ขอเชิญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
 

วันที่ตั้งกระทู้ :  07 ธันวาคม 2564 15:52:14
ตั้งโดย :   Superadmin

 แสดงความเห็น

ความเห็น ผู้แสดงความเห็น
รร.ไม่เข้มแข็ง​ ถ้าขาดพี่เลี้ยงจาก สพท.

วันที่ตอบ: 27 สิงหาคม 2565 09:06:06
วาสนา​ ตาล​ทอง​ แจ้งลบ
ร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติ ปี..พ.ศ..... มาตรา 41 ควรเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ได้รับของบุคบากรทางการศึกษาอื่นตำแห่ง ผอ.เขต รอง ผอ.เขต ศึกษานิเทศน์ ให่ได้รับสิทธิเทียบเท่า ผอ.รร. รอง ผอ.รร.และครู เพราะตำแหน่งดังกล่าวมาจาก ผอ.รร. รอง ผอ.รร. ครูู ทั้งสิ้น นั่นคือ เกิด สิทธิประโยชน์อยู่แล้ว..
วันที่ตอบ: 27 สิงหาคม 2565 07:50:47
นายเปรม ปรีดิ์ธอนันต์ แจ้งลบ
1. การจัดการศึกษาจะต้องสอดคล้องกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยยึดโยงกับอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ดังนั้น จึงควรวางแนวทางปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้เท่าทันเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งในระดับโลก ประเทศไทย ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยให้ความสำคัญกับรายวิชาศาสตร์พระราชา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศีลธรรม หน้าที่พลเมือง และประเด็นสังคมต่างๆ พร้อมทั้งการเสริมสร้างทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ ยึดมั่นกฎหมายและกติกาของสังคม ยอมรับความแตกตามและหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิดเห็นทางการเมือง  
2. ในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน นอกจากกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์แล้วควรส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนและนำไปสู่การมีรายได้ระหว่างเรียน เช่น โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน หรือการพัฒนาหลักสูตรทวิศึกษา (การศึกษาขั้นพื้นฐาน+อาชีวศึกษา) 
3. การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องมุ่งเน้นการ "คืนครูให้นักเรียน" โดยเปลี่ยนจากการทำงานบนกระดาษมาเป็นระบบดิจิทัล และต้นสังกัดต้องสรุปข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์แล้วกลับไปให้โรงเรียนและคุณครูเห็นผลลัพธ์เพื่อพัฒนาต่อยอด หากข้อมูลไหนที่คุณครูได้รับมอบหมายให้เก็บแต่หมดความจำเป็นต้องใช้ให้ตัดออก รวมถึงนำระบบการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรครูร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ระบบการประเมินผลงานตามสมรรถนะ เพื่อลดภาระงาน
4. ควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Digital Classroom โดยต่อยอดแพลตฟอร์ม "eDLTV" ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ "ติวฟรี.com" ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสร้างโอการเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึงและสามารถเรียนได้ทุกที่ตลอด 24 ชั่วโมง
5. เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามหมวดที่ 6 ส่วนที่ 4 ของ พรบ. นี้ กระทรวงศึกษาธิการควรพัฒนาบทบาทของศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ให้เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
6. ควรส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มที่มีความต้องการพิเศษ เช่น คนพิการและผู้ที่มีความสามารถพิเศษ

วันที่ตอบ: 24 มิถุนายน 2565 13:28:44
นายกิตติธัช ถาวรนันท์ แจ้งลบ
1.ในการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษายกระดับคุณภาพการศึกษา 
ขอเสนอ
1. เด็กที่มีโรงเรียนในชนบทควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีประจำหมู่บ้านอยู่แล้ว ควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพที่เท่ากันกับ โรงเรียนในเมือง โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเอกชน ฯลฯ คือยกเลิกการคิดที่จะยุบ โรงเรียน ควบรวม เปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ควรจะเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอทุกๆโรงเรียน ดูอัตรากำลังครูอย่าไปดูที่จำนวนนักเรียน โรงเรียนนั้นไม่ควรถูกยุบหรือควบรวมใดๆ มีแต่จะต้องทุมงบประมาณให้พัฒนาโรงเรียนนั้นๆให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แม้นักเรียนคนหนึ่งพวกเขาก็จำเป็นที่ได้รับการพัฒนา
พวกเขาควรได้สิทธิ์นั้นๆ เพราะการพัฒนาคนหนึ่งคนให้มีคุณภาพเขาคือกำลังหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศชาติ ดีกว่าเขาถูกขับออกจากระบบแล้วไปสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติภายหลัง
2.เปลืองงบประมาณแผ่นดิน การลงทุนกับการศึกษาไม่มีคำว่าขาดทุน ควรส่งเสริมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ อย่าขาดตอน ให้มีความต่อเนื่อง ติดตามผล ตามสภาพจริง และควรรับข้อมูลที่เป็นจริง
3.เรื่องการประเมินวิทยฐานะของครูนั้นเมื่อถึงเวลากำหนดปีการทำงาน ควรให้เขาได้เลื่อนวิทยฐานะนั้นๆ งดการเตรียมเอกสารต่างๆ
เพราะงานครูมันเยอะอยู่แล้ว ทั้งสอนทั้งงานพิเศษ แถมในช่วงโควิตครูเขาไม่ได้สบาย 
4.งบที่เปลืองจริงๆคืองบที่เกณท์คนไปเป็นคนเลี้ยงไก่ ซักเสื้อ ตัดหญ้าในบ้านพัก ควรยกเลิกสิ่งเหล่านี้ให้ลดลง แล้วเปลี่ยนสถานที่พวกเขาไปอยู่ชายแดน เรื่องภายในประเทศปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชน และเอางบจากสิ่งเหล่านี้มาสนับสนุนการศึกษา
5.ถ้าพวกคุณอยากได้สภาพจริงของชีวิตครู ให้พวกคุณมาแยี่ยมผม พวกคุณก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงประมาณหนึ่ง
6.เรื่องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ คุณภาพไม่อาจกำหนดได้ด้วยตัวเลข คะแนนสอบ หรือหรือรายงานต่าง ๆ ที่โรงเรียนแทบทุกโรงเรียนได้รับคำสั่งให้ทำ คุณภาพในสายตาของครูและนักเรียนที่ต้องการเห็นคือ ให้ครูได้มีเวลาอยู่กับนักเรียนจริง ๆ ได้จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ มีเวลาวางแผน จัดทำสื่อ  นักเรียนได้รับโอกาส เข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมจริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่าจะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อต้นสังกัด กระทรวง เขตพื้นที่ ตลอดจนผู้บริหาร ตระหนักและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม หากมีเพียงครูที่ทั้งทำหน้าที่สอนและต้องรับภาระการจัดทำเอกสารต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เวลาที่ควรจะเป็นของผู้เรียนถูกลดทอนไป ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างเต็มที่ ผลก็จะเป็นดังในปัจจุบัน.. ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีชั่วโมงในการเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ ผลที่เกิดกับผู้เรียนนั้นกลับสวนทางกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการพิจารณาและแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ตรงจุด 

7. เรื่องการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของระบบการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย นิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า หากจะปฏิบัติให้ได้จริง ควรมีการเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ทั้งผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ชุมชน ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จริง โดยที่ไม่มีใครต้องกังวลว่าหากมีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลต่าง ๆ จะส่งผลต่อการทำงาน ระบบที่ดีควรวิจารณ์ในหลักเหตุผลได้ ระบบการศึกษาจะดีได้ ส่วนหนึ่งก็คือโครงสร้างภายในดี ไม่ผุกร่อน ยกตัวอย่างเช่น การให้บุคคลากรทางการศึกษา สายการสอน ปฏิบัติหน้าที่การเงิน หรือพัสดุ ความจริงแล้วควรมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะปฏิบัติหน้าที่นี้โดยตรง เพราะเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณแผ่นดินในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนนั้น ๆ และยังเกิดความถูกต้องคุ้มค่าคุณกด้วย 

8. การลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษา ในประเด็นนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาไทยเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำอย่างไรให้ทุกโรงเรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงทั้งงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น รร.ขนาดใฟญ่ มีนักเรียนมาก งบประมาณรายหัวมาก สามารถพัฒนาอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ สื่อ เพื่อจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับกันโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนน้อยก็ได้รับงบประมาณน้อย และมีแต่จะน้อยลงตามอัตราการเกิดของประชากรของประเทศ ซึ่งไม่สามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ขาดแคน รร.ประกาศรับสมัครครูในเงินเดือนที่รร.หาเอง ซึ่งอยู่ในอัตราไม่กี่พันบาทดังเห็นในข่าว รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการอุดรอยรั่วทางการศึกษา ไม่ใช่มีคำสั่งให้งดการประกาศรับสมัครนั้น แล้วปัญหาที่เกิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข วงล้อของความเหลื่อมล้ำเหล่านั้นก็จะหมุนวนไปไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นใน 6 ประเด็นที่ผมได้กล่าวมา ทั้งคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมธรรมาภิบาลในระบบการศึกษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผมในฐานะนักเรียนเเละเคยเป็นประธานนักเรียนมาก่อน ผู้เห็นปัญหาจึงสะท้อนและแสดงความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาไทยจะได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผู้เรียนได้รับประโยชน์ เป็นคนที่ ดี เก่ง และมีความสุข และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อประเทศต่อไปครับ 

วันที่ตอบ: 23 กุมภาพันธ์ 2565 21:44:59
ธีรเมธ สุทธจิตตะ แจ้งลบ
ควรเพิ่มการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยให้เพิ่มคำว่า คณาจารย์ อธิการบดี เข้าไปในร่างพระราชบัญญัตินี้ด้วย
วันที่ตอบ: 22 กุมภาพันธ์ 2565 13:26:55
สิทธินนท์ เนตร์นรินทร์ แจ้งลบ
1. มาตรา 8 ไม่ควรมีการจำกัดรูปแบบการศึกษามากเกินไป เนื่องจากความรู้ไร้พรมแดน และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
2. การจัดทำหลักสูตร ควรให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรด้วย เนื่องจากผู้เรียนมีส่วนสำคัญในระบบการศึกษา
3. ให้สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษา เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากในขณะนี้มีกระทรวงที่มีหน้าที่จัดการศึกษา 2 กระทรวง คือ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา ฯ การให้หน่วยงานนี้ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี จะเป็นการช่วยให้เกิดการบูรณาการการจัดการศึกษาระหว่าง 2 กระทรวง และกระทรวงอื่นที่จะจัดการศึกษา โดยไม่ใช่ภารกิจหลักของกระทรวงนั้น

วันที่ตอบ: 21 กุมภาพันธ์ 2565 11:23:46
สิทธินนท์ เนตร์นรินทร์ แจ้งลบ
ควรมีการเพิ่มเงินเดือนครูให้เป็นวิชาชีพเฉพาะ แต่ต้องมีการปรับการรับสมัครตำแหน่งให้ยากขึ้น เหมาะกับสาขาที่ต้องสอน เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีวะ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ครูอนุบาล เป็นต้น เนื่องจากในตอนเริ่มทำงานมีความอยากเป็นครู แต่ด้วยเงินเดือนครูน้อยมากๆ จนคิดว่าไม่สามารถครองชีพได้ และปัจจุบันต้องยอมรับว่าคนเก่งๆกลายเป็นหมอ วิศวกร หรือสายงานอื่นที่เงินเดือนเยอะกว่ามาก เหลือคนที่เป็นครูแค่คนระดับการเรียนปานกลางหรือค่อนข้างไปทางน้อย ต้องยอมรับความจริงข้อนี้ก่อน แล้วจูงใจให้คนมาสนใจสมัครครู จากการมีอาชีพติวเตอร์ด้วย พบว่า บางครั้งครูสอนและเฉลยวิธีที่ผิดๆแก่นักเรียน เห็นแล้วจึงรู้สึกสะท้อนใจมาก กับเห็นเนื้อหาหลักสูตรที่ยากเกินวัยเด็กมาก จึงควรปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับวัยเด็ก และเห็นบางโรงเรียนสอนกันผิดๆแล้วบางวิชาใช้การจำ เช่น เด็ก ม.1-2 เรียนฟิสิกส์เรื่องแรงทั้งที่ยังไม่รู้จักนิยามคำว่าเวคเตอร์ และพวก sine cos tan แต่กลับต้องคำนวณหาพื้นลาดพื้นเคุณยง โดยการจำอย่างเดียวมันเลยทำให้เด็กเกลียดและกลัววิชาฟิสิกส์ไปเลย เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการบวกลบคูณหาร ที่สมัยก่อนเด็กที่อ่อนที่สุดในชั้นสามารถทำได้ แต่ด้วยการอธิบายที่ยากเกินไป เด็กทุกวันนี้คิดคำนวณไม่ได้ เป็นต้น
วันที่ตอบ: 09 กุมภาพันธ์ 2565 22:43:12
พฤกษา เสงี่ยม แจ้งลบ
ร่างกฎหมายการศึกษาควรกล่าวในรายละเคุณยดของสิ่งที่มีนิยามอยู่ชัดเจน การกล่าวถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมที่ซึ่งไม่มีนิยามที่แน่นอนนั้นเปิดช่องให้การดำเนินงานอาจถูกละเว้น หรือบกพร่อง หรือผิดทิศทาง
- ยกตัวอย่างเนื้อความที่มีความไม่ชัดเจน เช่น "มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ"
การใช้คำว่า"คนดี"คือการสื่อสารที่ละทิ้งความสนใจในเชิงรายละเคุณยดว่าเราต้องการการศึกษาที่สร้าง"คนดี"ในด้านใด เมื่อไม่มองให้ลึกแล้ว กระบวนการสร้างคนดีในด้านใดๆก็อาจไม่ได้มีอยู่ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ กล่าวคือไม่จำเป็นต้องเขียนคำว่า"คนดี"มาก็ได้หากกล่าวถึงโดยไม่เจาะจงในรายละเคุณยด
- ถัดไปขอยกตัวอย่างเนื้อความที่ผู้เขียนเห็นว่ามีความชัดเจน คือประโยคที่กล่าวว่า "เชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตน" ถือว่าคือประโยคที่แสดงสาระสำคัญได้กระชับและชัดเจนพอที่จะเป็นข้อกำหนดผูกพันธ์ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบสามารถปฏิบัติตามได้
- เรื่อง"ความเหลื่อมล้ำ"ที่กล่าวถึงในเนื้อความคือคุณกประเด็นสำคัญที่แก้ไขได้ในหลายมิติ ซึ่งดังที่ผมมุ่งเน้นเรื่องเนื้อความที่ชัดเจนในบทบัญญัติ สำหรับคำว่า"ความเหลื่อมล้ำ"สามารถเขียนเป็นบทบัญญัติในเชิงปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีมาตรฐาน, มีกองทุนสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนทั้งรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ เป็นต้น
- สุดท้ายขอกล่าวถึงคำว่า "จิตวิญญาณความเป็นครู" คำๆนี้จะไม่สร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆต่อคุณภาพครูหากไม่นิยามให้ชัดเจนดังที่ผู้เขียนได้กล่าวในความเห็นนี้มาตลอดถึงความกำกวมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานในขั้นต่อไป อยากให้เข้าใจว่าระบบการศึกษาทั้งระบบถ่ายทอดผลงานจากบนลงมาผ่านครูเป็นด่านสุดท้ายก่อนถึงเด็ก จึงควรตระหนักว่าตราบใดที่ครูยังต้องรับผิดชอบงานส่วนอื่นๆของระบบไปพร้อมๆกับงานด่านหน้าสุดก็คือการสอนหนังสือ ครูคุณภาพดีแค่ไหนก็ไม่อาจส่งต่อคุณภาพการสอนที่ดีที่สุดให้เด็กๆได้เต็มที่ การลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของครูด้วยการจัดสรรงบจ้างบุคลากรที่ตรงกับงานเพิ่มจึงเป็นคุณกสิ่งที่ควรระบุลงไปในกฎหมายฉบับนี้

วันที่ตอบ: 31 มกราคม 2565 14:08:56
นายณัฐพนธ์ วิวัฒน์รังสรรค์ แจ้งลบ
ในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะครูคนหนึ่ง ดิฉันอยากให้มีการลงรายละเคุณยดพิจารณาในประเด็น 3 ประเด็นดังนี้ 1. เรื่องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ คุณภาพไม่อาจกำหนดได้ด้วยตัวเลข คะแนนสอบ หรือหรือรายงานต่าง ๆ ที่โรงเรียนแทบทุกโรงเรียนได้รับคำสั่งให้ทำ คุณภาพในสายตาของครูและนักเรียนที่ต้องการเห็นคือ ให้ครูได้มีเวลาอยู่กับนักเรียนจริง ๆ ได้จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ มีเวลาวางแผน จัดทำสื่อ  นักเรียนได้รับโอกาส เข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมจริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่าจะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อต้นสังกัด กระทรวง เขตพื้นที่ ตลอดจนผู้บริหาร ตระหนักและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม หากมีเพียงครูที่ทั้งทำหน้าที่สอนและต้องรับภาระการจัดทำเอกสารต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เวลาที่ควรจะเป็นของผู้เรียนถูกลดทอนไป ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างเต็มที่ ผลก็จะเป็นดังในปัจจุบัน.. ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีชั่วโมงในการเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ ผลที่เกิดกับผู้เรียนนั้นกลับสวนทางกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการพิจารณาและแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ตรงจุด 

2. เรื่องการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของระบบการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย นิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า หากจะปฏิบัติให้ได้จริง ควรมีการเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ทั้งผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ชุมชน ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จริง โดยที่ไม่มีใครต้องกังวลว่าหากมีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลต่าง ๆ จะส่งผลต่อการทำงาน ระบบที่ดีควรวิจารณ์ในหลักเหตุผลได้ ระบบการศึกษาจะดีได้ ส่วนหนึ่งก็คือโครงสร้างภายในดี ไม่ผุกร่อน ยกตัวอย่างเช่น การให้บุคคลากรทางการศึกษา สายการสอน ปฏิบัติหน้าที่การเงิน หรือพัสดุ ความจริงแล้วควรมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะปฏิบัติหน้าที่นี้โดยตรง เพราะเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณแผ่นดินในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนนั้น ๆ และยังเกิดความถูกต้องคุ้มค่าคุณกด้วย 

3. การลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษา ในประเด็นนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาไทยเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำอย่างไรให้ทุกโรงเรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงทั้งงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น รร.ขนาดใฟญ่ มีนักเรียนมาก งบประมาณรายหัวมาก สามารถพัฒนาอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ สื่อ เพื่อจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับกันโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนน้อยก็ได้รับงบประมาณน้อย และมีแต่จะน้อยลงตามอัตราการเกิดของประชากรของประเทศ ซึ่งไม่สามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ขาดแคน รร.ประกาศรับสมัครครูในเงินเดือนที่รร.หาเอง ซึ่งอยู่ในอัตราไม่กี่พันบาทดังเห็นในข่าว รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการอุดรอยรั่วทางการศึกษา ไม่ใช่มีคำสั่งให้งดการประกาศรับสมัครนั้น แล้วปัญหาที่เกิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข วงล้อของความเหลื่อมล้ำเหล่านั้นก็จะหมุนวนไปไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นใน 3 ประเด็นที่ดิฉันได้กล่าวมา ทั้งคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมธรรมาภิบาลในระบบการศึกษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ดิฉันในฐานะบุคคลากรของรัฐ ผู้เห็นปัญหาจึงสะท้อนและแสดงความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาไทยจะได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผู้เรียนได้รับประโยชน์ เป็นคนที่ ดี เก่ง และมีความสุข และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อประเทศต่อไป 

วันที่ตอบ: 29 มกราคม 2565 22:13:58
นางสาวสุดารัตน์ ก้านจักร แจ้งลบ
ในอานาคตอันใกล้นี้หนูกำลังจะเข้าไปอยู่ในระบบในส่วนของการทำงาน ซึ่งกำลังจะเป็นครูและในตอนนี้ก็เป็นนักศึกษา ทำให้เห็นการทำงานทั้งสองด้าน มองว่าจะเป็นไปได้ไหมถ้าครูมีหน้าที่สอนอย่างเดียว แยกงานธุรการออก เพราะงานธุรการกระทบกับการสอนมาก ในบางครั้งครูไม่สอนนักเรียนเพื่อจะทำงานธุรการ ซึ่งดูจะขัดแย้งกับหน้าที่ ที่แท้จริงของครูไปสักสักหน่อยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ??????
วันที่ตอบ: 29 มกราคม 2565 14:55:17
นางสาววรรณพร มีแก้ว แจ้งลบ
ฝากพิจารณาให้นักศึกษาครูที่กำลังฝึกสอนมีเงินเดือนด้วยค่ะ ไม่ได้เรียนที่มหาลัยตอนฝึกสอนแต่ค่าเทอมจ่ายเต็ม และเรื่องเรียนต่อสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนครูมาแต่อยากเปลี่ยนมาเป็นครูก็มาต่อ ป.บัณฑิตในขณะที่คนที่เรียนสายครูมาก็ล้นตลาดอยู่แล้ว ควรที่จะมีป.บัณฑิตเฉพาะเอกที่ขาดแคลนเท่านั้น โปรดเห็นคุณค่าในวิชาชีพครูไม่ใช่จะเอาสายไหนก็ได้มาเป็นครู ไม่เช่นนั่นจะมีคณะครุศาตร์ศึกษาศาสตร์ไว้ทำไม
วันที่ตอบ: 28 มกราคม 2565 13:59:02
นางสาวจันทณีย์ สิทธิชาคำ แจ้งลบ
1.ในการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษายกระดับคุณภาพการศึกษา 
ขอเสนอ
1. เด็กที่มีโรงเรียนในชนบทควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีประจำหมู่บ้านอยู่แล้ว ควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพที่เท่ากันกับ โรงเรียนในเมือง โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเอกชน ฯลฯ คือยกเลิกการคิดที่จะยุบ โรงเรียน ควบรวม เปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ควรจะเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอทุกๆโรงเรียน ดูอัตรากำลังครูอย่าไปดูที่จำนวนนักเรียน โรงเรียนนั้นไม่ควรถูกยุบหรือควบรวมใดๆ มีแต่จะต้องทุมงบประมาณให้พัฒนาโรงเรียนนั้นๆให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แม้นักเรียนคนหนึ่งพวกเขาก็จำเป็นที่ได้รับการพัฒนา
พวกเขาควรได้สิทธิ์นั้นๆ เพราะการพัฒนาคนหนึ่งคนให้มีคุณภาพเขาคือกำลังหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศชาติ ดีกว่าเขาถูกขับออกจากระบบแล้วไปสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติภายหลัง
2.เปลืองงบประมาณแผ่นดิน การลงทุนกับการศึกษาไม่มีคำว่าขาดทุน ควรส่งเสริมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ อย่าขาดตอน ให้มีความต่อเนื่อง ติดตามผล ตามสภาพจริง และควรรับข้อมูลที่เป็นจริง
3.เรื่องการประเมินวิทยฐานะของครูนั้นเมื่อถึงเวลากำหนดปีการทำงาน ควรให้เขาได้เลื่อนวิทยฐานะนั้นๆ งดการเตรียมเอกสารต่างๆ
เพราะงานครูมันเยอะอยู่แล้ว ทั้งสอนทั้งงานพิเศษ แถมในช่วงโควิตครูเขาไม่ได้สบาย 
4.งบที่เปลืองจริงๆคืองบที่เกณท์คนไปเป็นคนเลี้ยงไก่ ซักเสื้อ ตัดหญ้าในบ้านพัก ควรยกเลิกสิ่งเหล่านี้ให้ลดลง แล้วเปลี่ยนสถานที่พวกเขาไปอยู่ชายแดน เรื่องภายในประเทศปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชน และเอางบจากสิ่งเหล่านี้มาสนับสนุนการศึกษา
5.ถ้าพวกคุณอยากได้สภาพจริงของชีวิตครู ให้พวกคุณมาแยี่ยมผม พวกคุณก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงประมาณหนึ่ง
6. ครู คศ.1 บายๆ
 


วันที่ตอบ: 28 มกราคม 2565 13:36:47
นายมงกุฎ วงศ์สาคร แจ้งลบ
ควรจะมีการเพิ่มบทบัญญัติที่ “ห้าม” การจำกัดสิทธิเสรีภาพด้านทรงผม อันเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ คุณกทั้งในด้านการแต่งกายควรจะมีการเปิดเสรีภาพมากกว่านี่ คุณกทั้งควรจะกำหนดให้ในการออกกฎโรงเรียน ควรจะให้นักเรียนลงประชามติเห็นชอบทุกกฎ
วันที่ตอบ: 13 มกราคม 2565 19:09:58
ปาณัสม์ สันติชัยรัตน์ แจ้งลบ
คิดเห็นด้วย พ.ร.บ เงินผดุงเกียรติ
วันที่ตอบ: 25 มกราคม 2566 06:57:14
พลทหารสมโภช ลิ้นดี อยู่ระหว่างรออนุมัติแสดง
แจ้งลบ
อยากให้รัฐบาลช่วยเรื่องเงินของทหารผ่านศึกทุกนายให้มากขึ้นกว่านี้ ผมเห็นด้วยกับนโยบายเงินผดุงกองเกียรติของทหารผ่านศึกทุกนาย ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือหน่อยคับ
วันที่ตอบ: 25 มกราคม 2566 05:59:27
นาย รัฐพงศ์ ออมสิน อยู่ระหว่างรออนุมัติแสดง
แจ้งลบ
1. การจัดโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการต้องเป็นระบบ Single command เพื่อความเป็นเอกภาพและการบูรณาการในการปฏิบัติงาน
2. ประเภทของข้าราชการที่ปฏิบัติงานในสำนักงานซึ่งมิใช่สถานศึกษา ควรเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังเช่นก่อนปี 2546 ข้าราชการครู/บุคลากรทางการศึกษา ให้มีเฉพาะในสถานศึกษาเท่านั้น และไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานทางการศึกษา

