วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานพิธีมอบรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2567 กล่าวรายงานโดย นางจงเดือน สุทธิรัตน์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2567 โดยมี คณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ปี 2567 คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการด้านวรรณกรรม ร่วมพิธี
สำหรับการประกวดรางวัลพานแว่นฟ้า ประเภทเรื่องสั้น รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้าเกียรติบัตรประธานรัฐสภา และเงินรางวัล 60,000 บาท ได้แก่ ผลงานเรื่อง คืนสุดท้ายของนักสร้างสารคดี โดย สาโรช แซ่ซึง
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า เกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 40,000 บาท ผลงานเรื่อง บุญคุณ (ไม่) ต้องทดแทน โดย คิรากร คัมคุณ ผลงานเรื่อง พระธาตุล้ม โดย ประเสริฐศักดิ์ ปัดมะริด
รางวัลชมเชย 10 รางวัล ได้รับเกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท ได้แก่ ผลงานเรื่อง กล้วย! โดย อโนมา สอนบาลี
ผลงานเรื่อง กำแพงคำ โดย ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย
ผลงานเรื่อง คนโบกธง โดย พิณพิพัฒน ศรีทวี
ผลงานเรื่อง ปลาหมอในบ่อกุ้งฝอย โดย ชิด ชยากร ผลงานเรื่อง ภาพลักษณ์ที่สะท้อนบนบานกระจก โดย ยันตะ เคียว
ผลงานเรื่อง ยี่สิบ โดย กวี ศรีธรรมานุกูล
ผลงานเรื่อง โรงงานผลิตหุ่นจำลอง โดย J.W. Langer
ผลงานเรื่อง ศรัทธาประชาสามัญชน โดย ชิตะวา มุนินโท
ผลงานเรื่อง สถานภาพที่ไม่ถูกแต่งตั้ง โดย นายเถื่อน และผลงานเรื่อง สามประสบ โดย ชูชาติ ครุฑใจกล้า
ประเภทบทกวี รางวัลชนะเลิศ ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า เกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล 60,000 บาท ได้แก่ ผลงานเรื่อง บ้านเมืองที่เราท่านอ่านก่อนโต โดย รังสิมันต์ จุลหริก
รางวัลรองชนะเลิศ 2 รางวัล ได้รับโล่รางวัลพานแว่นฟ้า เกียรติบัตรของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 40,000 บาท ได้แก่ผลงานเรื่อง จากดีเกฮูลู ถึงปูตูฮาลือบอ โดย สกล ผดุงวงศ์ และผลงานเรื่อง ต้นไม้ประชาธิปไตย โดย ชูชาติ ครุฑใจกล้า
รางวัลชมเชย 10 รางวัล ได้รับเกียรติบัตร ของประธานรัฐสภา และเงินรางวัล รางวัลละ 20,000 บาท ได้แก่ผลงานเรื่อง ความสามัญอันมินิมอล โดย ปรัชญา พวงเพ็ชร
ผลงานเรื่อง งานซ่อมแซมภาพวาดของจิตรกร โดย ดอกดาเลียสีแดง
ผลงานเรื่อง ‘ทาง’ ของพ่อ โดย บัญชา อ่อนดี
ผลงานเรื่อง ปมเชือกประชาธิปไตย โดย รินศรัทธา กาญจนวตี
ผลงานเรื่อง ภาพเขียนถ้ำ โดย พล พิมพ์โพธิ์
ผลงานเรื่อง ยุทธการม้าก้านกล้วย โดย เมธาวี ก้านแก้ว
ผลงานเรื่อง รกรากและฟากฝั่ง โดย วิศิษฐ์ ปรียานนท์
ผลงานเรื่อง เล่นตี่บนจุดต่าง โดย สุนิสา วิราจันทร์ ผลงานเรื่อง สวนในฝัน โดย นนทพัทธ์ หิรัญเรือง
และผลงานเรื่อง สาวทอหูก โดย สันดร แก้วเกิดมี
โอกาสนี้ ประธานรัฐสภา กล่าวให้โอวาทแก่ผู้ได้รับรางวัลว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มาเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2567 ในวันนี้ ในนามของรัฐสภา ขอแสดงความยินดีกับเจ้าของผลงานทุกท่านที่ได้รับการตัดสิน จากคณะกรรมการให้ได้รับรางวัลในปีนี้ และขอขอบคุณผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และผลัดกันให้แวดวงวรรณกรรมการเมือง พัฒนาควบคู่ไปกับสังคมไทยไทยเสมอมา การประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้าในปีนี้ ได้ดำเนินการมาเป็นปีที่ 23 ได้ผ่านช่วงของการเมืองไทยมาหลายยุคหลายสมัย ผ่านเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ มากมาย แต่ละช่วงของเหตุการณ์ ได้สะท้อน อยู่ในผลงานวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้าของทุก ๆ ปี การจัดงานในวันนี้ สัมผัสได้ถึงความตั้งใจของผู้ส่งผลงามเข้าประกวด คือผู้เขียนต้องการให้ผลงานเรื่องสั้นหรือบทกวีของตน ได้ถ่ายทอดเผยแพร่ให้กับผู้อ่านทั่วประเทศ ได้เห็นถึงมุมมองความคิดและความคาดหวัง โดยสำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นผู้รวมเล่มและตีพิมพ์ เพื่อแจกจ่ายให้กับบุคคลในวงงานรัฐสภา ประชาชนทั่วไป สถาบันการศึกษา และห้องสมุดต่าง ๆ ให้ทุกคนได้อ่านผลงาน ที่จะช่วยขยายประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ที่สำคัญผลงานที่ได้รับรางวัลในปีนี้ นับเป็นผลงานที่มีคุณค่าเหมาะสมความเป็นวรรณกรรมการเมือง โดยเฉพาะความเป็นรางวัลพานแว่นฟ้า เพื่อให้บทกวีและเรื่องสั้นดี ๆ ได้ดำรงอยู่ต่อไป
“ต้นไม้ประชาธิปไตยจะออกดอกออกผลงดงามได้ คนปลูกต้องรัก ใส่ใจ ด้วยการใส่ปุ๋ยและรดน้ำอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาธิปไตยเติบโตและออกดอกผล ประชาธิปไตยจะดำรงอยู่ได้ต้องมีความรักในประชาธิปไตย คือปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้ในประชาธิปไตย ดูแลประชาธิปไตย เพื่อให้ประชาธิปไตย มีรากที่แข็งแรง เช่นการส่งเสริมเรื่องสั้นและบทกวีทางการเมืองเพื่อส่งเสริมให้คนมีจินตนาการเพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมประชาธิปไตย“
ในโอกาสนี้ ขอขอบคุณคณะกรรมการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้จัดโครงการนี้จนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ขออำนวยพรให้ทุกท่านจงประสบความสุขความเจริญ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ และสังคมส่วนรวมให้เจริญก้าวหน้าสืบไป
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ดำเนินการจัดการประกวดวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้ามาตั้งแต่ปี 2545 โดยให้ความสำคัญถึงคุณค่าและบทบาทของวววรรณกรรมการเมืองในการธำรงรักษา และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนการให้ความสำคัญแก่สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในด้านการแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองในรูปของวรรณกรรม โดยได้ดำเนินการปีนี้เป็นปีที่ 23 การประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งในเรื่องสิทธิ หน้าที่ ความเสมอภาค ความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นพื้นฐานสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย ผ่านงานวรรณกรรม โดยในปีนี้ มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด จำนวน 786 ผลงาน แบ่งเป็นประเภทเรื่องสั้น จำนวน 318 ผลงาน และบทกวี จำนวน 468 ผลงาน ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสียสละเวลา และใช้ความรู้ความสามารถ ความละเอียดรอบคอบ ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ในการคัดเลือกผลงานตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพิจารณาผลงานที่ส่งเข้าประกวด โดยการพิจารณาแบ่งออกเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบกลั่นกรอง โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง รอบคัดเลือก โดยคณะอนุกรรมการคัดเลือก และรอบตัดสิน โดยคณะกรรมการรางวัลพานแว่นฟ้า ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาตัดสินผลงานเรื่องสั้นและบทกวีเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยประกาศผลการตัดสิน เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 67