พลเรือเอก สุรศักดิ์ ศรีอรุณ
ประธานกรรมการ
นางสาวสุภาสินี ขมะสุนทร
กรรมการ
ร้อยตำรวจเอกหญิง วิรัญญา ประสพสุข
กรรมการ
นายสาธิต ประเสริฐศักดิ์
กรรมการ
นางนพเก้า สุขะนันท์
กรรมการ
นายอุสาห์ ชูสินธ์
กรรมการ
นายสัณห์ชัย สิทธุวงษ์
กรรมการ
นางสาวสิตาวีร์ ธีรวิรุฬห์
กรรมการ
นายต้นพงศ์ ตั้งเติมทอง
กรรมการ
นายอภิวัฒน์ สุดสาว
กรรมการ
นายเศรษฐพงษ์ ศรีเลิศ
ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม
อำนาจหน้าที่
คณะกรรมการจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภามีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ สอดส่อง ดูแล และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) วางระเบียบเพื่อกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การใช้บังคับประมวลจริยธรรม
(2) ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับนโยบาย แผนปฏิบัติการส่งเสริมจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
(3) เผยแพร่และปลูกฝังจริยธรรมให้เป็นที่รับทราบอย่างกว้างขวางทั้งในหมู่ข้าราชการรัฐสภาสามัญและประชาชน
(4) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรม การนำพฤติกรรมทางจริยธรรมของหัวหน้า ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ผู้บังคับบัญชา และข้าราชการรัฐสภาสามัญ ไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
(5) ส่งเสริมและยกย่องส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ผู้บังคับบัญชา และข้าราชการรัฐสภาสามัญ ที่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างจริงจัง
(6) สอดส่อง ดูแลให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีข้อร้องเรียนว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีการกล่าวหาโดยตรงต่อคณะกรรมการจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือคณะกรรมการจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา มีข้อสงสัยเอง หรือได้รับเรื่องจากหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี ให้ดำเนินการตรวจสอบการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมดังกล่าว แล้วเสนอให้หัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี พิจารณา
(7) ติดตาม ประเมินผลการขับเคลื่อนงานด้านจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
(8) คุ้มครองและประกันความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมของกลุ่มงานส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
(9) คุ้มครองข้าราชการรัฐสภาสามัญซึ่งปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมนี้อย่างตรงไปตรงมา มิให้ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจโดยไม่เป็นธรรมต่อข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้น
(10) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ในส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เมื่อได้วินิจฉัยแล้วให้ส่งคำวินิจฉัยให้ ก.ร. ภายในสามสิบวัน ถ้า ก.ร. มิได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ ก.ร. รับเรื่อง ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา เป็นที่สุด
(11) ส่งเรื่องให้ ก.ร. พิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องสำคัญและยังไม่มี คำวินิจฉัยของ ก.ร. หรือคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
(12) ประมวลการตีความและวินิจฉัยปัญหา อันเกิดจากการใช้บังคับประมวลจริยธรรมนี้ทุกปีและเผยแพร่ให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญทราบ เพื่อยึดถือและเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
(13) เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลจริยธรรมนี้ หรือการอื่นที่เห็นสมควรต่อ ก.ร.
(14) ดำเนินการอื่นตามประมวลจริยธรรมนี้ หรือตามที่ ก.ร. มอบหมายให้คณะกรรมการจริยธรรมของส่วนราชการสังกัดรัฐสภาวางกรอบแนวทางการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(15) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อ ก.ร. เพื่อทราบ