ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวต้อนรับคณะผู้แทน ที่เข้าร่วมประชุมเสมือนจริง (Virtual Meeting) ระหว่างคณะผู้แทนรัฐสภาไทยกับคณะผู้แทนคณะ กมธ.รัฐสภาสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Parliament Committee of the European Free Trade Association : EFTA)
วันจันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวต้อนรับคณะผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมเสมือนจริง (Virtual Meeting)
ระหว่างคณะผู้แทนรัฐสภาไทยกับคณะผู้แทนคณะ กมธ.
รัฐสภาสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (Parliament Committee of the European
Free Trade Association : EFTA)
ในการนี้ นายอันวาร์ สาและ ประธานคณะ กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ประธานคณะ กมธ.การอุตสาหกรรม นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน และนายอิสระ เสรีวัฒนวุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย นาง Helene Budliger Artieda เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิสประจำประเทศไทย นาง Kjersti Rodsmoen เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรนอร์เวย์ประจำประเทศไทย และคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจน ผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ร่วมประชุม
โดย นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวต้อนรับสมาชิกรัฐสภาและผู้ร่วมงานของคณะ กมธ.รัฐสภา EFTA สู่การประชุมเสมือนจริงครั้งแรกที่มีการจัดขึ้นโดยหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะยังคง ส่งเสริมความผูกพันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และขยายความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีนี้ที่ผ่านมา ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ได้เผชิญกับ ปัญหาท้าทายอันยากลำบากและไม่เคยปรากฏมาก่อนจากการแพร่ระบาด
ของโรคโควิด-๑๙ ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนโลกไปสู่ยุคใหม่ที่ไม่เคยประสบมาก่อน อย่างน่าตกใจ การประชุมเสมือนจริงได้เป็นวิถีชีวิตแบบ “ปกติใหม่” ไปแล้วขณะนี้ แม้ว่าเราปรารถนาจะได้พบกับท่านทั้งหลายก็ตาม อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตาม เราจะจัดการกับอุปสรรคอันหลากหลาย ที่เผชิญอยู่ และสามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ไปได้ด้วยกันในอนาคตข้างหน้า
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายที่ครอบคลุมหลายด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง สำหรับด้านการค้าและการลงทุนนั้น เราได้เจรจาเรื่องความตกลงการค้าเสรีไปแล้ว ๒ รอบ คือ ใน พ.ศ. ๒๕๔๘ และ ๒๕๔๙ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในช่วง ๗ ปีที่ผ่านมานี้กระบวนการได้ชะงักลง ๒ ครั้ง อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย
ทั้งนี้ ภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในเดือน มี.ค. ๖๓ ได้มีการรื้อฟื้นการ เจรจากันใหม่อีกครั้ง โดยประธานรัฐสภามีความยินดีที่ประเทศไทยได้รับ หนังสือจากประเทศสมาชิก EFTA ที่มีมาถึงกระทรวงพาณิชย์ของไทยใน เดือน ธ.ค. ๖๒ และเข้าใจว่าขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาหาข้อมูลอย่าง ครบถ้วนสมบูรณ์โดยกระทรวงพาณิชย์เพื่อสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ ที่ดำรงอยู่ขณะนี้ ด้วยการพิจารณามาตรการด้านสุขอนามัยและ ด้านเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้ทั้งในระดับชาติและระดับโลก
ในการนี้ จึงสามารถให้ความมั่นใจได้ว่า รัฐสภาไทยจะสนับสนุนรัฐบาลด้วยการให้ ความเห็นชอบหรือให้สัตยาบันความตกลงการค้าเสรี EFTA-ประเทศไทย เมื่อมีการนำเสนอต่อรัฐสภาและในฐานะสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติ
เรายอมรับว่า ความสัมพันธ์ที่ดีของเรามิได้จำกัดอยู่เพียงด้านการค้าและ การลงทุนเท่านั้น แต่เราจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความผูกพันที่มีอยู่ ในระดับรัฐสภาต่อรัฐสภาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยอาศัยกลุ่มมิตรภาพสมาชิก รัฐสภา มีการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกัน และที่สำคัญที่สุดคือ การเชื่อมความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชนโดยอาศัยกิจกรรม และโครงการหลากหลายที่เราจะร่วมกันออกแบบและกำหนดขึ้น
ทั้งนี้ ประธานรัฐสภา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีการประชุมพบปะกับทุกท่าน โดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม สำหรับการประชุมเสมือนจริงครั้งนี้ เราสามารถร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะ แบ่งปันความคิด และประสบการณ์
อันจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุด ของประชาชนของเราต่อไป
นายอันวาร์ สาและ ประธานคณะ กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา ได้กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศไทยกับ EFTA จะสามารถส่งเสริมและพัฒนาได้ในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ภาควัตถุดิบ การผลิตพลังงานสะอาด และพลังงานทางเลือก สำหรับความสัมพันธ์ ระหว่าง EFTA กับรัฐสภาไทยนั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสมาชิกรัฐสภาไทย และ EFTA จะมีโอกาสเข้าร่วมประชุมรัฐสภาระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมประเด็นที่เป็น ประโยชน์ร่วมกันของรัฐสภา ประชาชนชาวไทย และ EFTA อีกทั้งยังหวังว่า ภายหลังจากการประชุมเสมือนจริงครั้งนี้จะมีผลการหารือที่มีแนวคิดเชิงบวก และนำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อบรรลุประโยชน์ร่วมกันต่อไป
นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ประธานคณะ กมธ.การอุตสาหกรรม กล่าวแสดง ความเชื่อมั่นว่าการมีส่วนร่วมของรัฐสภาในการหารือ ติดตาม และให้ความเห็นใน การเจรจาทำความตกลงเขตการค้าเสรีจะเป็นส่วนสำคัญต่อผลการเจรจาให้ราบรื่นและ เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันหลังจากที่ EFTA มีผลบังคับใช้แล้ว
โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นสัดส่วนของภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
นายสุเทพ อู่อ้น ประธานคณะ กมธ.การแรงงาน กล่าวว่า จากการประชุมเสมือนจริงครั้งนี้ จะส่งผลให้เราสามารถขยายความร่วมมือด้านแรงงานกับคณะ กมธ.รัฐสภา สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป โดยเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ และพลิกโฉมเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทุนมนุษย์อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป