ประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปี 2568 กับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเพื่อการสนับสนุนภารกิจด้านนิติบัญญัติอย่างมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม CB 406 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และได้ร่วมลงนามกับ ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยมี พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา ประธาน อ.ก.ร.ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานราชการของรัฐสภา ลงนามเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง นายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร และคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ร่วมพิธี
 
โอกาสนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ใจความว่า มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมพิธีลงนามในวันนี้ ในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนภารกิจด้านนิติบัญญัติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งภารกิจของสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา คณะกมธ. และคณะอนุกมธ. คณะต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งยังได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมตามภารกิจของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เป็นอย่างดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น สามัคคี ร่วมมือร่วมใจ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกคนที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้การนำของเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นอกจากแนวทางการปฏิบัติราชการตามที่กำหนดในคำรับรองแล้วนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องการฝากไว้ คือ
 
1. ขอให้บุคลากรสำนักงานฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน และกระบวนการนิติบัญญัติ เพื่อพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุล สร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสังคมและชุมชน ความร่วมมือดังกล่าวส่งผลถึงความมั่นคงในสังคมและประเทศชาติ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ

2. ขอให้ผู้บริหาร เป็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน ตั้งใจทำงานให้มีประสิทธิภาพ และทำงานด้วยความโปร่งใส โดยยึดหลักคุณธรรรมและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย และการที่สำนักงานฯ ได้รับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ขอให้รักษาคุณภาพในการทำงานให้ได้รับรางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในทุก ๆ ปี
 
3. ขอให้ผู้บริหารและข้าราชการทุกคนร่วมกันให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดรัฐสภาประชาธิปไตย (Indicator for Democratic Parliaments) ของสหภาพรัฐสภา (Inter - Parliamentary Union : IPU) เป้าหมายที่ 3 รัฐสภาที่มีความโปร่งใส และเป้าหมายที่ 4 รัฐสภาที่ให้บริการตอบสนองประชาชนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการแก่ผู้รับบริการ และประชาชน สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมให้ความสำคัญนำนโยบายเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่คำนึงถึงความสมดุลใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการยกระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของส่วนราชการ โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงและลดขั้นตอน การเชื่อมโยง การแบ่งปันข้อมูล/บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การยกระดับการทำงานแบบเชิงรุก ส่งเสริมนวัตกรรม วิเคราะห์บทเรียนจากการดำเนินงาน การยกระดับให้รัฐสภามุ่งสู่การเป็นรัฐสภาสีเขียว หรือ Green Parliament อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการจัดระบบนิเวศในการทำงทำงาน เพื่อสร้างบรรยากาศในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนับสนุนให้มีการสร้างนวัตกรรมภายในหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม
 
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง กล่าวว่า ขอเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) พัฒนาบุคลากร โดยการเร่งแก้ไขหลักเกณฑ์ในการสอบเข้าบรรจุสำนักงานฯ ที่ไม่ต้องอ้างอิงกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งระหว่าง 10 ปี ที่ผ่านมา สำนักต่าง ๆ ขาดอัตรากำลังอยู่ประมาณ 200 ตำแหน่ง โดยใช้การผ่านเกณฑ์ ก.พ. ก่อน สำนักงานฯ จึงควรกลับมาใช้ข้อสอบของฝ่ายนิติบัญญัติเอง เนื่องจากเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะมีความเป็นอิสระของตนเอง และมีคณะกรรมการออกข้อสอบ และตรวจข้อสอบ อย่างโปร่งใส
 
ด้านนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง กล่าวว่า ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากร่างกฎหมายที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปสู่ภาคประชาชนของสำนักงานฯ  ซึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 กำหนดให้ก่อนที่จะบรรจุระเบียบวาระกฎหมายใดเข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายนั้น ๆ จะต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์หรือการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อน โดยขณะนี้มีเพียงกรรมการฯ เท่านั้นซึ่งเจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอกับงาน จึงขอเสนอให้สำนักงาน ฯ ตั้งกลุ่มงานขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบีบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia