ประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดการจัดการแข่งขันนกปรอดหัวโขน (นกกรงหัวจุก) "ก้าวที่กล้า สานฝันสู่เสรี" ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ณ อาคารรัฐสภา

Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
Image
วันพุธที่ 22 มกราคม 2568 เวลา 10.30  นาฬิกา ณ บริเวณสนามหญ้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดการแข่งขันนกปรอดหัวโขน (นกกรงหัวจุก) "ก้าวที่กล้า สานฝันสู่เสรี"  โดยมี นายสุรเทพ บุญญวัฒนวณิชย์ นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุกแห่งประเทศไทย กล่าวรายงาน โอกาสนี้ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมพิธี

ในการนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดงานใจความตอนหนึ่งว่า คุ้นเคยกับนกกรงหัวจุกมานาน ตั้งแต่ยังไม่มีการประกวด เคยมีโอกาสเลี้ยงสมัยที่ศึกษาในระดับประถม ความสวยงามของนกกรงหัวจุกเป็นเรื่องที่ดีงามมาก ถ้าสามารถที่จะมีการอนุญาตเพาะเลี้ยงนกกรงหัวจุก อนุญาตให้ไม่เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง การคุ้มครองโดยธรรมชาติกับการคุ้มครองโดยมนุษย์ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นนั้นแตกต่างกัน เชื่อว่าความสามารถของมนุษย์โดยเฉพาะคนไทย ที่มีความสามารถยอดเยี่ยมในการผสมนกเขาได้ดี สามารถที่จะเลือกให้นกเกิดเสียงดี มีราคาตัวละ 2 ล้านบาทได้ เชื่อว่าถ้ามีการปลดล็อคนกกรงหัวจุก ไม่ใช่สัตว์ป่าคุ้มครอง แต่เป็นสัตว์ป่าที่ได้รับการดูแลอย่างดี น่าจะเป็นประโยชน์และขยายพันธุ์ได้มากกว่าธรรมชาติ เนื่องจากขณะนี้สิ่งแวดล้อมทำลายธรรมชาติ อาหารของนกลดน้อยลงไป แต่ถ้ามนุษย์เลี้ยงสามารถจัดสรรอาหารได้ คนทำอาหารเลี้ยงนกร่ำรวยได้ เป็นอุตสาหกรรม เกิดตั้งแต่คนเพาะเลี้ยง คนทำกรงหากมีฝีมือ ก็สามารถขายได้ในราคาแพง เป็น Soft Power เป็นความชอบของคนที่ประเมินราคาไม่ได้ การจัดการแข่งขันครั้งแรกที่รัฐสภาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะสภาใครเสียงดีก็สามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ทั้ง 500 ท่านในสภาต้องมีเสียงที่ดี เพราะเสียงที่ดีมาจากการเพาะพันธุ์ ฝึกฝน เสียงที่ดีก็พัฒนาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรี เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปได้ เพราะฉะนั้น สภากับสมาคมร่วมมือกันได้เพราะต่างคนต่างใช้เสียงเช่นเดียวกัน การเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกสามารถเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ทั้งในรูปแบบธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ ตลอดทั้งยังมีการขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ และสร้างอาชีพให้แก่คนไทยในหลายพื้นที่อีกมากมาย รัฐสภายินดีสนับสนุนส่งเสริมร่วมมือกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการสานฝันสู่เสรี อนาคตที่ดี เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในช่วงเทศกาลนกกรงหัวจุกแข่งขันกัน อยากส่งเสริมให้มีการแข่งขันทั่วประทศ มิใช่ภาคใต้อย่างเดียว การพัฒนาอุตสาหกรรมนกกรงหัวจุกพัฒนาครบวงจร เป็นการสร้างชื่อเสียง ให้กับคนเลี้ยง ครอบครัว และท้องถิ่น ตลอดจนระดับประเทศ การแข่งขันนกกรงหัวจุกครั้งนี้ สมาคมอนุรักษ์และเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกแเห่งประเทศไทยจัดขึ้นโดยได้รับการผลักดันจากรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง ให้ได้รับความร่วมมือจากรัฐสภา และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมมือกันจัดการแข่งขันครั้งนี้ ในนามประธานรัฐสภา ขอขอบคุณทุกฝ่าย และขอชื่นชมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รัฐสภายินดีสนับสนุน มิว่าจะเป็นการออกกฎหมาย หรือสนับสนุนอื่น ๆ เพราะ เป็นผลประโยชน์ของประชาชน

โอกาสนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบประกาศเกียรติคุณให้กับกรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันนกกรงหัวจุก พร้อมทั้ง รับมอบของที่ระลึกจากนายกสมาคมอนุรักษ์และเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกแเห่งประเทศไทย จากนั้น ได้ร่วมเดินชมบูธนิทรรศการนกปรอดหัวโขนและสินค้า OTOP จากทุกภาคส่วน

สำหรับการแข่งขันดังกล่าวจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 23 มกราคม 2568 โดยสมาคมอนุรักษ์และเพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกแเห่งประเทศไทยร่วมมือกับรัฐสภา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเลี้ยงนกปรอดหัวโซน และสร้างความสามัคคีในหมู่ประชาชน รวมถึงสนับสนุนการอนุรักษ์พันธ์นกและธรมชาติอันเป็นมรดกของชาติ ซึ่งจะมีการจัดเสวนาทางวิชาการ เพื่อศึกษาเป็นข้อมูลในการผลักดัน ถอดถอนบัญชีนกปรอดหัวโขน ลําดับที่ 576 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และกฎหมายกําหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 2567


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia