ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.15 นาฬิกา ณ สถาบันพระปกเกล้า  ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ  นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 26 ประจำปี 2567  เรื่อง "สร้างสะพานประชาธิปไตยจากฐานราก เพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย (Building Bottom-up Democracy for Thailand's Sustainability)" ผ่านระบบออนไลน์ โดยมี นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวรายงาน ในการนี้ ผู้บริหารสถาบันพระปกเกล้า เข้าร่วมในพิธี
 
โอกาสนี้  นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา กล่าวเปิดใจความว่า ในนามประธานรัฐสภา และในนามประธานสภาสถาบันพระปกเกล้าผมมีความยินดี และรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 26 เรื่อง "สร้างสะพานประชาธิปไตยจากฐานรากเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย" และขอขอบคุณผู้มีเกียรติทุกท่าน ที่เห็นความสำคัญในการเข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ ตลอดจนนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้พื้นฐานของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพลังของประชาธิปไตยจากฐานรากในการพัฒนาประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะและเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ในการนำประชาธิปไตยจากฐานรากมาใช้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นและยั่งยืนเมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยนั้น ย่อมมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่จะกล่าวถึงคำว่า "พลังมหาชน" ซึ่งคำดังกล่าวมีที่มาจากความชอบธรรม 2 แหล่งด้วยกัน"ความชอบธรรมจากบนสู่ล่าง" หมายถึง ความชอบธรรมจากกลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งมีอำนาจในการบริหารจัดการในฐานะที่มีความสามารถมากกว่า "ความชอบธรรมจากฐานราก" หมายถึง ความชอบธรรมจากประชาชน ในฐานะปัจเจกชนที่มีอำนาจในตนเอง จึงจะมีอำนาจในการบริหารจัดการชีวิตของตนเอง ทั้งนี้ หากกล่าวถึงการพัฒนานโยบายและประเทศ มักพบว่าเป็นการพัฒนาจากบนสู่ล่าง เป็นการริเริ่มจากองค์กรที่มีอำนาจ เช่น กลุ่มบุคคลหรือพรรคการเมืองซึ่งแม้ว่าจะเกิดจากการรวมกลุ่มกันของประชาชน แต่อย่างไรก็ดี พรรคการเมืองเองก็อาจถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าเป็นองค์กรที่เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจหรือกลุ่มผู้ที่มีฐานะรวมตัวกันเข้ามาแสวงหาอำนาจ และใช้อำนาจนั้นในแนวทางเพื่อขวางกั้นการพัฒนาการมอง "ประชาธิปไตยจากบนสู่ล่าง" จึงเป็นมุมมองที่อาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาทุกเรื่อง เนื่องจากบางครั้งอาจนำ ไปสู่ความผิดปกติและใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้ แต่ "ประชาธิปไตยจากฐานราก" ซึ่งหมายถึงประชาชนในฐานะปัจเจกชนและพลเมืองที่รวมตัวกัน ทำให้เกิดอำนาจและพลังที่แข็งแกร่งสามารถนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างมั่นคงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นในสังคมก็มักจะเกิดคำถามเกี่ยวกับประชาธิปไตยจากบนสู่ล่าง ดังเช่นสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งก่อให้เกิดแรงกระตุ้นชุมชนและสังคมให้รวมตัวกัน เพื่อนำเสนอข้อมูลและต่อยอดแนวความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาการเมืองแบบใหม่ในวิถีทางของตนลงที่เรียกว่า การเมืองในชุนหรือพื้นที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบที่ปรากฎผลเด่นชัด ได้แก่ การมีท้องถิ่นและภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งเกิดการยอมรับในความแตกต่าง ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะในหลายชุมชนที่มีการยอมรับในอัตลักษณ์และความหลากหลาย เข้าใจต่อความแตกต่างเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมในการอยู่ร่วมกัน จึงเรียกได้ว่าเป็นการเมืองที่ก้าวหน้าหลักการประชาธิปไตยจากฐานราก จึงเป็นเรื่องการทำงานบนวิถีประชาธิปไตยที่มุ่งเสริมสร้างพลังรวมกัน โดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง อย่างมีธรรมาภิบาล มีสำนึกนึกรับผิดชอบและมีสำนึกถึงความเป็นพลเมือง การเปิดเผยและโปร่งใส มีวินัย ยึดมันในหลักนิติธรรม โดยประชาชนสามารถรับรู้หรือรู้สำนึกได้ว่า ตนเองมีคุณค่า มีสิทธิและเสรีภาพ รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนในฐานะพลเมือง ในการแสดงความคิดเห็นและสามารถร่วมผลักดัน ขับเคลื่อนแนวความคิดเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ร่วมกัน นอกจากนี้ สังคมยังต้องประกอบด้วยการมีภูมิคุ้มกันและการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีร่วมกันเพื่อความยั่งยืน ความสุขสันติ และความเป็นธรรมในสังคม
 
ดังนั้น ประชาธิปไตยจะอยู่ได้จะต้องมีการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวหน้าไปประกอบด้วยประชาธิปไตยด้านบนที่มั่นคงและประชาธิปไตยด้านล่างที่เข้มแข็งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่จะเติบโตให้ร่มเงา สามารถผลิดอกออกผลให้แก่คนในสังคมได้ก็ย่อมต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนรวมเข้ากันอย่างเข้มแข็ง และเมื่อประชาธิปไตยจากฐานรากเกิดขึ้นอย่างมั่นคง ความรู้สึกถึงคุณค่าของพลเมืองที่จะสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน ก็จะเกิดมีขึ้นได้ด้วยพลังของพลเมืองเอง บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอเปิดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกล้า ครั้งที่ 26 เรื่อง "สร้างสะพานประชาธิปไตยจากฐานราก เพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย"และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากการประชุมทางวิชาการในครั้งนี้ตามวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการจัดงานกำหนดไว้ทุกประการ
 
สำหรับการประชุมทางวิชาการ จัดโดย สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 -2 พฤศจิกายน 2567 ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสาธารณะในการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการประสบการณ์เกี่ยวกับประชาธิปไตยจากฐานราก นำเสนอแนวทางในการพัฒนาองค์ความรู้ในการนำประชาธิปไตยจากฐานรากมาใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมร่วมของประชาชน เพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ตั้งมั่นและยั่งยืนต่อไป
 


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia