“การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติ รวมทั้งตระหนักรู้ถึงการเป็นข้าราชการที่ดี” ของสำนักการประชุม


กิจกรรม เรื่อง การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติ รวมทั้งตระหนักรู้ถึงการเป็นข้าราชการที่ดี โดย นายดนุพล แก้วสีหมอก กับคณะ ในวันศุกร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๖
           ในการทำกิจกรรมร่วมกันของข้าราชการสำนักการประชุม เกี่ยวกับ “การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติ รวมทั้งตระหนักรู้ถึงการเป็นข้าราชการที่ดี” ซึ่งในการทำกิจกรรมได้มีการเรียนรู้ในเรื่อง การสร้างแรงบันดาลใจ ทัศนคติร่วมกันในการปฏิบัติงาน การสร้าง Mindset รวมทั้งการสร้างความสามัคคีในการทำงานร่วมกันและเรียนรู้ถึงหลักการเป็นข้าราชการที่ดี ผ่านการเล่นกิจกรรมต่าง ๆ โดยสรุปเนื้อหาที่สำคัญพร้อมกับรูปภาพประกอบกิจกรรม ดังนี้
          ๑. การสร้างแรงบันดาลใจในการปฏิบัติงาน
การสร้างแรงบันดาลใจ (inspiration) ถือได้ว่าเป็นพลังในการที่จะช่วยในการขับเคลื่อนชีวิตให้ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ที่แต่ละคนได้คาดหวังไว้ และคำว่าแรงบันดาลใจนั้นเป็นคำที่มีความหมายเชิงนามธรรมคล้าย ๆ กับหลายคำ เช่น แรงจูงใจ พลังใจ กำลังใจ พลังจิต พลังสุขภาพจิต เป็นต้น แต่คำว่า “แรงบันดาลใจ”หมายถึงพลังทางความคิด พลังทางอารมณ์และความรู้สึกของบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพลังในการกระทำใด ๆ เพื่อขับเคลื่อนชีวิตและการทำงานให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่แต่ละคนตั้งความหวังไว้
ดังนั้นวิธีการสร้างแรงบันดาลใจในชีวิตและการทำงานนั้น ย่อมหมายความว่า ต้องมีวิธีคิด วิธีรู้สึกและวิธีการที่มีความเป็นภววิสัย (objective ) สูง หมายความว่าบุคคลใด ๆ ที่คิดเช่นนั้น รู้สึกเช่นนั้นและลงมือทำเช่นนั้น ก็จะเกิดแรงบันดาลใจและได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการสร้างแรงบันดาลใจหลายประการดังต่อไปนี้
๑. การทำงานที่ตนเองรักและชื่นชอบ การเลือกทำงานที่ตนเองรักและชื่นชอบนั้นเป็นหัวใจสำคัญพื้นฐานที่จะทำให้คนเรามีความชื่นชมยินดีในงานที่ทำ เพราะเห็นคุณค่าในงานซึ่งจะช่วยให้คนเราอยู่ในอาชีพนั้น ๆ ได้ด้วยความสบายใจ แม้ว่าพบปัญหาใด ๆ ในงานบ้างก็จะไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ให้มัวหมอง เพราะความชื่นชอบในงานจะช่วยให้มีพลังใจและมองก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ได้
๒. การมีความรักและเห็นคุณค่าในงานที่ทำ การสร้างความรู้สึกให้รักและชื่นชอบในงานที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปทำงานในอาชีพใด ๆ โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบลักษณะงานดังกล่าว แต่เมื่อทำไปแล้วจนเป็นอาชีพเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงอาชีพได้ ดังนั้น ถ้าเลือกทำสิ่งใดแล้วต้องมองหาคุณค่าและความหมายที่ดีงามในงานนั้น ๆ ให้ได้ แล้วจิตใจเราจะเป็นสุขด้วยการเห็นคุณค่าในงานที่เราทำ
 
๓. การใส่ใจในผลลัพธ์จากการทำงาน หมายถึงผลตอบแทนที่จะได้รับจากการทำงาน เช่น รายได้ สวัสดิการเพื่อการดำรงชีพ เพราะการได้รับการตอบสนองขั้นพื้นฐานเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตนั้นเป็นปัจจัยสำคัญขั้นพื้นฐานของชีวิตมนุษย์ทุก ๆ คน หากใส่ใจในผลลัพธ์ที่จะได้รับอย่างชัดเจนแล้วจะช่วยจูงใจและบันดาลใจให้ทุ่มเทในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
๔. การภาคภูมิใจในผลลัพธ์ (outcome) ของงาน การเกิดความรู้สึกที่ดีมีคุณค่าและเห็นความหมายที่ดีงามในผลลัพธ์ของงานที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นหรือสิ่งอื่นให้มีชีวิตที่ดีขึ้นและพัฒนาได้ดีขึ้น จะช่วยสร้างแรงจูงใจและเกิดแรงบันดาลใจขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการเห็นคุณค่าของผลลัพธ์ของงานที่ตนเองทำ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด ๆ ก็ตามล้วนมีคุณค่าที่ควรภาคภูมิใจทั้งสิ้น
๕. การตั้งเป้าหมายในการทำงาน การทำงานหรือทำสิ่งใด ๆ ก็ตามหากบุคคลได้ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจนว่าจะทำสิ่งนั้น ๆ เพื่อใคร ก็จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ลงมือทำงานหรือทำในสิ่งต่าง ๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้เป็นอย่างดีและจะประสบความสำเร็จในที่สุด
๖. การเปิดโอกาสให้ตนเองเรียนรู้และดูงานอย่างกว้างขวาง การเปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้และออกไปศึกษาดูงานในแวดวงวิชาการและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างความคิดและความรู้สึกมีพลังจนเกิดแรงบันดาลใจอยากทำสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในงานของตนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเรียนรู้ดูงานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดจากงานวิจัยและความคิดสร้างสรรค์จากคนอื่นและองค์กรอื่นจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจแก่เราให้อยากพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
๗. การลงมือทำในสิ่งที่สัมพันธ์กับเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ การลงมือทำในเรื่องใด ๆ ที่สัมพันธ์กับเป้าหมายและผลลัพธ์ที่วางไว้ให้สม่ำเสมอ และมีความใส่ใจในงานที่ทำจะช่วยส่งผลให้ผลงานออกมาดีขึ้นเรื่อย ๆ และเกิดความรู้สึกภูมิใจในผลงานที่สำเร็จเป็นระยะ ๆ จนส่งผลให้ถึงผลลัพธ์หรือประสบความสำเร็จในสิ่งที่วางแผนไว้
๒. การสร้าง Mindset ในองค์กร
การสร้าง Mindset ในองค์กรจะเป็นการสร้างทักษะใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้เสมอ ภายใต้ความพยายามของคน ๆ นั้น ผสมผสานกับประสบการณ์ที่สั่งสมมา อีกทั้งยังต้องเป็นคนที่กล้าเผชิญกับความล้มเหลว หากล้มแล้วก็พร้อมที่นำความพ่ายแพ้มาเป็นบทเรียนให้ตัวเองในการลุกขึ้น เพื่อที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านี้อีกครั้งเพราะการมองเห็นถึงความผิดพลาดหรือความล้มเหลวนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นสิ่งสำคัญที่มีประโยชน์แก่ทั้งตัวพนักงานเอง รวมไปถึงองค์กรนั้นด้วย เพราะถ้ามีบุคคลในองค์กรเหล่านั้นทุกคนมีกรอบความคิดแบบนี้ ก็จะช่วยให้ทีมสามารถวิเคราะห์ถึงปัญหาต่าง ๆ ได้แบบตรงเป้าหมาย แถมยังเป็นการช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีภายในให้ทำงานกันอย่างเป็นทีมเวิร์ค ไม่เกิดการโยนกันไปมา หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นและสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ในงานของคนอื่นได้ดีหรือมีการช่วยเหลืองานของคนอื่น ดังนั้นการปลูกฝังความคิดเหล่านี้ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงานด้วยกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อทั้งผู้บังคับบัญชา พนักงานและตัวองค์กรเอง
 
ข้อคิดที่ได้จากการสร้าง Mindset ต่อการปฏิบัติงานในองค์กร
๑. เกิดการเรียนรู้เมื่อมีข้อผิดพลาด
๒. พร้อมเปิดช่องว่างเพื่อการพัฒนาอยู่เสมอ
๓. กล้าเผชิญปัญหาที่เกิดขึ้น
๔. มีความคิดสร้างสรรค์และกล้าออกนอกกรอบ
๕. รู้สึกอยากใฝ่หาความรู้และต้องการพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น
๖. กล้าที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ
๗. พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง
๘. มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กร
๙. มีความส่งเสริมในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
 
 



“การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติ รวมทั้งตระหนักรู้ถึงการเป็นข้าราชการที่ดี” ของสำนักการประชุม

  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  
  



รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ หน้าที่และอำนาจรัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ หน้าที่และอำนาจสภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
■ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ
○ ข้อปรึกษาหารือของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ หน้าที่และอำนาจ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงระดับกรม■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia