ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต พร้อมทั้ง ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญ บทบาท และภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา”

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 09.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต พร้อมทั้ง ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญ บทบาท และภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา” กล่าวรายงานโดย ว่าที่ ร.ต.ต. อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)   คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร น.ส.นภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) คณะอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา (อ.ก.ร.)  คณะผู้บริหาร และบุคลากรสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมพิธี
 
โอกาสนี้ ประธานรัฐสภา  กล่าวเปิดโครงการใจความสำคัญว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการเสริมสร้างศักยภาพการบริหารงานภาครัฐด้วยการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จะช่วยให้ระบบงานมีประสิทธิภาพนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมแทนที่การทำงานแบบดั้งเดิม สามารถบริหารกระบวนการทำงานที่รับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างราบรื่น อันจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ มีความก้าวหน้าจากการเปลี่ยนแปลงบนพื้นฐานความรู้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต การที่รัฐสภาหรือสถาบันนิติบัญญัติเป็นเสมือนตัวแทนของประชาชนในการควบคุมตรวจสอบการบริหารประเทศ การตรากฎหมายที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและสร้างความเป็นธรรมในสังคมที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาในฐานะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างระบบงานและบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสมาชิกรัฐสภาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติอย่างเท่าทันและเหมาะสม
 
จากนั้น  ประธานรัฐสภา  ปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ความสำคัญ บทบาท และภารกิจของคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา” ว่า ในฐานะที่ได้ทำหน้าที่ประธาน ก.ร. ตั้งแต่ ก.ค. 66 จนถึงปัจจุบัน ได้เห็นการทำงานของ ก.ร. ที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรเกี่ยวกับการบริหารบริหารบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการรัฐสภา ซึ่งได้มีมติที่สำคัญ ได้แก่
1. กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล และมีการรายงานผลการดำเนินการต่อ ก.ร. ทุกปี   โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ประเด็น ได้แก่
(1) การพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อมุ่งสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูงตามหลักธรรมาภิบาล
(2) การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรเพื่อสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติ
(3) การเสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานที่ยึดหลักคุณธรรม หลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
(4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างองค์กรที่มีความสุข
 
2. การกำหนดมาตรการบริหารกำลังคน และมีการรายงานผลการดำเนินการต่อ ก.ร. ทุกปี ซึ่งที่ประชุม ก.ร. ได้เห็นชอบมาตรการบริหารกำลังคนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีมาตรการในการบริหารกำลังคนของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาให้สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจ แผนปฏิบัติราชการ และยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมอัตรากำลังและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่มีผลผูกพันงบประมาณในระยะยาวได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
3. ระเบียบ ก.ร. ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบร่างระเบียบฯ เพื่อปรับปรุงอัตราเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญ นอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งที่ได้รับตามกฎหมายเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาอันเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการรัฐสภาสามัญไม่ได้ปรับขึ้นมาเป็นระยะเวลา 12 ปี ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อเป็นการรักษากำลังคนคุณภาพ และจูงใจบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งไม่กระทบกับสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายบุคลากรต่องบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เนื่องจากค่าใช้จ่ายบุคลากรจะเป็นการเบิกค่าใช้จ่าย ตามจริงหรือได้รับอนุมัติตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาควรต้องพิจารณาคุณภาพงาน ปริมาณงาน ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่และการรักษาวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ ประกอบการพิจารณาให้เงินค่าตอบแทนพิเศษด้วย นอกจากนั้น ในการประชุม ก.ร. ยังได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบรัฐสภาว่าด้วยพนักงานราชการฯ และร่างระเบียบรัฐสภาว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของลูกจ้างประจำของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุภารกิจตามความคาดหวังให้มากยิ่งขึ้น โดยการปรับฐานค่าตอบแทนพิเศษนี้สอดคล้องและเหมาะสมกับอัตราค่าครองชีพในปัจจุบันที่มีการปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อและสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับภารกิจของ ก.ร. ที่จะต้องขับเคลื่อนต่อไป ได้แก่
1. การดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายสำนักงานสีเขียว (Green Office) อย่างต่อเนื่อง การขอความร่วมมือให้บุคลากรใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเป็นการยกระดับให้รัฐสภามุ่งสู่การเป็นรัฐสภาสีเขียว หรือ Green Parliament อย่างยั่งยืน
2. การจัดการเรื่องการเข้าออกพื้นที่อาคารรัฐสภาและการรักษาความปลอดภัยบริเวณรอบอาคารรัฐสภา การรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งการรองรับหรือเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอาคารรัฐสภา
3. การจัดการเรื่องการเข้าเยี่ยมชมอาคารรัฐสภา พิพิธภัณฑ์รัฐสภา และการเข้าเยี่ยมชมการประชุมสภา ซึ่งส่วนราชการสังกัดรัฐสภาจะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับระเบียบดังกล่าว โดยจะพิจารณาให้รัฐสภาเป็นสถานที่ในการรองรับการเยี่ยมชมจากประชาชนและบุคคลสำคัญจากภายในและภายนอกประเทศ ตนมีความประทับใจที่รัฐสภามีโครงการเสริมสร้างศักยภาพของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในครั้งนี้ เพราะทุกคนหนีการเปลี่ยนแปลงไปไม่พ้น แต่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และเชิญหน่วยงานเอกชนที่มีการบริหารงานที่ประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไป  ขอฝากให้รัฐสภา บริหารงานอย่างเป็นโซ่ข้อกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานฝ่ายนิติบัญญัติที่มีธรรมาภิบาล โซ่ข้อกลางเชื่อมจากต้นน้ำคือประชาชน โซ่ข้อกลางคือฝ่ายนิติบัญญัติผู้พิจารณากฎหมายให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งออกไปสู่ปลายน้ำ คือ ประชาชน สังคม และประเทศชาติ โซ่ข้อกลางนี้ต้องลดขั้นตอนที่มีความซับซ้อนซ้ำซ้อนลงแต่ไม่กระทบกับประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน รวมทั้งเชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน  เชื่อมโยงความคิดของคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นเก่า เชื่อมโยงระบบดิจิทับสู่ระบบ AI  ให้มีความสอดคล้องและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ และจะทำให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจในประชาธิปไตยของไทย
 
จากนั้น เป็นการอภิปรายหัวข้อ “ทิศทางและความท้าทายในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบันและอนาคต”โดยได้รับเกียรติจาก น.ส.วิริยา เนตรน้อย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นายอดิศร สมาธิมานันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคล บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน ) นายศาสตรา มังกรอัศวกุล รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย นายนิวัฒน์ งามวิลัย นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานเลขานุการ ก.ร.
 
โครงการดังกล่าวจัดโดย สำนักงานเลขานุการ ก.ร. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่พร่อมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและรับฟังและนำข้อคิดเห็น ปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะจาก ก.ร. ผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคคลของส่วนราชการสังกัดรัฐสภามาเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติราชการ และการปฏิบัติหน้าที่ตามยุทธศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องของแต่ละส่วนราชการสังกัดรัฐสภา กำหนดระยะเวลาการสัมมนาจำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 27 - 29 ก.ย.67  ณ อาคารรัฐสภา และสวนนงนุชพัทยา จ.ชลบุรี


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบีบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia