภาพและความมั่นคง (Peace and Security) 2) ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 3) ด้านการเข้าถึงวัคซีน (Vaccine Access) และ 4) ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (Democracy and Human Rights)