หมวด/ตัวชี้วัด |
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิงการตรวจประเมิน |
1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
|
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน
|
1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการ สิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักกรรมาธิการ ๑ ทั้งหมด ๑,๓๓๒.๕๐ ตารางเมตร
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
(1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
(2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย
(3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง
|
1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว
นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักกรรมาธิการ ๑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินสำนักสีเขียว ปี ๒๕๖๔
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
(1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
|
1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหาร ระดับสูง
ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมของผู้บริหารระดับสูง จำนวน ๒ ฉบับ
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงาน สีเขียวประจำปี
(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลาย- ลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร
|
1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงาน สีเขียวประจำปี
แผนการดำเนินการขับเคลื่อน สำนักกรรมาธิการ ๑ เป็นสำนักสีเขียว(Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และมีการทบทวนแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนสำนักกรรมาธิการ ๑ เป็นสำนักสีเขียว (Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
(1) การใช้ไฟฟ้า
(2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
(3) การใช้น้ำ
(4) การใช้กระดาษ
(5) ปริมาณของเสีย
(6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก |
1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และ ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ประกาศสำนักกรรมาธิการ ๑ เรื่อง การกำหนดเป้าหมายด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ประจำปี ๒๕๖๗ พร้อมทั้งเหตุผลการกำหนดค่าเป้าหมายการจัดการพลังงานและของเสียของสำนักกรรมาธิการ
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ |
1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
|
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจาก ทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
|
1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน
ผู้บริหารได้แต่งตั้งคณะทำงาน ในคำสั่งสำนักกรรมาธิการ ๑ ที่ ๒๘/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนสำนักกรรมาธิการ ๑ เป็นสำนักสีเขียว (Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม ดังนี้
(1) ประธาน/หัวหน้า
(2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้) |
1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม
- การสุ่มสัมภาษณ์ |
1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
|
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับ การระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
(1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
(2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและ มีความเข้าใจ
(3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้อง ครบถ้วน
(4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
(5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
(6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อย่างครบถ้วน และถูกต้อง
(7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญ ของปัญหาสิ่งแวดล้อม
(8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการ ทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมี กิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้าง อาคารหรือเพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงาน ในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)
|
1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
- รวบรวบกิจกรรมทั้งหมดของสำนักกรรมาธิการ ๑ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบ ภายใต้ขอบเขตการขอรับการรับรองสำนักสีเขียวโดยได้ระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
(4) กำหนดมาตรการ คู่มือหรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
(5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน |
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(1) ทะเบียนจัดลำดับปัญหาด้านทรัพยากร
ที่มีนัยสำคัญ (Input) และทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ (Output)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
(2) – (3) การขับเคลื่อนโครงการสร้างความตระหนักรู้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันผ่านแอปพลิเคชัน Net Zero Man
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
(4) – (5) แผนฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้และแผนผังอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย/เส้นทางหนีไฟภายในสำนักกรรมาธิการ 1
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ |
1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการ ดำเนินงาน ดังนี้
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
(3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและ ข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
(4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมาย กับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
(5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
(6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ : สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม
|
1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการ ดำเนินงาน
- ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายท้องถิ่น จำนวน ๖ ด้าน (เดือนมกราคม ๒๕๖๗)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
- มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม (เดือนมิถุนายน ๒๕๖๗)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับ การดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมิน ความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
(3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
(4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมิน ความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้
|
1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับ การดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการ
- ประเมินทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายท้องถิ่น (เดือนกรกฎาคม 2657)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
- ภาพประชาสัมพันธ์
|
1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
|
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรม ในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
(1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
(2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสาหรับการ เดินทาง
(3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
(4) ปริมาณการใช้กระดาษ
(5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)
|
1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรม ในสำนักงาน
- ข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรม ในสำนักกรรมาธิการ ๑ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2567
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
- รายละเอียดแหล่งที่มาของการตั้งค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ประจำปี พ.ศ. 2567
|
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมาย
(2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมาย
(3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
|
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
- ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปรียบเทียบค่าเป้าหมายตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ๒๕๖๗ กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถาม ดังนี้
(1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับ การทำสำนักงานสีเขียว
(2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
หมายเหตุ :
1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ ทั้ง 3 ข้อ
2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป |
1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน
- ใช้วิธีการสุ่มสัมภาษณ์ |
1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
|
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ โครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการ ดังนี้
(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้อง สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือ กฎหมายสิ่งแวดล้อม
(2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
(3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการ สิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
(4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความ เหมาะสม
(5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ
|
1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ โครงการสิ่งแวดล้อม
- แผนงานโครงการวัตถุประสงค์ที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (โครงการการสร้างความตระหนักรู้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันผ่านแอปพลิเคชัน Net Zero Man)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
(1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรม ที่ชัดเจน
(2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่าง ต่อเนื่อง
(3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผล และปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
(4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
(5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตาม เป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุ เป้าหมายมีการทบทวน เพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
(6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความ ต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
|
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- แผนการดำเนินโครงการและได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรสำนักกรรมาธิการ ๑ เริ่มเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๗
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
|
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วยหัวหน้าผู้ตรวจประเมิน และผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(3) มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
(4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน
(5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงาน สีเขียวภายในสำนักงานครบถ้วนทุกหมวด
|
1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
หมายเหตุ : สำนักกรรมาธิการ ๑ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ดำเนินการขอตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวเป็นปีแรก จึงยังไม่ต้องดำเนินการในส่วนนี้
|
1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร
|
1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงาน ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวด เข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุม ให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ
|
1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
- มีการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนสำนักกรรมาธิการ ๑ เป็นสำนักสีเขียว (Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพื่อทบทวนการดำเนินการของฝ่ายบริหาร
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
- วิธีการรายงานผลการประชุมให้ผู้ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้รับทราบผลการประชุม
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการ ประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุงระบบฯ ที่ผ่านมา
(3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงาน ด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็น ด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผล กระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม
และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่าย บริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง
|
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการ ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
- มีการจัดประชุมและกำหนดวาระการประชุมเพื่อให้ฝ่ายบริหารได้ทบทวน รวมถึงการจัดทำบันทึกการประชุมแต่ละครั้ง
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
- รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนสำนักกรรมาธิการ ๑ เป็นสำนักสีเขียว (Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ รอบ ๑๐ เดือน (วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ – วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗)
- หลักฐาน/เอกสารประกอบ
|