วันที่ตอบ: 16 ธันวาคม 2565 11:08:25
นายภาณุดนัย สิทธิศักดิ์ อยู่ระหว่างรออนุมัติแสดง
แจ้งลบ
- ภาษาที่ใช้ในพระราชบัญญัติไม่เหมาะสม หลายคำไม่ใช่คำที่ควรอยู่ในทำเนียบภาษากฎหมาย ภาษาส่วนใหญ่กำกวม ซ้ำซ้อน ฟุ่มเฟือย หรืออาจก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบ ตัวอย่างเช่นคำว่า นานาอารยประเทศ เป็นคำที่สื่อนัยว่ามีทั้งประเทศที่มีอารยะและประเทศที่ไม่มีอารยะ ซึ่งเป็นทัศนคติที่ไม่ควรอย่างยิ่ง หรือคำว่า ไม่เป็นปฏิปักษ์หรือขัดแย้งต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่ชัดเจนว่าหน้าที่นั้นคืออะไร เหตุใดจึงใช้คำว่าปวงชนชาวไทยแทนคำว่าประชาชน และคำว่าปฏิปักษ์กับขัดแย้งต่างกันอย่างไร ทางที่ดีควรเขียนให้ชัดเจนเข้าใจง่าย เช่น ไม่ขัดแย้งต่อหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นตัวอย่าง
- เนื้อหาในพระราชบัญญัติมีหลายส่วนที่ควรปรับปรุง เพราะอาจทำให้เกิดผลเสียหรือไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ใด ๆ เช่น การเลื่อนเงินเดือนตามผลการจัดการศึกษาอาจทำให้ครูปล่อยเกรดนักเรียน หรือการให้ครูมีสัมพันธ์กับชุมชน ประพฤติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รักเด็ก ฯลฯ อาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดผลได้และไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนักเรียนหรือเกี่ยวข้องน้อย กฎหมายควรเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดผลได้จริงและผลที่ได้นั้นควรผ่านการไตร่ตรองดูแล้วว่าน่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสีย ตัวอย่างสมมติเช่น ห้ามครูบังคับนักเรียนทำกิจกรรมทางการเมืองหรือศาสนา ห้ามครูเผยแพร่เรื่องส่วนตัวของนักเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ฯลฯ
- ขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า
1. ควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้จบวุฒิครู มีสิทธิ์ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสอบรับใบประกอบวิชาชีพครูต่อไป โดยเฉพาะสำหรับสอนนักเรียนชั้นมัธยม เพื่อให้นักเรียนมีโอกาสได้เรียนกับผู้ที่มีความรู้ในสาขาเฉพาะโดยตรง โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนต่าง ๆ ในกฎหมายลูกเพิ่มเติม เช่น ให้ผู้จบอักษรศาสตร์สอนวิชาภาษาได้ ให้ผู้จบวิทยาศาสตร์สอนวิทยาศาสตร์ได้ เป็นต้น
2. ควรกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสถานศึกษาหรือผู้จัดการศึกษาที่จะต้องจัดให้มีการออกใบรับรองวุฒิ ประกาศนียบัตร หรือหลักฐานอื่น ไม่ใช่ใช้คำว่า "อาจจัดให้มี" เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบอาจทำหรือไม่ทำก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเสียประโยชน์ในการศึกษาต่อหรือการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ควรกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจสอบใบรับรองเหล่านี้ด้วย
3. ควรมีการจัดสอบความรู้ของครูในระดับประเทศเป็นระยะตามรายวิชาที่รับผิดชอบ เพื่อให้มั่นใจว่าครูที่สอนนักเรียนยังมีความรู้ในวิชาที่สอนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และผลสอบครูที่ได้ควรนำมาเป็นข้อพิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งและการเลื่อนเงินเดือนด้วย
4. ควรมีข้อกำหนดที่ตัดหรือลดภาระงานที่ไม่ใช่งานสอน เช่น งานธุรการ งานอยู่เวรยามตอนกลางคืนกรณีของครูผู้ชายที่ทำงานในโรงเรียนที่มีการจ้างยาม เพื่อให้ครูได้มีเวลาพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้มากขึ้น
5. ควรกำหนดให้มีการเปิดเผยข้อสอบในกรณีการสอบระดับชาติโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อที่จะได้มีการท้วงติงตรวจสอบกรณีข้อสอบผิดหรือไม่ได้มาตรฐาน และเพื่อให้นักเรียนและครูได้มีโอกาสศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบอย่างเท่าเทียม

วันที่ตอบ: 17 พฤศจิกายน 2565 23:07:01
- อยู่ระหว่างรออนุมัติแสดง
แจ้งลบ


รัฐสภา● เกี่ยวกับรัฐสภา■ อำนาจหน้าที่รัฐสภา■ โครงสร้างรัฐสภา■ ประธานรัฐสภา■ รองประธานรัฐสภา■ ทำเนียบประธานรัฐสภา■ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.)● การประชุมร่วมกันของรัฐสภา■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา● คณะกรรมาธิการ■ คณะกรรมาธิการของรัฐสภา■ คณะกรรมาธิการร่วมกัน■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● เครือข่ายในวงงานรัฐสภา■ เครือข่ายรัฐสภาทั่วโลก■ เครือข่ายนิติบัญญัติ○ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
○ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
○ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
○ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
■ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ○ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
○ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
○ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
○ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
○ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
■ องค์กรอื่นๆ○ ศาลยุติธรรม
○ ศาลปกครอง
○ ศาลรัฐธรรมนูญ
○ สำนักงานอัยการสูงสุด
● บริการรัฐสภา
สภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสภาผู้แทนราษฎร■ อำนาจหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร■ โครงสร้างสภาผู้แทนราษฎร■ ประธาน/รองประธาน สภาผู้แทนราษฎร○ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบประธานสภาผู้แทนราษฎร
■ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร○ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
○ ทำเนียบผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
■ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
○ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (โมบาย แอพฯ)
● การประชุมสภาผู้แทนราษฎร■ ระเบียบวาระการประชุม○ ระเบียบวาระการประชุม
○ ระเบียบวาระการประชุม (Flip e-Book)
■ แบบการแจ้งความจำนงขอปรึกษาหารือฯ■ กระทู้ถาม○ ระเบียบวาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ ระบบตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา
○ แบบฟอร์มตั้งกระทู้ถาม
○ แบบฟอร์มถอนกระทู้ถาม
○ กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา
■ บันทึกการประชุม■ บันทึกการออกเสียงลงคะแนน■ รายงานการประชุม○ รายงานการประชุม
○ รายงานการประชุม (Flip e-Book)
■ สรุปผลงานการประชุม■ ข้อมูลการประชุมสภา (โมบายแอพฯ)○ ข้อมูลการประชุมสภา (iOS)
○ ข้อมูลการประชุมสภา (Android)
○ คู่มือการใช้งาน
■ ข้อมูลการประชุมในอดีต■ ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร● คณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ คณะกรรมาธิการสามัญ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาญัตติ■ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ■ คณะกรรมาธิการในอดีต (สภาผู้แทนฯ ชุดที่ 25)■ รายงานของคณะกรรมาธิการ● บริการสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร● เกี่ยวกับสำนักงานฯ■ ประวัติความเป็นมา■ โครงสร้างสำนักงานฯ■ อำนาจหน้าที่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์■ ผู้บริหารสำนักงานฯ■ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง■ ทำเนียบเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร■ แผนปฏิบัติราชการ● ประกาศ■ จัดซื้อจัดจ้าง ■ รับสมัครงาน■ เงินอุดหนุนการวิจัย● คุณธรรมความโปร่งใส■ แผนปฏิบัติราชการ■ แผนดำเนินงาน■ มาตรฐานการปฏิบัติงาน■ การให้บริการ■ แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี■ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล■ การส่งเสริมความโปร่งใสและการป้องกันการทุจริต● ศูนย์ข้อมูลข่าวสารราชการ● บริการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาบริการทั้งหมด ■ ข้อมูลการประชุมสภา■ ข้อมูลกฎหมาย■ ข้อมูลต่างๆ ของรัฐสภา■ แจ้งเรื่องร้องเรียน■ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก■ สำหรับบุคคลในวงงานรัฐสภา● Health_madia