ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร รับยื่นร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ร่างพ.ร.บ. อาหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ....

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร มอบหมายให้ นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนรับยื่น ร่างพ.ร.บ. จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... 2. ร่าง พ.ร.บ. ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... และ 3. ร่าง พ.ร.บ.อาหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... จาก น.ส.บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค พร้อมด้วย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค และคณะผู้เชิญชวนเสนอกฎหมาย พร้อมแนบรายชื่อผู้สนับสนุน จำนวน 71,454 รายชื่อ โดยร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ร่าง มีสาระสำคัญ คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ.อาหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ทั้ง 2 ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นร่าง พ.ร.บ. ที่แก้ไขกฎหมายเดิมให้ทันสมัย และเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ซึ่งร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... จะเพิ่มนิยามของคำว่า “ผู้บริโภค” ให้ครอบคลุมถึงผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายต่อ และผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจด้วย ส่วนคำว่า “ผู้ประกอบธุรกิจ” นั้น ให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล สำหรับร่าง พ.ร.บ.อาหาร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น เพราะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคอย่างแท้จริงและทำให้เจ้าหน้าที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ส่วนร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... เป็นกฎหมายที่ยังไม่มีการบังคับใช้ มีรัฐบาลหลายสมัยให้ความสนใจซึ่งจะช่วยตรวจสอบและยกระดับมาตรฐานสินค้า ลดการฟ้องร้อง และเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังทำให้สินค้าของไทยสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ เพราะสินค้าที่ส่งออกไปขายในต่างประเทศจะถูกควบคุมด้วยกฎหมายฉบับนี้ด้วย ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีไปแล้ว และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมให้ทันในสมัยการประชุมหน้าที่จะเปิดในเดือน ธ.ค. นี้  เพื่อให้มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคบังคับใช้ได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ด้านโฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ขอรับร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ร่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน นำไปดำเนินการตามกระบวนการนิติบัญญัติ  แล้วจะแจ้งให้ทางผู้ริเริ่มทราบ พร้อมนำกราบเรียนประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบีบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia