ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นเรื่อง ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... จากประธานคณะ กมธ.การศึกษา และตัวแทนพรรคการเมือง

วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 11.45 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... จากนายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะ กมธ.การศึกษา และผู้แทนพรรคการเมือง 4 พรรค ประกอบด้วยพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคกล้าธรรม เนื่องจาก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ถือได้ว่าเป็นพ.ร.บ. ฉบับปฏิวัติการศึกษา เป็นกฎหมายสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก ให้เท่าเทียม ทันยุค ซึ่งปัจจุบันมนุษย์ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นมากมาย และกว้างขวาง อันส่งผลให้เกิดการลดลงของประชากร ความเป็นอยู่ของคนในสังคมที่ยากลำบากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ในสังคม ล้วนเกิดจากอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมทั้งสิ้นการศึกษานั้น จึงเป็นหลักประกันที่สำคัญ ที่จะสร้างองค์ความรู้ ความสามารถ และภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชาติ จากการที่ คณะกมธ.การศึกษา โดยการนำของ นายโสภณ ชารัมย์ ประธานคณะกมธ.การศึกษา ได้ลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างครบถ้วนและได้นำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์เพื่อให้ครอบคลุมทุกประเด็น และสนองตอบต่อความต้องการของคนในสังคมอย่างแท้จริง จึงมั่นใจว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างตรงจุด และตรงประเด็น ปัจจุบันจำนวนสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานศึกษาขนาดเล็กว่า 14,000 แห่ง และพบว่ามีปัญหาการจัดการศึกษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมด้านบุคลากร สื่อวัสดุอุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้ดี จึงออกจากระบบการศึกษา ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาไม่ว่าจะกำหนดให้มีการใช้ทรัพยากรด้านครู สื่อการเรียน ทรัพยากรอื่น ๆ ร่วมกันในรูปของกลุ่มโรงเรียน เพื่อสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม และให้ความสำคัญต่อการลดภาระของผู้ปกครอง และผู้เรียน โดยจัดให้มีระบบธนาคาร หน่วยกิตแห่งชาติขึ้น เพื่อผู้เรียนสามารถนำผลการเรียน มาสะสมเทียบโอนและใช้ประโยชน์ในการเพิ่มคุณวุฒิการทำงานและการศึกษาต่อได้ สำหรับการจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย ต้องให้ควานสำคัญกับการศึกษาของเด็กปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สามารถกำหนดคุณสมบัติของคนเกือบจะทั้งหมด ปัจจุบันปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ทำให้เด็กส่วนใหญ่ในท้องถิ่นไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ต้องดิ้นรนเพื่อปากท้อง ออกจากบ้านเพื่อหางานทำ ความผูกพันกับพ่อแม่แทบจะไม่มีเวลา จึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาในระดับปฐมศึกษานอกจากนี้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็น 2 ระบบ คือ การศึกษาในระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างความเสมอภาคทางความรู้สึกและให้ความสำคัญของระบบทั้งสองอย่างเท่าเทียมกันในการจัดการศึกษาขั้นพื้นตานนั้น ยังระบุให้เป็นการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมถึงอาชีวศึกษา (วุฒิ ปวช.) เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนฟรี สำหรับผู้ที่ถนัดสายสามัญ ก็จะถูกพัฒนาให้เป็นมันสมองของชาติ และผู้ที่ถนัดทักษะอาชีพ ก็จะเป็นกลไกสำคัญของตลาดแรงงานที่มีคุณภาพ และสร้างรายได้ ยกฐานะทางเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติและยังมีการปฏิวัติอีกหลาย ๆ เรื่อง โดยที่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... แบ่งออกเป็น 11 หมวด และบทเฉพาะกาล รวมจำนวน 128 มาตรา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวภายหลังรับยื่นหนังสือว่า ขอขอบคุณประธาน กมธ.การศึกษา และพรรคการเมืองต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งทุกท่านทราบว่าเรื่องการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งของประเทศ การศึกษาเป็นการพัฒนาประเทศ พัฒนาคน แล้วคนก็จะไปพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม พัฒนาประเทศชาติ ถ้าหากการศึกษาล้าหลังอย่างอื่นก็ล้าหลังไปด้วย ดังนั้น การศึกษาเป็นเรื่องของมนุษยชาติ ถ้าพัฒนาการศึกษาไม่ได้พวกเราทุกคนก็อยู่ในโลกนี้ไม่ได้เช่นกัน ทุกคนมีความห่วงใยเกี่ยวกับการศึกษาเพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตนเชื่อว่าทุกคนคงจะถอดบทเรียนจากการศึกษาที่ผ่านมา และดูการศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ที่การศึกษามีความก้าวหน้าเช่น ประเทศสิงค์โปร์ขึ้นชื่อว่าการศึกษามีคุณภาพสูง เนื่องจากได้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อจัดระบบการศึกษา เพราะความเชื่อที่ว่าประชากรคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในประเทศ ทำให้ประเทศมีความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ตนในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร จะบรรจุ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติที่พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอมาในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วที่สุด เพื่อจะนำมาสู่การพิจารณาต่อไป แต่การประชุมสมัยนี้คงไม่ทันแล้ว อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าพวกเราทุกคนจะเห็นการปฏิรูปการศึกษาของไทยต่อไป
ด้าน นายโสภณ ซารัมย์ กล่าวว่า พรรคการเมืองต่าง ๆ โดยการนำของพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคกล้าธรรม ได้รับความกรุณาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรมารับร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... เพราะเห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ และร่าง พ.ร.บฉบับนี้เป็นร่างที่จะปฏิวัติการศึกษาของชาติให้สำเร็จ และหวังว่าจะได้รับความกรุณาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรในการที่จะบรรจุร่างดังกล่าวให้เร็วที่สุดในสมัยการประชุมครั้งถัดไป และผ่านกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว เพื่อนำไปพิจารณาในชั้นกมธ. และหวังว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ในปี 2569


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบีบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia